Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79216
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีดา อัครจันทโชติ-
dc.contributor.authorธัญพร เฮงวัฒนอาภา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-09T06:37:42Z-
dc.date.available2022-07-09T06:37:42Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79216-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์โหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s ในสังคมไทย, พฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงถึงการโหยหาอดีตและการสร้างเนื้อหาขึ้นเองของผู้ฟังที่นิยมเพลงไทยสากลยุค ’90s, กระบวนการสื่อความหมายของการโหยหาอดีตผ่านเนื้อหาต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตสื่อบันเทิงสร้างขึ้นโดยมีเพลงไทยสากลยุค ’90s เป็นองค์ประกอบ รวมถึงศึกษาการสร้างเนื้อหาและพฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงถึงการโหยหาอดีต ที่ศิลปินนักร้องในยุค ’90s และศิลปินยุคปัจจุบันมีต่อแฟนเพลง ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร การใช้ข้อมูลเชิงชาติพันธุ์วรรณาจากประสบการณ์ของผู้วิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเข้าสังเกตการณ์แบบเปิดเผยและมีส่วนร่วม โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการโหยหาอดีต แนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างเอง และแนวคิดเกี่ยวกับการผลิตสื่อเพื่อความรู้สึกโหยหาอดีต เป็นกรอบในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s เกิดจากมิติปัจเจกบุคคล ได้แก่ การมีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นตามวัยจนรู้สึกโหยหาความสดใสและความเป็นอิสระในอดีต และมิติทางสังคม ได้แก่ สภาพการณ์บ้านเมืองและสภาวะโดยรวมของโลกที่ทำให้รู้สึกไม่มีความสุขเหมือนในอดีต ความรู้สึกที่เกิดขึ้นประกอบไปด้วย การโหยหาตัวตนในอดีตและภาพประสบการณ์ส่วนตัว การโหยหาถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในอดีต การโหยหาสภาพสังคม การโหยหาการเปิดรับสื่อ และการโหยหาลักษณะของเพลงไทยสากลในยุค ’90s โดยกลุ่มผู้รับสารจะแสดงออกถึงความรู้สึกเหล่านี้ผ่านพฤติกรรมการใช้สื่อต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งนำไปสู่การสร้างเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างเอง ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในกระบวนการสร้างสรรค์สื่อบันเทิง ส่วนผู้ผลิตสื่อมีวิธีสร้างเนื้อหาเพื่อสื่อความหมายของการโหยหาอดีต ได้แก่ “Remaster” หรือ การปรับปรุงของเดิมให้สดใหม่ “Remake” หรือ การสร้างเนื้อหาใหม่จากโครงสร้างเดิม และ “Reboot” หรือ การสร้างเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน สำหรับกลุ่มศิลปินนักร้องเพลงไทยสากลในยุค ’90s มีพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อความรู้สึกโหยหาอดีต ได้แก่ การรักษาความเป็นตัวตน การรักษาและพัฒนาความสามารถ และการรักษาความสัมพันธ์กับแฟนเพลง ในขณะที่กลุ่มศิลปินนักร้องในปัจจุบันนิยมใช้การแสดงตัวตนที่เป็นเด็กยุค ’90s หรือมีประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเพลงไทยสากลในยุค ’90s มาก่อน ซึ่งความหมายของความโหยหาอดีตจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีทั้งความสอดคล้องและขัดแย้งกัน.-
dc.description.abstractalternativeThis research is designed to determine the origins and causes of the nostalgic phenomenon with the '90s Thai popular songs in Thai society, the communication behaviors expressing nostalgia and user-generated content of music listeners who prefer popular Thai songs of the 90s, the process of communicating the meaning of nostalgia through various content created by entertainment media producers using popular Thai songs of the ‘90s as a composition. This includes considering content creation and communication behaviors that express nostalgia which singing artists of the '90s and singing artists of the present days have for their music fans. The researcher uses qualitative research which consists of researching documentary sources, ethnographic study based on the researcher's experience, in-depth interviews, and participant observation by applying the concept of nostalgia, the concept of user-generated content, and the concept of media production for nostalgia as the research framework. The research has found that music-evoked nostalgia with ‘90s Thai popular songs is originated from individual dimensions namely the many increased aging-induced roles and responsibilities that spawn nostalgia for the bygone livelihood and freedom, and social dimensions namely national situation and overall global situation that develop disheartenment dissimilarly to the past. The feelings that arise include longing for one’s past self and autobiographical memory, longing for people involved in the past, longing for social condition, longing for media exposure, and longing for the characteristics of popular Thai music in the '90s. For the audience group, these feelings are expressed through current media usage behaviors which lead to the creation of user-generated content that plays a significant role in the entertainment media production process. For media producers, there are approaches to create content to convey the meaning of nostalgia, including “Remaster” or to freshen up the original recording, “Remake” or to create new content from the original structure, and “Reboot” or to create brand new content like never before. For singing artists of popular '90s Thai songs, communication behaviors for nostalgia are incorporated with preserving identity, preserving and polishing skills, and preserving relationships with fans, while present days’ singing artists prefer to express their identities as children of the '90s or to possess previous life experiences related to popular Thai songs in the '90s, the meaning of nostalgia from the three sample groups are both consistent and contradictory.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.670-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเพลงไทย-
dc.subjectเพลงไทยสากล-
dc.subjectการโหยหาอดีต-
dc.subjectSongs, Thai-
dc.subjectNostalgia-
dc.titleการโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s-
dc.title.alternativeMusic-evoked nostalgia with ’90s Thai popular songs-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.670-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5885104828.pdf8.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.