Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76022
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขำคม พรประสิทธิ์-
dc.contributor.authorสถิตย์สถาพร สังกรณีย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:06:24Z-
dc.date.available2021-09-21T06:06:24Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76022-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและคุณค่าทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) และศึกษาการประดิษฐ์ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดที่ปรากฏในทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ประกอบด้วย 5 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเรื่องเพลงเดี่ยวขั้นสูง แนวคิดความเชื่อเรื่องการสาปแช่ง แนวคิดเรื่องการสืบทอด แนวคิดเรื่องพิธีกรรมการถ่ายทอด และแนวคิดเรื่องการบรรเลง มีคุณค่าใน 4 ประการ คือ คุณค่าต่อตัวผู้รับการถ่ายทอด คุณค่าต่อตัวผู้ถ่ายทอด คุณค่าต่อสำนักซอสามสายพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตเสวี) และคุณค่าต่อสังคม การประดิษฐ์ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยว พบว่าซอสามสายมีความเหมาะสมในการบรรเลงเพลงทยอยเดี่ยว 3 ประการคือ การทำเสียงได้ยาวไม่ขาดกัน ความกว้างของช่วงเสียง และนิ้วโอดลอย มีการวางโครงสร้างทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวออกเป็น 8 ส่วน ได้แก่ ต้นทยอยเดี่ยว เที่ยวหวาน สามชั้น เที่ยวเก็บ สามชั้น เที่ยวหวาน สองชั้น เที่ยวเก็บ สองชั้น เที่ยวหวาน ชั้นเดียว เที่ยวเก็บ ชั้นเดียว และปลายทยอยเดี่ยว มีการใช้จังหวะฉิ่งและจังหวะหน้าทับสองไม้ ในอัตราจังหวะสามชั้นและอัตราจังหวะสองชั้นตีกำกับ มีการใช้กลุ่มทำนองโยน 4 เสียงคือ กลุ่มทำนองโยนลงเสียงเร กลุ่มทำนองโยนลงเสียงมี กลุ่มทำนองโยนลงเสียงซอล และกลุ่มทำนองโยนลงเสียงลา การขึ้นเพลงและการลงจบเพลงมีลักษณะอ่อนหวาน นอกจากนี้ยังมีการใช้กลวิธีพิเศษ 2 ลักษณะคือ กลวิธีพิเศษในการใช้นิ้ว จำนวน 11 กลวิธี ได้แก่ นิ้วประ นิ้วพรม นิ้วแอ้ นิ้วนาคสะดุ้ง นิ้วก้อง นิ้วชุน นิ้วควง นิ้วครั่น นิ้วชั่ง นิ้วสะบัด และนิ้วรูด มีกลวิธีพิเศษในการใช้คันชัก จำนวน 3 กลวิธี ได้แก่ คันชักจับกระตั้วแทงกระตั้ว คันชักงูเลื้อย และการชะงักซอ-
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed at studing the concepts, the values, and the composition of Thayoi Diew for Saw Sam Sai solo by Phraya Phumisewin (Chit Chittasewi). The research results reveal that the concepts of Thayoi Diew for Saw Sam Sai solo by Phraya Phumisewin (Chit Chittasewi) consists of 5 concepts: (1) advanced solo music; (2) execration beliefs; (3) inheritance; (4) transmission rituals and; (5) performing techniques. In addition, Thayoi Diew for Saw Sam Sai solo by Phraya Phumisewin (Chit Chittasewi) include four values: (1) recipient; (2) relay; (3) Phraya Phumisewin (Chit Chittasewi) school and; (4) social value. In the composition of Thayoi Diew for Saw Sam Sai solo by Phraya Phumisewin (Chit Chittasewi), it is suitable for Saw Sam Sai performing. The composition is related to Thai Thao rhythmic structure. Due to its musical form, the piece has the identity of the Yon for beginning and ending of this solo. There are eleven special techniques for Saw Sam Sai fingering positions: (1) Pra; (2) Prom; (3) Air; (4) Nak Sa Dung; (5) Kong; (6) Chun; (7) Kwong; (8) Kran; (9) Chang; (10) Sa But; (11) Rood. Bowing Techniques include (1) Chab Kra Tour Tang Kra Tour; (2) Ngu Luai; (3) Cha Ngak Saw.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.701-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี), พระยา-
dc.subjectซอสามสาย-
dc.subjectเพลงไทยเดิม-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)-
dc.title.alternativeThayoi diew for Saw Sam Sai solo by Phraya Phumisewin (Chit Chittasewi)-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineดุริยางค์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.701-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186748835.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.