Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7651
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorเพ็ญวรรณ มหาผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2008-07-25T03:23:45Z-
dc.date.available2008-07-25T03:23:45Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746363069-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7651-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอน โดยใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ต่อเจตคติในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล และเปรียบเทียบเจตคติในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้ตัวแบบสัญลักษณ์กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการสอน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชชนนี จำนวน 60 คน ได้จากการคัดเลือก และจัดแบ่งเข้ากลุ่มโดยเลือกผู้ที่มีคะแนนเจตคติในการฝึกปฏิบัติ การพยาบาลตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 75 ลงมา และสุ่มเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการวิจัยนี้ วิธีการสอนประกอบด้วยขั้นตอนการนำเสนอตัวแบบ ขั้นอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขั้นสรุปผล ส่วนกลุ่มควบคุมอยู่ในสถานการณ์การเรียนการสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดเจตคติในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของ Fishbein and Ajzen ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เจตคติต่อผู้ป่วย เจตคติต่อการดูแลผู้ป่วย เจตคติต่อการเรียนรู้วิชาชีพพยาบาลภาคปฏิบัติ และ 2) แผนการสอนและวีดิทัศน์ที่สร้างโดยใช้พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ในการปฏิบัติการพยาบาลซึ่งสัมพันธ์กับความเชื่อต่อผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยและการเรียนรู้วิชาชีพพยาบาลภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล เครื่องมือทุกชุดสร้างโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ค่าความเที่ยงของแบบวัดเจตคติในแต่ละส่วน เท่ากับ .75, .63 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. เจตคติในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทั้ง 3 ส่วนของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกัน 2. เจตคติในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทั้ง 3 ส่วนของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการสร้างตัวแบบ การใช้ตัวแบบในการเรียนการสอน ตลอดจนการวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างเจตคติในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลและการพัฒนาบุคลากรพยาบาลen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi-experimental research were to study effects of teaching by symbolic modeling on attitude toward nursing practice of nursing students and to compare attitude toward nursing practice of nursing students who received teaching by symbolic modeling and those who received regular teaching method. Research samples consisted of sixty first-year nursing students of Boromratchonnee Sapasittiprasong Ubonratchathanee Nursing College who had attitude score less than percentile 75. Subjects were randomly assigned into one experimental and one control group. There were 30 students in each group. The experimental group received teaching by using symbolic modeling for 4 weeks, this method was consisted of 3 steps : presenting the models, discusion and conclusion. Two research instruments which were developed by the researcher and tested for the content validity, were a teaching plan using symbolic modeling and an attitude test. The symbolic model was in the video format in which its content was related to patients, nursing care and nursing practice. The attitude tests consisted of three parts which were attitude toward patients, toward nursing care and toward nursing practice were developed according to guidelines described by Fishbein and Ajzen. The reliability of three attitude tests were .75, .63 and .63, respectively. Major findings were as followed: 1. There were no statistically significant between attitude toward nursing practice in all three parts of nursing students before and after the experiment. 2. There were no statistically significant difference between attitude toward nursing practice in all three parts after the experiment of nursing students in the experimental group and the control group. Several recommendations regarding symbolic model construction, teaching by symbolic modeling and attitude development in nursing education and nursing personnel development were derived from this study.en
dc.format.extent981438 bytes-
dc.format.extent1135469 bytes-
dc.format.extent2820380 bytes-
dc.format.extent1521620 bytes-
dc.format.extent838066 bytes-
dc.format.extent1162394 bytes-
dc.format.extent1260443 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาล -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectการสอนด้วยสื่อen
dc.subjectนักศึกษาพยาบาล -- ทัศนคติen
dc.titleผลการสอนโดยใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ต่อเจตคติในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลen
dc.title.alternativeEffects of teaching by symbolic modeling on attitude toward nursing practice of nursing studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJintana.Y@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penwan_Ma_front.pdf958.44 kBAdobe PDFView/Open
Penwan_Ma_ch1.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Penwan_Ma_ch2.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open
Penwan_Ma_ch3.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Penwan_Ma_ch4.pdf818.42 kBAdobe PDFView/Open
Penwan_Ma_ch5.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Penwan_Ma_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.