Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77485
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมร เพชรสม-
dc.contributor.advisorพอจำ อรัณยกานนท์-
dc.contributor.authorมนตรี อินทร์นวล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-07T02:55:25Z-
dc.date.available2021-10-07T02:55:25Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77485-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฏจักรชีวิตและการพัฒนาเทคนิคเพาะเลี้ยงหนอนถั่วเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการเพาะเลี้ยง โดยขั้นต้นได้ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและรูปแบบของลำดับ นิวคลีโอไทด์ของยีน Cytochrome c oxidase I (COI) และ 16s rRNA จากจำนวนหนอนถั่ว 60 ตัวที่พบบริเวณหาดมดตะนอย ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง พบว่าเป็นหนอนถั่วสายพันธุ์ Sipunculus nudus ซึ่งยังไม่มีการพบในประเทศไทยมาก่อน และเมื่อเปรียบเทียบ กับ S. nudus จาก 11 แหล่งทั่วโลกพบว่า หนอนถั่วจากหาดมดตะนอยมีความแตกต่างกับแหล่งอื่นๆจากการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการสามารถจําแนก S. nudus ได้ 3 ฮาโปลไทป์จากยีน 16s rRNA จากหนอนถั่ว 11 ตัว และ 2 ฮาโปลไทป์จากยีน COI จากหนอนถั่วจำนวน 12 ตัวซึ่งมีค่า Haplotype diversity เท่ากับ 0.345 และ 0.167 ตามลำดับและสร้าง แผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่ได้จากยีน16s rRNA รวมกับยีน COI ของหนอนถั่ว พบว่าหนอนถั่วจากหาดมดตะนอยถูกแยกออกมาจากประเทศจีนและเวียดนามอย่างชัดเจน ต่อมาศึกษาการสืบพันธุ์ในรอบปีของหนอนถั่ว S. nudus ระหว่างเดือนกันยายน 2555 ถึงเดือนสิงหาคม 2556 โดยเก็บตัวอย่างหนอนถั่วทั้งหมด 752 ตัว ซึ่งมีขนาดและน้ำหนักตัวเปียกอยู่ระหว่าง 10-20 ซม.และ 8-18 กรัม ตามลำดับ ใช้วิธีผ่าพิสูจน์เพื่อติดตามระยะการสืบพันธุ์ พบว่า หนอนถั่วมีอัตราส่วนเพศ 1: 1 พบไข่และสเปิร์มในช่องกลางลำตัวทุกเดือนในระหว่างการศึกษาซึ่งชี้ให้เห็นว่าหนอนถั่วมีการสืบพันธุ์ต่อเนื่องทุกเดือนตลอดทั้งปีซึ่งแตกต่างจากหนอนถั่วชนิดอื่นๆและทดลองเลี้ยงหนอนถั่วจำนวน 30 ตัว ในภาชนะพลาสติกทึบแสง ผลที่ได้คือ ไข่ยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่ตัวอ่อนได้ ยิ่งไปกว่านั้นจากการศึกษาลักษณะภายในตัวของหนอนถั่ว S. nudus ยังพบหนอนตัวแบน (Flatworm) อาศัยอยู่เป็นปรสิต (Parasitism) ซึ่งยังไม่เคยมีรายงานมาก่อนen_US
dc.description.abstractalternativeSixty peanut worms were collected from Modtanoy beach, Trang, Thailand for species identification. Taxonomic study was based on morphology and dichotomous keys of the Sipuncula. The result showed peanut worms were Sipunculus nudus species and different from other 11 localities around the world. The phylogenetic analyses using molecular sequence data were conducted from two genes, 16S rRNA and cytochrome c oxidase subunit I. Haplotype diversities for the 16s rRNA and COI genes were 0.345 and 0.167 respectively. The phylogenetic tree showed that Thai specimens were separated from southern Chinese and Vietnamese clade. Moreover, this studied S. nudus has never been recorded. Thus this research is the new record of S. nudus in Thailand. The second experiment was annual reproductive cycle of peanut worm found at ModTanoy Beach during September 2012 - August 2013 to monitor the annual reproductive cycle that will be used as preliminary information for breeding of peanut worm. 752 peanut worms with the average length and wet body weight ranged from 10-20 cm. and 8-18 grams were collected and dissected for determination of sex and inspection of male and female gamete stages. The result revealed a sex ratio of 1:1. The third experiment was culture peanut worms 30 individuals in a plastic opaque container. The result showed the eggs cannot develop into the embryo. Moreover this studied peanut worm was found parasitic flatworms that live in the contractile vessel of the S. nudus which has never been reported before.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.64-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหนอน -- การเพาะเลี้ยง-
dc.subjectชีววิทยาทางทะเล-
dc.subjectสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นสัตว์ทดลอง-
dc.subjectWorms -- Cultures (Biology)-
dc.subjectMarine biology-
dc.subjectMarine invertebrates as laboratory animals-
dc.titleชีววิทยาของหนอนถั่ว Sipunculus sp. เพื่อการเพาะเลี้ยงen_US
dc.title.alternativeBiological study of peanut worm, Sipunculus sp. and application for aquacultureen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.64-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472884023.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.