Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74777
Title: มโนทัศน์ทางสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตการศึกษา 12
Other Titles: Health concepts and self-health care of prathom suksa six students, educational region twelve
Authors: สุนันท์ ใหญ่ลำยอง
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tapvanee.h08@gmail.com
Subjects: การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง -- ไทย
นักเรียนประถมศึกษา -- สุขภาพและอนามัย
ความคิดรวบยอดในเด็ก
Self-care, Health -- Thailand
School children -- Health and hygiene
Concepts in children
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ระหว่าง มโนทัศน์ทางสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามตัวแปรเพศ และเขตที่ตั้งโรงเรียน (ในเขตกับนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 500 คน เป็นเพศชาย 260 คนและเพศหญิง 240 คน จากโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเขตการศึกษา 12 จำนวน 28 โรงเรียนผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองได้รับแบบสอบถามคืนมา 500 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 100 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้สูตรของเพียร์สัน และทดสอบความค่า “ที” (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีมโนทัศน์ทางสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับดี 2. มโนทัศน์ทางสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 001 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพศชายกับเพศหญิง มีมโนทัศน์ทางสุขภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 และนักเรียนในโรงเรียนในเขตกับนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล มีมโนทัศน์ทางสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 โดยนักเรียนในโรงเรียนในเขตมีมโนทัศน์ทางสุขภาพดีกว่านักเรียนในโรงเรียนนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลเทศบาล 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งเพศชายกับเพศหญิง และนักเรียนในโรงเรียนในเขตกับนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล มีการดูแลสุขภาพตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 โดยเพศหญิงมีการดูแลสุขภาพตนเองดีกว่าเพศชาย และนักเรียนในโรงเรียนในเขตมีการดูแลสุขภาพตนเองดีกว่านักเรียนในโรงเรียนนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล
Other Abstract: The purposes of the research were to study and to find a relationship between health concepts and self-health care of Prathom Suksa Six students and to compare the health concepts and self-health care. of Prathom Suksa Six students on the variable of sex and school location inside and outside the municipal or sanitary district). Five hundred students. 260 boys and 240 girls of Prathom Suksa Six from 28 elementary schools under the Jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission in Educational Region Twelve were randomly sampled. Students were asked to respond to the questionnaires. All questionnaires. accounted for one hundred percent. were returned. and then analyzed in terms of percentages. means. Standard deviations and determine the correlation coefficient. A t-test was applied to significant differences. The results revealed as follows: 1. The health concepts and self-health care of Prathom Suksa Six students were in good level. 2. The relationship between health concepts and self-health care of Prathom Suksa Six students were associated. The positively moderate correlation was statistically significant at the .001 level. 3. The comparison of health concepts between 1) males and females of Prathom Suksa Six students were found to be no statistically significant difference at the .05 level, and 2) students inside and outside the municipal or sanitary district area schools were found to be statistically significant difference at the .05 level. 4. The comparison of self-health care between 1) males and females of Prathom Suksa Six students were found to be statistically significant difference at the .05 level, and 2) students inside and outside the municipal or sanitary district area schools were found to be statistically significant difference at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74777
ISBN: 9745763209
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunan_ya_front_p.pdf890.95 kBAdobe PDFView/Open
Sunan_ya_ch1_p.pdf902.38 kBAdobe PDFView/Open
Sunan_ya_ch2_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Sunan_ya_ch3_p.pdf914.18 kBAdobe PDFView/Open
Sunan_ya_ch4_p.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Sunan_ya_ch5_p.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Sunan_ya_back_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.