Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74492
Title: | บทบาทและการดำเนินกลยุทธของสื่อมวลชนเพื่อการส่งเสริม "หมอลำ" |
Other Titles: | The roles and strategy of mass media for promoting Mawlum |
Authors: | ประยุทธ วรรณอุดม |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kanjana.Ka@Chula.ac.th |
Subjects: | หมอลำ สื่อมวลชนกับวัฒนธรรม Mass media and culture |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สื่อมวลชนในปัจจุบันนี้มีบทบาทในการเป็นผู้ผลิตและเป็นช่องทางในการเผยแพร่หมอลำอย่างมาก ทั้งนี้ในการผลิตและเผยแพร่หมอลำผ่านสื่อต่าง ๆ นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินบทบาทและเลือกใช้กลยุทธที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้การผลิตและการเผยแพร่เป็นไปโดยบรรลุประสิทธิผลมากที่สุด การวิจัยนี้ได้เลือกเอาสื่อมวลซนที่มีการเลือกใช้กลยุทธในการผลิตและการเผยแพร่หมอลำมา ๕ ประเภท คือ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อภาพยนตร์ ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละสื่อมีบทบาทในการเผยแพร่หมอลำที่ต่างกันออกไป ดังนั้นจึงมีการดำเนินกลยุทธในการส่งเสริมหมอลำที่ต่างกันออกไปด้วย สื่อที่มีบทบาทและมีการเลือกใช้กลยุทธในการผลิตที่เด่นชัดที่สุดคือ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ และสื่อที่มีบทบาทและมีการเลือกใช้กลยุทธในการเป็นช่องทางในการเผยแพร่คือ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อภาพยนตร์ แม้ว่าสื่อแต่ละประเภทจะมีการใช้กลยุทธเพื่อการส่งเสริมหมอลำอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสื่อที่ต่างกันออกไป แต่สื่อเหล่านี้ก็มีลักษณะวัฒนธรรมของสื่อ บางอย่างที่เป็นลักษณะร่วมกัน เช่น สื่อวิทยุและสื่อโทรทัศน์ ซึ่งมีเงื่อนไขในการกำหนดกลยุทธที่เหมือนกัน คือ เงื่อนไขที่เป็นวัฒนธรรมของสื่อที่ต้องควบคุมเรี่องเวลา และพื้นที่ที่มีอยุ่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ผลจากการวิจัยพบว่า สื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ นั้นมีเกณฑ์การเลือกประเภทหมอลำเพื่อการส่งเสริมที่มีลักษณะ ร่วมกันคือ จะเลือกหมอลำที่สามารถขายได้ เป็นที่ต้องการของตลาดและเข้ากับกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่มากที่สุด เช่น หมอลำประยุกต์ หมอลำลูกผสม ส่วนหมอลำประเภทดั้งเดิม เช่น หมอลำกลอน หมอลำพื้น จะไม่ได้รับการเลือกมาผลิตและเผยแพร่เท่าใดนัก หมอลำที่ได้รับการดัดเลือกมานั้น หากมีลักษณะบางอย่างที่ไม่เข้ากับวัฒนธรรมของสื่อมวลชน ก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งรูปแบบและเนื้อหาด้วย กล่าวโดยสรุปที่ว่า สื่อมวลชนปัจจุบันมีบทบาททั้งที่เป็นคุณและโทษ ต่อการส่งเสริมหมอลำ ในด้านที่เป็น คุณูปการคือการที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ให้หมอลำออกไปสู่ลังคมและการเป็นผู้ผลิตซ้ำทำให้หมอลำยังคงมีอยู่ ส่วนในด้านที่เป็นผลเสียคือ สื่อมวลชนมีส่วนทำให้หมอลำทุกวันนี้ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปอย่างมาก เพื่อให้สามารถเข้ากับวัฒนธรรมสื่อได้อย่างสนิท จนทำให้หมอลำบางประเภทต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบ และเนื้อหาการแสดงของตัวเองไปจนแทบจะหารากเหง้าเค้าเดิมของตัวเองไม่ได้ |
Other Abstract: | Mass media nowadays have rohes in being producer of Mawlum and in being channel for promoting Mawlum. However, in order to achieve the most effective result in the production and promotion of Mawlum, it is necessary for mass media to have suitable role and should the most suitable strategy in producing and promoting Mawlum. This research considered five kinds of mass media : Radio, Television, Visual and audio media, Journal, and Film which have their own ways to choose and use strategies in produing and promoting Mawlum. Each kind of mass media has its own roles in promoting Mawlum ; therefore, each has different strategy in the promotion. The kind of mass media which has the most apparent roles and strategies in producing Mawlum is Visual and audio media. Whereas : Radio, Television, Journal, and Finn are the ones which present their roles and use strategy as channel for the promotion of Mawlum. Although these mass media have their suitable strategy, they share the same mass media culture, for example Radio and Television have the same condition in launching the same strategy of time control and erf the most effective use of limited space. In addition, this research leads to the answer that different kinds of mass media share the same criteria for the choices of Mawlum they will promote, that is they are tempted to choose the kind of Mawlum which are highly demanded in the market and which can be mostly applied to the new cultural current such as Applied Mawlum, Hybrid Mawium. Whereas such original Mawlum as Mawlum klon, Mawlum phuen are not or rarely chosen to be produced and promoted. If the chosen Mawium has same characteristics which are greatly different for mass media culture, there will be some change in the forms and matters of Mawlum. It can be concluded that mass media nowadays are both advantageous and disadvantageous to the presentation of Mawlum. The advantages are that they are channel for promoting Mawlum amont the society and they, as the producers, make Mawlum exist nowadays. As for the disadvantages, mass media culture is the main factor which make Mawlum change so greatly in form and เท matter that its original cannot be traced. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74492 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.357 |
ISBN: | 9746385127 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1997.357 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prayut_wa_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 913.85 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 825.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch7_p.pdf | บทที่ 7 | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch8_p.pdf | บทที่ 8 | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch9_p.pdf | บทที่ 9 | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch10_p.pdf | บทที่ 10 | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_ch11_p.pdf | บทที่ 11 | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayut_wa_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 708.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.