Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7798
Title: ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการยอมรับ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ของอาจารย์มหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Factors related to the adoption of training in educational communications and technology of university instructors in Bangkok metropolis and vicinity
Authors: พงษ์จันทร์ ไกรสินธุ์
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: การฝึกอบรม
เทคโนโลยีทางการศึกษา
การสื่อสารทางการศึกษา
การยอมรับนวัตกรรม
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาระดับการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ของอาจารย์อุดมศึกษาของรัฐ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ กับองค์ประกอบด้านสภาพของอาจารย์ผู้สอน ด้านสภาพสังคมของมหาวิทยาลัย ด้านการสนับสนุนของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และด้านการฝึกอบรม รวมทั้งศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ของการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์อุดมศึกษาของรัฐ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 385 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์มหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษาในระดับปานกลาง 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 4 ด้าน กับการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทั้ง 5 ขั้น พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 33 ตัว 3 อันดับแรก ได้แก่ การเข้าอบรมกับวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การมีโอกาสนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน และการเข้ารับการฝึกอบรมกับวิทยากรภายใน และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 5 ตัว 3 อันดับแรก ได้แก่ การไม่เคยเข้าอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เพศชาย และตำแหน่งศาสตราจารย์ 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) พบตัวแปรที่สามารถอธิบายการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษาขั้นการรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้ และขั้นการยืนยันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4, 6, 3, 8 และ 5 ตัว ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้งหมดทุกตัวในแต่ละขั้นสามารถอธิบายความแปรปรวน ของการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทั้ง 5 ขั้น ได้เท่ากับ 53.34%, 49.20%, 75.28% 66.66% และ 71.66% ตามลำดับ และพบตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวน ของการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาได้ 4 ขั้น จำนวน 2 ตัวคือ ความสนใจและกระตือรือร้นในการเข้าอบรม และการเคยเข้ารับการอบรม 1 ครั้ง/ปี 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น (Stepwise Method) พบตัวแปรที่สามารถอธิบาย การยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ขั้นการรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้และขั้นการยืนยัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 7, 6, 11, 9 และ 8 ตัว ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้งหมดทุกตัวในแต่ละชั้น สามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทั้ง 5 ขั้นได้ เท่ากับ 47.97%,41.14%,72.13%,63.47% และ 68.43% ตามลำดับ และพบตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในทุกขั้น จำนวน 1 ตัว คือ ความสนใจและกระตือรือร้นในการเข้าอบรม
Other Abstract: To study the adoption of training in educational communications and technology of university instructors in Bangkok metropolis and vicinity, to study the relationships between the adoption of training in educational communications and technology of university instructors and four selected variables : instructor status, university structure, administrator support and traning in university; and to identify predictor variables in the adoption of training in educational communications and technology. The samples were 385 university instructors in Bangkok metropolis and vicinity. The findings revealed that: 1. The university instructors in Bangkok metropolis and vicinity adopted training in educational communications and technology in moderate level. 2. There were statistically significant positive relationships at .05 level between the adoption of training in educational communications and technology of university instructors in five stages and 33 selected variables. The first three variables were : specialized professor as trainer ; the opportunity to use knowledge from training and attend training with in-house trainer as resource person. There were statistically significant negative relationships at .05 level between the adoption of training in educational communications and technology of university instructors in five stages and 5 selected variables. The first three variables were : no training in educational communications and technology, male and position as professor. 3. In multiple regression analysis (Enter Method) at .05 level, in knowledge stage, persuasion stage, decision stage, implementation stage and decision stage, there were 4, 6, 3, 8, 5 predictor variables together were able to account 53.34%, 49.20%, 75.28%, 66.66% and 71.66% of the variance. The variables found in four stages were an interest and enthusiasm in attend training once a year. 4. In stepwise multiple regression analysis at .05 level, in knowledge stage, persuasion stage, decision stage, implementation stage and decision stage, there were 7, 6, 11, 9, 8 predictor variables together were able to account 47.97%, 41.14%, 72.13%, 63.47% and 68.43% of the variance. The variables found in five stages were an interest and enthusiasm in attend training.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7798
ISBN: 9746383604
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongchan_Kr_front.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Pongchan_Kr_ch1.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Pongchan_Kr_ch2.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open
Pongchan_Kr_ch3.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Pongchan_Kr_ch4.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
Pongchan_Kr_ch5.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Pongchan_Kr_back.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.