Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78902
Title: การประเมินภัยพิบัติหลุมยุบในประเทศไทยด้วยดัชนีภูมิประเทศ
Other Titles: Analysis of sinkhole hazard in Thailand using topographic index
Authors: รุ่งทิพย์ เนื่องทวี
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: หลุมยุบ -- ไทย
ภัยพิบัติ -- การประเมินความเสี่ยง
Sinkholes -- Thailand
Disasters -- Risk assessment
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเกิดหลุมยุบในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ อันมีสาเหตุหลักจากการถล่มของโพรงใต้ดิน สามารถเกิดได้ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ถึงแม้การเกิดหลุมยุบในประเทศไทยจะไม่ส่งผลกระทบถึงชีวิตแต่ก็สร้างความตื่นตระหนกต่อผู้คน ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนและระบบสาธารณูปโภคเกิดความเสียหาย สร้างความลำบากให้กับประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการประเมินพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดหลุมยุบเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนมีความเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถนำไปใช้ในการวางแผนก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่อ่อนไหวต่อไป ในขั้นตอนการดำเนินงานจะใช้ปัจจัยทางภูมิประเทศมาร่วมในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ระยะห่างจากแนวรอยเลื่อนและแนวเส้น ลักษณะทางธรณีวิทยา ระยะห่างจากบ่อน้ำบาดาล ระยะห่างจากเส้นทางถนน ระยะห่างจากเส้นทางน้ำ กลุ่มชุดดินและในพื้นที่ นำมาพิจารณาค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP method) และประมวลผลโดยใช้โปรแกรม ArcMap 10.5 จัดทำแผนที่แสดงความอ่อนไหวต่อการเกิดหลุมยุบในประเทศไทย จากผลการดำเนินงานพบว่าหลุมยุบส่วนใหญ่มักเกิดในบริเวณที่ราบ ตะกอนควอเทอร์นารีและหินปูนปริมาณฝนมากกว่า 1,200 มิลลิเมตร/ปี อยู่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนและแนวเส้น บ่อน้ำบาดาลเส้นทางถนนและเส้นทางน้ำ กลุ่มดินร่วนและบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม สามารถเรียงค่าความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ลักษณะทางธรณีวิทยา 28% ระยะห่างจากบ่อน้ำบาดาลและกลุ่มชุดดินอย่างละ 18% การใช้ประโยชน์ที่ดิน 12% ปริมาณฝน 9% ระยะห่างจากเส้นทางถนน 6% ความลาดชันของพื้นที่และระยะห่างจากเส้นทางน้ำอย่างละ 3% และระยะห่างจากแนวรอยเลื่อนและแนวเส้น 2% ตามลำดับ และจากแผนที่แสดงความอ่อนไหวต่อการเกิดหลุมยุบในประเทศไทยพบว่าพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดหลุมยุบสูงมากส่วนใหญ่พบในบริเวณภาคใต้ บางส่วนของภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยจากการพิจารณาพบว่าแต่ละภาคจะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดหลุมยุบที่แตกต่างกัน
Other Abstract: Sinkholes in Thailand can be found in every region, especially in the southern part. The main cause is the collapse of underground cavity which can occur by nature and human activities. Although sinkhole in Thailand does not have a life-threatening impact, but it creates a panic for people and causing damage to buildings and utilities. Therefore, the author is interested in assessing areas that are susceptible to sinkhole, so that people are prepared for the events that may occur in the future and can be used in planning the construction of buildings in these areas. In the process, geographic factors are used in the analysis, including slope, distance to fault and lineament, geology, rainfall, distance to groundwater, distance to road, distance to stream, soil type and land use. The weight values of each factor were determined by a hierarchical analysis process (AHP method) and processed using ArcMap 10.5 to map the sinkhole susceptibility in Thailand. As a result, most sinkholes occur on low-angle slopes, quaternary deposits and limestone, the amount of rainfall more than 1,200 mm per year, loam group, agricultural area, near fault and lineament, groundwater, road and stream. Sorting the weight values from descending: geology 28%, distance to groundwater and soil type each 18%, land use 12%, rainfall 9%, distance to road 6%, slope and distance to stream each 3% and distance to fault and lineament 2%, respectively. From the sinkhole susceptibility in Thailand map, the most highly susceptibility areas of sinkhole occurrence were found in the South regions, parts of North, Western, Northeast, Central and Eastern regions. However, It was found that each region has different factors affecting the occurrence of sinkholes.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78902
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-GEO-009 - Rungthip Nuangtawee.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.