Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79470
Title: | Effect of desensitizing toothpaste containing calcium sodium phosphosilicate on microtensile bond strength of adhesive systems |
Other Titles: | ผลของยาสีฟันลดการเสียวฟันที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมโซเดียมฟอสโฟซิลิเกตต่อความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดระบบต่างๆ |
Authors: | Warin Sittiwaitayaporn |
Advisors: | Sirivimol Srisawasdi |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Dentistry |
Subjects: | Dentifrices Dental adhesives ยาสีฟัน สารยึดติดทางทันตกรรม |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Purpose: To evaluate the effect of a desensitizing toothpaste, containing calcium sodium phosphosilicate, on microtensile bond strength of adhesive systems treated to dentine. Methods: Fifty-two human third molars were embedded into acrylic resin, and cut to expose flat dentin surface. The specimens were randomly divided into two groups, 1) no brushing, and 2) brushing with Sensodyne Repair&Protect (GSK, London, UK) for 10,000 cycles with a V-8 cross brushing machine (Sabri Dental Enterprise, Inc., USA). Subsequently, both groups were divided into three groups for resin composite build-up using different adhesive agents (OptiBond FL® (Kerr, Orange, CA, USA), Clearfil SE Bond® (Kuraray Medical Inc, Japan), Single Bond Universal® (3M ESPE, USA)). All samples were subsequently sectioned to obtain microtensile test specimen, after which the sectioned sticks in the same tooth were divided into two subgroups: 1) microtensile bond strength test, and 2) thermocycling for 10,000 cycles, followed by microtensile bond strength test. Results: Two-way ANOVA revealed that μTBS values of each adhesive system was not significantly affected by brushing with desensitizing toothpaste containing calcium sodium phosphosilicate. After brushing with desensitizing toothpaste containing calcium sodium phosphosilicate, OptiBond FL® had a significant highest μTBS value. Clearfil SE Bond® showed no significant different immediate μTBS value compared to Single Bond Universal®, but showed a significant higher μTBS value than Single Bond Universal® after 10,000-cycle thermocycling. In addition, 10,000-cycle thermocycling significantly decreased the μTBS value of Single Bond Universal® after brushing. Conclusion: Desensitizing toothpaste containing calcium sodium phosphosilicate had no effect on OptiBond FL® Clearfil SE Bond® and Single Bond Universal® adhesive in both immediate μTBS or after 10,000-cycle thermocycling. In addition, 10,000-cycle thermocycling significantly reduced μTBS value of Single Bond Universal® brush group. |
Other Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของยาสีฟันลดการเสียวฟันที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมโซเดียมฟอสโฟซิลิเกตต่อความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคในสารยึดติดระบบต่างๆ วิธีการศึกษา: ฟันกรามซี่ที่สามจากมนุษย์ 52 ซี่ถูกตัดเพื่อเผยเนื้อฟัน จากนั้นถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกไม่แปรงฟัน และกลุ่มที่สอง แปรงด้วยยาสีฟันเซ็นโซดายน์ รีแพร์แอนด์โพรเทคท์ ด้วยเครื่องแปรงฟันอัตโนมัติ (V-8 cross brushing machine, Sabri Dental Enterprise, Inc., USA) 10,000 รอบ หลังจากนั้นทั้งสองกลุ่ม ได้ถูกแบ่งกลุ่มย่อย 3 กลุ่มตามชนิดของสารยึดติด ได้แก่ ออพติบอนด์ เอฟแอล เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล เพื่อนำไปยึดติดกับคอมโพสิตชนิดบ่มด้วยแสง นำฟันตัวอย่างที่เสร็จแล้วมาตัดเป็นชิ้นตัวอย่าง โดยชิ้นตัวอย่างจากฟันซี่เดียวกัน ได้ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มย่อย กลุ่มย่อยแรกแช่น้ำกลั่น อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง และนำไปทดสอบหาค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาค และกลุ่มย่อยที่สองหลังจากแช่น้ำกลั่น อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง นำไปจำลองการใช้งานด้วยการทำเทอร์โมไซคลิงจำนวน 10,000 รอบ และนำไปทดสอบหาค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาค ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) พบว่า การแปรงฟันด้วยยาสีฟันลดการเสียวฟันที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมโซเดียมฟอสโฟซิลิเกต ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดระบบต่างๆ ทั้งหลังการแช่น้ำกลั่น 24 ชั่วโมง และหลังการจำลองการใช้งานด้วยการทำเทอร์โมไซคลิงจำนวน 10,000 รอบ โดยสารยึดติดออพติบอนด์ เอฟแอลมีค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคที่วัดค่าทันทีมากกว่าสารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคที่วัดค่าทันทีของสารยึดติด เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากจำลองการใช้งานด้วยการทำเทอร์โมไซคลิงจำนวน 10,000 รอบ พบว่า สารยึดติดออพติบอนด์ เอฟแอลมีค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคมากกว่าสารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล อย่างมีนัยสำคัญ และสารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์มีค่าค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคมากกว่าซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล อย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า การจำลองการใช้งานด้วยการทำเทอร์โมไซคลิงจำนวน 10,000 รอบไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดออพติบอนด์ เอฟแอล และ เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ แต่ส่งผลกระทบต่อค่าดังกล่าวในสารยึดติดซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล สรุป: ยาสีฟันลดการเสียวฟันที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมโซเดียมฟอสโฟซิลิเกตไม่มีผลกระทบต่อค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคในสารยึดติดออพติบอนด์ เอฟแอล เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และ ซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล ทั้งค่าที่วัดทันทีและหลังการจำลองการใช้งานด้วยการทำเทอร์โมไซคลิงจำนวน 10,000 รอบ และการบูรณะฟันด้วยสารยึดติดซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล หลังแปรงฟันด้วยยาสีฟันลดการเสียวฟันที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมโซเดียมฟอสโฟซิลิเกต ค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากจำลองการใช้งานด้วยการทำเทอร์โมไซคลิงจำนวน 10,000 รอบ |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2020 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Esthetic Restorative and Implant Dentistry |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79470 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.196 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.196 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6075833532.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.