Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78421
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชฎาธาร สัญจรโคกสูง-
dc.contributor.authorพรฑิตา เกตุทิม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-04-20T09:41:59Z-
dc.date.available2022-04-20T09:41:59Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78421-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractบรรจุภัณฑ์จากกระดาษเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากกระแสรักษ์โลกกำลังเป็นที่นิยม ทำให้ความต้องการกระดาษมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงเกิดการหาพืชทางเลือกที่เหมาะสมกับการผลิตกระดาษ ใบสับปะรดก็เป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะเส้นใยมีความเหนียวและมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษได้ โครงการนี้จึงสนใจศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเยื่อจากใบสับปะรดโดยใช้ความเข้มข้นของ NaOH ในการผลิตเยื่อที่แตกต่างกัน และศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเยื่อจากใบสับปะรดให้เป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษ ในงานวิจัยนี้ได้ทดลองใช้ NaOH ที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน 3 ระดับ คือร้อยละ 18, 19 และ 20 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง ในการต้มเยื่อใบสับปะรดที่ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วนำไปคัดขนาดด้วยตะแกรงขนาด 16 เมชและ 200 เมช พบว่า การใช้ NaOH ที่ร้อยละ 18 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง ให้ผลผลิต (%yield) ของเยื่อที่อยู่บนตะแกรง 200 เมชมากที่สุด จากนั้นนำเส้นใยที่ได้จากการต้มเยื่อทั้งหมดไปทำการวิเคราะห์เส้นใยพบว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความยาวเส้นใยใบสับปะรดที่อยู่ระหว่างตะแกรง 16 เมชและตะแกรง 200 เมซ (accepts) มีแนวโน้มลดลงตามความเข้มข้นของ NaOH ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความยาวเส้นใยใบสับปะรดที่มีขนาดใหญ่กว่าตะแกรง 16 แมช (rejects) เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของ NaOH ปริมาณเส้นใยขนาดเล็กที่อยู่ระหว่างตะแกรง 16 เมช และ 200 เมช จะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของ NaOH และปริมาณเส้นใยขนาดเล็กที่มีขนาดใหญ่กว่าตะแกรง 16 เมช จะลดลงตามความเข้มข้นของ NaOH ในส่วนของดัชนีความโค้งงอและดัชนีความหักงอของเยื่อใบสับปะรดจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของ NaOH ส่วนเยื่อที่ขนาดใหญ่กว่าตะแกรง 16 เมช ดัชนีความหักงอและดัชนีความโค้งงอมีแนวโน้มลดลงตามปริมาณ NaOH ในส่วนของจำนวนกระจุกเส้นใย พบว่าเยื่อใบสับปะรดที่อยู่ระหว่างตะแกรง 16 เมชและ 200 เมช เมื่อต้มด้วย NaOH เข้มข้นร้อยละ 19 โดยน้ำหนักเยื่อแห้ง จะมีจำนวนกระจุกเส้นใยมากที่สุด ส่วนเยื่อที่ขนาดใหญ่กว่าตะแกรง 16 เมชจะมีจำนวนกระจุกเส้นใยลดลงตามความเข้มข้นของ NaOH และในส่วนของความกว้างของเส้นใย พบว่าความกว้างของเส้นใยที่อยู่ระหว่างตะแกรง 16 เมชและ 200 เมช มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของ NaOH แต่ความกว้างของเส้นใยที่ขนาดใหญ่กว่าตะแกรง 16 เมช จะมีแนวโน้มลดลงตามความเข้มข้นของ NaOH ที่เพิ่มขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeNowadays, paper packaging becomes more popular due to the trend of global environmental conservation. This causes the demand of paper to increase, resulting in the needs to find alternative plants that are suitable for the production of paper. Pineapple leaves are an alternative sources that can be used because the fibers are tough and have properties that can be used to produce papers. This project is interested in studying the optimum conditions for pulp production from pineapple leaves using different concentrations of NaOH and studying the possibility of developing paper packaging from pineapple leaves pulp. In this research, 3 different concentrations of NaOH were used i.e. 18%, 19% and 20% based on dried pulp weight. Pineapple leaves were pulped at 100 degrees Celsius for 2 hours and then screened using 16 mesh and 200 mesh sieves, it was found that pulping with18%NaOH gave the highest %yield of the pulp on 200 mesh sieve. After pulping, the fibers were analyzed. It was found that the numerical average fiber length of the fraction between 16 mesh and 200 mesh sieves (accepts) tended to decrease with increasing NaOH concentration while the numerical average length of fibers larger than the 16 mesh sieve (rejects) increased with the concentration of NaOH. The fines content of the fraction between the 16 and 200 mesh sieves increased with the concentration of NaOH and the fibers larger than the 16 mesh sieve decreased with the concentration of NaOH. Curl index and kink index showed similar trend in the way that the curl and kink of the pulp fraction between 16 and 200 mesh sieves tended to increase with the concentration of NaOH while the fibers larger than the 16 mesh sieve showed opposite results. In terms of shives count, it was found that the fibers between 16 mesh and 200 mesh sieve when pulped with 19% NaOH had the most shives count, for the fibers larger than the 16 mesh sieve, shives count decreased with NaOH concentration. For fiber width, the fibers between 16 and 200 mesh sieves tended to increase with the concentration of NaOH, but the width of the fibers larger than the 16 mesh tended to decrease with increase NaOH concentration.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบรรจุภัณฑ์กระดาษen_US
dc.subjectPaper containersen_US
dc.titleการผลิตกระดาษจากใบสับปะรดเพื่อพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์en_US
dc.title.alternativeProduction of paper from pineapple leaves for packagingen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-IMAGE-003 - Chadatan Sanchonkhoksoong.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.