Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74620
Title: การใช้เพลงในโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรเด็กและเยาวชน
Other Titles: The music uses in the road safety campaign for school children
Authors: นวลพรรณ พูลศรีสวัสดิ์
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Patchanee.C@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
กฎจราจร
เพลงสำหรับเด็ก
จิตวิทยาเด็ก
Communication
Traffic regulations
Children's songs
Child psychology
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาในโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครของกระทรวงศึกษาธิการ (ความสนใจและความต้องการเกี่ยวกับการนำ เสนอเพลงวินัยจราจร ศึกษาการเปลี่ยนระดับความรู้ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมเกี่ยวกับเพลงและการปฏิบัติตามวินัยจราจร) เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 776 คน เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ t และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS FOR WINDOWS ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนส่วนใหญ่ฟังเพลงวินัยจราจรทุกวัน โดยฟังเพลงไปพร้อมกับทำกิจกรรมอื่น แต่นักเรียนก็ให้ความสนใจอย่างมากต่อเพลงวินัยจราจรและอยากฟังซ้ำอีก 2. นักเรียนที่ได้รับฟังเพลงวินัยจราจรมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามวินัยจราจรมากกว่า นักเรียนที่ไม่ได้รับฟังเพลงวินัยจราจร 3. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามวินัยจราจรมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการปฏิบัติตามวินัยจราจรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กันทัศนคติต่อเพลงวินัยจราจร 4. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามวินัยจราจรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวินัยจราจรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับเพลงวินัยจราจร 5. ทัศนคติต่อเพลงวินัยจราจรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับเพลงและการปฏิบัติตามวินัยจราจรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. ทัศนคติต่อการปฏิบัติตามวินัยจราจรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวินัยจราจรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับเพลงวินัยจราจร 7. นักเรียนต้องการฟังเพลงวินัยจราจรทุกวัน ควรเพิ่มเนื้อเพลง และเสียงร้องของเด็กร้องร่วมกับผู้ใหญ่ รวมทั้งต้องการได้รับความรู้เรื่องวินัยจราจรจากสื่ออื่น ๆ อีก ได้แก่ โทรทัศน์ วิดีโอ หนังสือที่มีภาพวาดประกอบ วิทยุ โปสเตอร์/แผ่นพับ ครูครู/ตำรวจ บิดามารดา Internet หนังสือคู่มือวินัยจราจร นิทรรศการ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยจราจร
Other Abstract: The purpose of this research was to study the road safty campaign’s music in the eyes of school children. It is a quasi -experimental research. Questionnaires as instrument, a total of 776 samples were collected from primary school students (P.2 - P.6) of school in Bangkok. Percentage, mean, t-test and Pearson product moment correlation coefficient were employed for data analysis. SPSS for Windows was used for data processing. The results of the research are as follows : 1. Most students listen to the road safety song everyday. For their listening behavior, they do other activities while listening; however, they are very interested in the song and want to repeat listening. 2. Students listening to the song have more knowledge of road safety practice than those who do not listen. 3. Knowledge of road safety practice is significantly correlated with attitude towards road safety practice. But it is not correlated with attitude towards road safety song. 4. Knowledge of road safety practice is significantly correlated with act of road safety practice. But it is not correlated with road safety song’s listening behavior. 5. Attitude towards road safety song is -significantly correlated with act of road safety practice and road safety song’s listening behavior. 6. Attitude towards road safety practice is significantly correlated with act of road safety practice. But it is not correlated with road safety song’s listening behavior. 7. Students want to listen to the road safety song everyday and want the song to be more words and to have children voice together with adults. Besides, they want to be gam road safety information from other media ะ television, video, picture book, radio, poster/brochure, teacher/police, parents, internet, road safety manual book, exhibition and other activities conceming road safety.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74620
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.389
ISBN: 9746388274
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.389
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuanpan_pu_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ996.72 kBAdobe PDFView/Open
Nuanpan_pu_ch1_p.pdfบทที่ 11.05 MBAdobe PDFView/Open
Nuanpan_pu_ch2_p.pdfบทที่ 21.47 MBAdobe PDFView/Open
Nuanpan_pu_ch3_p.pdfบทที่ 3857.98 kBAdobe PDFView/Open
Nuanpan_pu_ch4_p.pdfบทที่ 41.79 MBAdobe PDFView/Open
Nuanpan_pu_ch5_p.pdfบทที่ 51.3 MBAdobe PDFView/Open
Nuanpan_pu_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.