Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79014
Title: Treatment of wood adhesives wastewater from lumber mill via Fe%air modified fenton using iron waste from auto parts manufacturing
Other Titles: การบำบัดน้ำกาวจากโรงงานไม้แปรรูปผ่ากระบวนการเฟนตันประยุกต์ โดยการทำงานร่วมกันของเหล็กประจุศูนย์ในสภาวะที่มีอากาศ โดยใช้เศษเหล็กจากการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
Authors: Yanisa Deesanuwat
Advisors: Vorapot Kanokkantapong
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Sewage -- Purification -- Organic compounds removal
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสารประกอบอินทรีย์
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Iron waste or used shot blast, which received from auto parts manufacturing, comprises zero-valent iron (Fe) with can transfer to ferrous iron (Fe²⁺). In this experiment, used shot blast in aeration condition called Fe⁰/air modified Fenton was applied to treat wood adhesives wastewater from lumber mill with contained high organic content (approx. COD of 32,000 mg/L). The optimum conditions were carried out at different time (5-120 min), pH (2.0-4.0), air flow rate (0.5-2.0 L/min), and shot blast dosage (10-40 g/L). The results found that maximum COD removal efficiency from Fe⁰/air modified Fenton reaction at time 60 min., pH 3.0, air flow rate 1.5 L/min, and shot blast 20 g/L was 79.33%. At this condition, treatment efficiencies of turbidity, total suspended solids and BOD were 84.78, 13.28 and 73.68%, respectively. Biodegradability (BOD/COD) increased from 0.08 to 0.11 Even though effluent from this treatment process did not comply with the industrial effluent standard, Fe⁰/air modified Fenton reaction is especially suitable for treating wastewater in the first process in order to reduce burden of wastewater treatment in the next processes.
Other Abstract: เศษเหล็กหรือช็อตบลาสท์เหลือทิ้งที่มาจากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ประกอบไปด้วยเหล็กประจุศูนย์ที่สามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นเหล็กเฟอรัส ในการทดลองนี้ได้นำช็อตบลาสท์เหลือทิ้งในภาวะเติมอาคารที่เรียกว่า กระบวนการเฟนตันประยุกต์ โดยการทำงานร่วมกันของเหล็กประจุศูนย์ มาประยุกต์เพื่อบำบัดน้ำเสียกาวยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์จากโรงงานไม้แปรรูปซึ่งมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนสูง โดยมีค่าซีโอดีในน้ำเริ่มต้นประมาณ 32,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการทดลองได้แก่ ระยะเวลาในการบำบัด 5-120 นาที ค่าความเป็นกรด-ด่าง 2.0-4.0 อัตราการไหลของอากาศ 0.5-2.0 ลิตรต่อนาที และปริมาณช็อตบลาสท์เหลือทิ้ง 10-40 กรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมได้แก่ ช่วงเวลาในการบำบัด 60 นาที ค่าความเป็นกรด-ด่าง 3.0 อัตราการไหลของอากาศ 1.5 ลิตรต่อนาที และปริมาณช็อตบลาสท์เหลือทิ้ง 20 กรัมต่อลิต จะให้ประสิทธิภาพในการลดค่าซีโอดีสูงถึงร้อยละ 79.33 ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมนี้ ยังมีประสิทธิภาพในการลดค่าความขุ่น ค่าของแข็งแขวนลอย และค่าบีโอดี เท่ากับร้อยละ 84.78, 13.28 และ 73.68 ตามลำดับ ค่าอัตราส่วนระหว่างบีโอดีต่อซีดอดีที่มีผลต่อการย่อยสลายทางชีวภาพมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.08 ไปถึง 0.11 แม้ว่าน้ำหลังจากผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีนี้จะยังไม่ได้ผ่านค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม แต่การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการเฟนตันประยุกต์โดยการทำงานร่วมกันของเหล็กประจุศูนย์ มีความเหมาะสมอย่างมากในการบำบัดน้ำเสียเป็นกระบวนการแรก เพื่อเป็นการลดภาระของการบำบัดน้ำเสียในกระบวนการถัดไป
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79014
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-ENVI-009 - Yanisa Deesanuwat.pdf7.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.