Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74588
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นัทธี จิตสว่าง | - |
dc.contributor.author | เทิดศักดิ์ บุณยไวโรจน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-07-20T06:39:57Z | - |
dc.date.available | 2021-07-20T06:39:57Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746391216 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74588 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en_US |
dc.description.abstract | การแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ สามารถกระทำได้โดยการฝึกอาชีพและการบังคับใช้แรงงาน ถึงกระนั้นก็ดี จะต้องศึกษาว่ามีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีดังกล่าว และกฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญในเรื่องการเกณฑ์แรงงานและหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 กำหนดให้นักโทษเด็ดขาดต้องทำงานตามคำสั่งของเจ้าพนักงานเรือนจำ จึงกล่าวได้ว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวให้อำนาจเจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการฝึกอาชีพและบังคับใช้แรงงานเพื่อฟื้นฟูนักโทษได้ และแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 51 บัญญัติห้ามมิให้เกณฑ์แรงงาน เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะให้เกณฑ์แรงงานได้ แต่กฎหมายนี้จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบ หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก การฝึกอาชีพ และการบังคับใช้แรงงานนักโทษก็มิใช่การเกณฑ์แรงงานตามความหมายของรัฐธรรมนูญ หากแต่เป็นเพียงวิธิการหนึ่งในการฟื้นฟูนักโทษ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ในเรื่องดังกล่าวข้างต้นจึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่เพื่อเป็นการขจัดข้อโต้แย้งที่จะมีขึ้น ในต่างประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่นกำหนดคุ้มครองสิทธิของบุคคล ที่จะไม่ถูกบังคับให้แก่อาชีพและถูกบังคับให้ทำงานโดยไม่สมัครใจ เว้นแต่เพื่อเป็นการลงโทษทางอาญา และรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกากำหนดคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกกระทำเยี่ยงทาสหรือบังคับใช้แรงงานโดยไม่สมัครใจ เว้นแต่จะเป็นการลงโทษทางอาญา ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จึงควรจะมีการแกไขเพิ่มเติม ในมาดรา 51 โดยเติมข้อความต่อไปนี้ไว้ตอนท้ายของความในมาตรานี้ว่า "แต่การบังคับใช้ แรงงานบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการเกณฑ์แรงงานตามความในวรรคนี้" สำหรับหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานนักโทษ คือ อนุสัญญาที่เกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งได้ห้ามมิให้มีการบังคับใช้แรงงานโดยไม่สมัครใจ ยกเว้นการบังคับใช้แรงงานโดยไม่สมัครใจจากบุคคลที่มีคำพิพากษาของศาลตัดสินว่าเป็นผู้กระทำความผิดสามารถกระทำได้ภายใต้การดูแลและควบคุมของเจ้าพนักงานของรัฐ ดังนั้นการที่พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ให้อำนาจเจ้าพนักงานของรัฐบังคับใช้แรงงานหรือให้นักโทษทำงานโดยไม่สมัครใจจึงไม่ขัดต่อหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด | - |
dc.description.abstractalternative | The result of the study indicates rehabilitation of prisoner can be made by vocational training and forced labor. However, a study on laws that empower government officers to apply the said method to see whether they are in conflict with the Constitution or not especially in the matters of forced labor and human rights. The study finds that the Correction Act of B.E. 2479 requires the sentenced prisoners must work according to the order given by warders. One can say that the said law authorize the government officer to apply vocational training and forced labor to habilitate inmates. And eventhough Article 51 of the Constitution of B.E. 2540 of the Thai Kingdom has forbid forced labor unless there is a specific legislation which allows forced labor but such a legislation must be meant for emergency in the prevention of aversion of public disaster or during war or belligerency or an emergency has been announced on an martial incident has been announced. The occupational training and forced labor do not fall seperately on the definition of forced labor under the constitution. It is meant for rehabilitation of prisoners one can says that the Correction Act B.E. 2479 is not conflicting with the Constitution on the said matter. However, in order to eliminate possible argument the Constitutions of certain countries such as that of Japan provides for a protection from forced vocational training or involuntary forced labor unless it is a matter of penalization. Similarly, the Constitution of United States of America provide for protection of rights of a person from enslaving treatment or forced labor unless it is a matter of penalization. Therefor the Constitution of B.E. 2540 should by amend to add in Article 51 by adding certain provisions such as “But the forced labor applied on sentenced prisoners shall not be regarded as forced labor under this paragraph”. The principle of Human Rights laws related to forced labor of prisoners are the ILO Convention (No. 29) Concerning Forced Labor which aims at the supression of involuntary forced labor except where competent court sentenced and under the observation and supervision of government officials, so the provisions of Correction Act concerning the vocational training are considered to be not inconsisten with international human rights standards. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.371 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นักโทษ | en_US |
dc.subject | สิทธิมนุษยชน | en_US |
dc.subject | การฝึกอาชีพ | en_US |
dc.subject | การลงโทษ | en_US |
dc.subject | แรงงานนักโทษ | en_US |
dc.subject | Prisoners | en_US |
dc.subject | Human rights | en_US |
dc.subject | Occupational training | en_US |
dc.subject | Punishment | en_US |
dc.subject | Convict labor | en_US |
dc.title | การแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ : ศึกษากรณีการฝึกอาชีพและการบังคับใช้แรงงาน | en_US |
dc.title.alternative | Rehabilitation of inmates : case study vocational training and imprisonment with labor | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1997.371 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Terdsak_bo_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 932.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
Terdsak_bo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 701.03 kB | Adobe PDF | View/Open |
Terdsak_bo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Terdsak_bo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Terdsak_bo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Terdsak_bo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 833.32 kB | Adobe PDF | View/Open |
Terdsak_bo_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.