Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78879
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชมณฑ์ ชัชวาลวุฒิกุล-
dc.contributor.authorชนิกานต์ ชูสิทธิ์-
dc.contributor.authorธนิดา ภู่ประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-20T07:05:03Z-
dc.date.available2022-06-20T07:05:03Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78879-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสูตรของนมที่มีไขมันกะทิและแทนที่น้ำตาลซูโครสด้วยแก่นตะวันหรืออินนูลินต่อการเจริญเติบโต และการอยู่รอดของ Lactobacillus acidophilus ในระหว่างการหมักและเก็บนมเปรี้ยวแอซิโดฟิลัสที่มีไขมันกะทิ การหาสูตรนมที่มีไขมันกะทิทำการแปรปริมาณกะทิในนมกะทิเป็น 17%, 18% และ 19% ซึ่งพบว่าหลังการหมักกับ starter ที่มาจาก commercial yoghurt ในนมที่มีปริมาณกะทิ 18% และ 19% มีปริมาณกรดที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) และมีปริมาณกรดมากกว่าสูตรโยเกิร์ตกะทิ 17% แต่สูตรโยเกิร์ตกะทิ 18% มีความสามารถในการอุ้มน้ำ และการ syneresis ไม่แตกต่าง (p>0.05) กับสูตรโยเกิร์ตนมปราศจากไขมัน และมีความหนืดใกล้เคียงกับสูตรโยเกิร์ตนมปราศจากไขมัน ดังนั้นจึงเลือกใช้สูตรโยเกิร์ตกะทิที่มีกะทิ 18 % และน้ำตาลซูโครส 2% มาศึกษาต่อไป โดยเปลี่ยนจาก starter culture เป็นเชื้อ L. acidophilus และ พบว่าระหว่างการหมักในชั่วโมงที่ 2 ถึงชั่วโมงที่ 6 และชั่วโมงสุดท้ายของการหมัก การเพิ่มกะทิในนมช่วยให้ L. acidophilus เจริญได้ดีกว่าในนมที่ไม่มีไขมันกะทิอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) และเมื่อศึกษาการเจริญของ L. acidophilus ในนมที่มีไขมันกะทิที่แทนที่น้ำตาลซูโครสด้วยแก่นตะวันหรืออินนูลิน พบว่าสูตรที่แทนที่น้ำตาลซูโครสด้วยแก่นตะวันมีการเจริญของ L. acidophilus ไม่แตกต่างจากสูตรควบคุม (สูตรที่มีน้ำตาลซูโครส) อย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) และมีการเจริญมากกว่าสูตรที่แทนที่น้ำตาลซูโครสด้วยอินนูลิน (p≤0.05) ระหว่างการเก็บรักษาที่ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 14 วัน การอยู่รอดของ L. acidophilus ในนมเปรี้ยวแอซิโดฟิลัสที่มีไขมันกะทิ พบว่าสูตรที่แทนที่น้ำตาลซูโครสด้วยอินนูลินมีการอยู่รอดของ L. acidophilus ไม่แตกต่างจากสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) และมีการอยู่รอดที่มากกว่าสูตรที่แทนที่น้ำตาลซูโครสด้วยแก่นตะวันอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05)en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to find the formula of milk which contains coconut milk fat and to substitute sucrose with sunchoke or inulin on the growth and the survival of Lactobacillus acidophilus during fermentation and storage of coconut acidophilus milk. To find the formula of milk which contains coconut milk fat, the amount of coconut milk was varied to 17, 18, and 19%. It was demonstrated that after the fermentation with yogurt starter culture from commercial yogurt in the milk with 18 and 19% of coconut milk, there was no significant difference in acid contents (p>0.05) and were higher than 17% of coconut milk yogurt formula. But the 18% of coconut milk yogurt formula provided the physical characteristics, water holding capacity, and syneresis, which were no significant difference compared with the fat-free milk yogurt (p>0.05) and the viscosity was also similar to the fat-free milk yogurt. Therefore, the coconut milk yogurt which contains 18% of coconut milk and 2% of sucrose was selected to further study by changing the yogurt starter culture to L. acidophilus. It was found that in the 2nd to 6th and final hours of fermentation, the coconut milk was added in milk caused L. acidophilus grew better than in the milk without coconut milk (p≤0.05). For the growth of L. acidophilus in the milk which contains coconut milk fat when substitute sucrose with sunchoke or inulin, it was found that the formula which substituted sucrose with sunchoke caused the growth of L. acidophilus was no significant difference (p≤0.05) compared with the control formula (containing sucrose) and was also better than the formula which substituted sucrose with inulin (p≤0.05). For the survival of L. acidophilus in coconut acidophilus milk during storage at 4ºC for 14 days, it was found that the formula which substituted sucrose with inulin caused the survival of L. acidophilus was no significant difference (p≤0.05) compared with the control formula and was also better than the formula which substituted sucrose with sunchoke (p≤0.05).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโยเกิร์ตen_US
dc.subjectโพรไบโอติกen_US
dc.subjectแก่นตะวันen_US
dc.subjectYogurten_US
dc.subjectProbioticsen_US
dc.subjectJerusalem artichokeen_US
dc.titleผลของแก่นตะวันที่มีต่อความอยู่รอดของโปรไบโอติกแบคทีเรียสายพันธุ์ Lactobacillus acidophilus ในนมเปรี้ยวแอซิโดฟิลัสที่มีไขมันกะทิen_US
dc.title.alternativeEffect of sunchoke on survival of probiotic bacterial specie Lactobacillus acidophilus in coconut acidophilus milken_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-FOOD-001 - Phatchamon Chat.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.