Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75986
Title: ปัญหาทางกฎหมายของดอกผลธรรมดา
Other Titles: Legal problems of natural fruit
Authors: พีระติ วรพิพัฒน์
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: ทรัพย์ (กฎหมาย)
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน
Things (Law)
Civil and commercial law -- Property
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องด้วยบทบัญญัติในเรื่องดอกผลธรรมดานั้นมีลักษณะของการบัญญัติกฎหมายที่ยังคงไม่มีความชัดเจนทั้งในส่วนของการให้คำนิยาม และบทบัญญัติในเรื่องการได้มา ประกอบกับดอกผลที่ยังติดกับแม่ทรัพย์นั้น ยังไม่มีสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งที่บทบัญญัติในเรื่องดอกผลนั้นบัญญัติไว้ในบรรพ 1 เป็นหลักทั่วไปที่สามารถนำไปใช้กับกฎหมายในบรรพอื่นๆได้ และยังสามารถนำไปใช้กับกฎหมายสาขาอื่นได้ด้วย โดยวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับดอกผลในระบบกฎหมายไทย โดยศึกษากฎหมายเยอรมัน กฎหมายญี่ปุ่น และกฎหมายอิตาลี เป็นตัวอย่างด้วย ผลของการศึกษาพบว่า บทบัญญัติในเรื่องดอกผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสองนั้น มีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายในเรื่องทรัพย์ จากการที่กฎหมายบัญญัติใช้คำว่า ดอกผลธรรมดา เนื่องจากบทบัญญัติในเรื่องดอกผลนั้นเป็นบทบัญญัติที่อยู่ในลักษณะ 3 เรื่องทรัพย์ ดังนั้น ดอกผลธรรมดาจึงควรที่จะมีความสอดคล้องกับทรัพย์ ซึ่งทรัพย์หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง ด้วยเหตุนี้ การใช้คำว่า “ดอกผลของทรัพย์”จะสามารถก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ดอกผล คือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากวัตถุที่มีรูปร่าง ซึ่งจะสามารถสร้างความเข้าใจได้ดีกว่าการใช้คำว่า ดอกผลธรรมดา นอกจากนี้การที่กฎหมายบัญญัติหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของดอกผลนั้นสามารถถือเอาได้เมื่อได้แยกออกจากแม่ทรัพย์โดยรวมไว้กับลักษณะของความเป็นดอกผล ย่อมเป็นกรณีที่ทำให้ลักษณะการได้มาซึ่งดอกผลธรรมดานั้นไม่มีความเด่นชัด ซึ่งเมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น และประมวลกฎหมายแพ่งอิตาลีแล้วย่อมจะเห็นได้ว่า การได้มาซึ่งดอกผลนั้นเป็นบทบัญญัติที่ได้บัญญัติไว้เป็นมาตราเฉพาะ ซึ่งจะก่อให้เกิดความชัดเจนให้กับลักษณะของดอกผลมากกว่า และนอกจากนี้ การที่ดอกผลธรรมดายังติดอยู่กับแม่ทรัพย์ ย่อมที่จะส่งผลให้ดอกผลนั้นไม่มีลักษณะของการเป็นทรัพย์ได้ตามกฎหมาย เพราะการที่จะเป็นทรัพย์ได้ตามกฎหมายนั้นนอกจากจะต้องเป็นวัตถุที่มีรูปร่างแล้ว ยังต้องเป็นสิ่งที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองโดยอิสระด้วย ด้วยเหตุนี้ จากสถานะทางกฎหมายดังกล่าวของดอกผล จึงย่อมอาจส่งผลต่อหลักการทางกฎหมายในเรื่องอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้สิทธิในตัวดอกผลในฐานะสิทธิทางหนี้ตามบรรพ 2 เช่น การเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง หรือการเข้าถือเอาในฐานะลาภมิควรได้ หรือตามสัญญาซื้อขายตามบรรพ 3 และ การใช้สิทธิเหนือตัวดอกผลในฐานะทรัพยสิทธิตามบรรพที่ 4 ในฐานะที่ดอกผลนั้นเป็นบทนิยามที่สามารถนำไปใช้กับกฎหมายในเรื่องอื่นๆได้อย่างเป็นระบบ ผู้เขียนจึงได้เสนอให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในส่วนของบทนิยามในเรื่องดอกผลธรรมดา ตามมาตรา 148 วรรคสอง โดยการเปลี่ยนจากคำว่า “ดอกผลธรรมดา” เป็น “ดอกผลของทรัพย์” รวมถึงบัญญัติให้ดอกผลนั้นรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์ด้วย และนอกจากนี้ยังจะได้เสนอให้มีการบัญญัติเรื่องการได้มาซึ่งดอกผลธรรมดาเป็นบทมาตราเฉพาะในมาตรา 148/1 ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายผู้เขียนเสนอให้มีการตีความคำว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ” นั้นให้รวมถึงสิ่งที่ได้เป็นผลมาจากการกระทำโดยฝีมือของมนุษย์ด้วย รวมถึงสร้างการตีความให้ดอกผลนั้นต้องคำนึงถึง “ประโยชน์” ที่จะได้รับจากการเข้าถือเอาดอกผลนั้นประกอบด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าสิ่งที่จะมีลักษณะของการเป็นดอกผลนั้นสามารถเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์แล้วยังต้องเป็นประโยชน์ในการที่จะเข้าถือเอาได้อีกด้วย
Other Abstract: The provisions on natural fruit have the nature of legislative acts that still do not exist. both in terms of definition and the provisions of the acquisition There is no clear legal status This may lead to the use of laws that are not in the same way although the provisions concerning the fruit are provided in Book 1 as a general principle that can be applied to the laws of other ancestors and can also be applied to other branches of law. This thesis aims to analyze problems related to fruit in the Thai legal system with the study of German law, Japanese law and Italian law as an example. The results of the study found that the provisions of natural fruits are as follows Thai Civil and Commercial Code according to section 148 Paragraph two, They also have characteristics that are inconsistent with the law of things. from the law stating the use of the word “Natural fruit” Because the provision on the fruit is a provision that is in the nature of the book 1 title 3 things Therefore, natural fruit should be in accordance with thing means are corporal objects, for this reason, the use of the term "fruits of a thing” it is clear that the fruits are born from things that is an corporeal object. which will be able to create a better understanding than using the word natural fruit. In addition, the law prescribing the legal criteria of the natural fruit It is indeed the case that the nature of the acquisition of natural fruit is inconspicuous. When considering German civil code, Japanese civil code and Italian civil code, The acquisition of fruit is a provision that has been provided as a specific section it is clear that the acquisition of the fruit is a specific provision that will make it more obviously of the fruits, In addition, the natural fruit is still attached to the principle thing. That would result in the fruit that is not legal property. Because to be a property under the law, in addition to having to be a shaped object It must also be something that can exist independently. For this reason, as a result of the legal status of the fruits, it may affect the legal principles of other matters. Whether it is the exercise of debt right according to Book II such as being a unascertained property or undue enrichment, sale contract Book III and the exercise of rights over the fruit as a real right under Book IV. As a result, it is a systematic definition that can be applied to other legal matters. Therefore, the author proposed that the provisions of the definition of natural fruits follow under Article 148, in paragraph two by changing from the word "Natural fruits" to "Fruits of a things", as well as the provisions for the fruits, including those made by human craftsmanship, and would also propose that the provisions of the acquisition of natural fruits be provided as specific chapters in sections. 148/1 During the unedited amendment to the law, the author proposed that the interpretation of the word "natural occurring" be given, including what resulted from actions by human craftsmanship. In order to create an interpretation of fruits, the "benefits" of taking the fruits must be considerate too.  This will allow you to understand that what will have the characteristics of fruit can be caused by human actions and must also be useful in order to take it.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75986
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.826
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.826
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280154034.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.