Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78398
Title: การศึกษาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในประเทศไทย : การกระจายตัวเชิงพื้นที่
Other Titles: Investigation of PM 2.5 in Thailand : Spatial distribution
Authors: กรชนก ยิ้มละมัย
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ฝุ่น -- ไทย
Dust -- Thailand
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนในประเทศไทย โดยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและความเข้มข้นของฝุ่นละออง และ ประยุกต์ใช้การกระจายตัวเชิงความถี่และขนาดของเหตุการณ์ (Frequency – Magnitude Distribution: FMD) เพื่อสร้างความสัมพันธ์การกระจายตัวเชิงความถี่และความเข้มข้นของฝุ่นละออง ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและความเข้มข้นของฝุ่นละอองทำให้สามารถแบ่งข้อมูลได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ชุดข้อมูลที่ฝุ่นละอองมีความเข้มข้นสูงในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ โดยส่วนมากเป็นสถานี ทางภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย เนื่องจากฝุ่นละอองข้ามพรมแดนจากประเทศกัมพูชา และ ปัจจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลาดังกล่าว และชุดข้อมูลที่ฝุ่นละอองมีความเข้มข้นสูงในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน โดยส่วนมากเป็นสถานีทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณดังกล่าว และฝุ่นละอองข้ามพรมแดนจากประเทศเมียนมาร์ และลาว สำหรับความสัมพันธ์การกระจาย ตัวเชิงความถี่และความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนสามารถจัดทำแผนที่การกระจายตัว ของค่า a และ b ,แผนที่ความเข้มข้นของฝุ่นละอองสูงสุดที่สามารถเกิดได้ ในช่วงเวลาที่สนใจ ,แผนที่คาบอุบัติ ซ้ำของฝุ่นละออง และแผนที่แสดงโอกาสในการเกิดฝุ่นละออง พบว่าข้อมูลที่ได้มีความสอดคล้องกัน บริเวณที่มี ค่า b ต่ำซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ในเบื้องต้นว่ามีโอกาสสูงที่จะเกิดฝุ่นละอองความเข้มข้นสูง จะมีค่าความเข้มข้นของ ฝุ่นละอองสูงสุดที่สามารถเกิดขึ้นได้สูง มีช่วงเวลาในการเกิดคาบอุบัติซ้ำน้อย และมีโอกาสในการเกิดฝุ่นละออง ความเข้มข้นสูงมาก ซึ่งบริเวณที่มีค่า b ต่ำได้แก่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง บางส่วนของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออก โดยบริเวณภาคเหนือมีโอกาสในการเกิดฝุ่นละอองความ เข้มข้นสูงมากที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินของคนในพื้นที่ รวมไปถึงลักษณะภูมิประเทศที่ เป็นแอ่งกระทะ
Other Abstract: The objective of this project is to study the spatial distribution of particulate matter 2.5 (PM 2.5) in Thailand. By creating a relationship between time and PM 2.5 concentration and applying Frequency – Magnitude Distribution (FMD) to create frequency – PM 2.5 concentration distribution. The data can be separated into 2 groups based on time and PM 2.5 concentration relationship which are high concentration of PM 2.5 occur during December – February at Central and East of Thailand because of (1) Cross-boundary haze from Cambodia and (2) Atmospheric factor and high concentration of PM 2.5 occur during February – April at North of Thailand because of burning activities at this area and cross-boundary haze from Myanmar and Laos. The result of frequency – PM 2.5 concentration distribution is used to create a value and b value map, Possible Maximum Concentration of PM 2.5 map, Return Period of PM 2.5, and Probability of Occurrence of PM 2.5 map. The whole data is consistent. The low b value area can be preliminary indicated that there is a high chance of occurring a high concentration of PM 2.5. The area where the low b value is the high rate of occurring maximum concentration, have a short return period and have a high probability of occurrence of high PM 2.5 concentration. The low b value area is in the North region, West region, Central region, some parts of the Northeast region, and some parts of the East region. The North has the highest chance of occurring a high concentration of PM 2.5 because of (1) Burning activity and (2) Intermontane basin.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78398
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GEO-002 - Gornchanok Yim.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.