Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8070
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: A development of the basic education external evaluator empowerment indicators
Authors: ภูริต วาจาบัณฑิตย์
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ssiridej@chula.ac.th
Subjects: การประเมินผลทางการศึกษา
ประกันคุณภาพการศึกษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญระหว่างตัวบ่งชี้การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 814 คน จาก 19 หน่วยประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 13.00 ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป LISREL 8.72 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 3 เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการเสริมพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้เดี่ยวสำหรับการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจำนวน 81 ตัวบ่งชี้ 12 องค์ประกอบ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการ 7 องค์ประกอบ 46 ตัวบ่งชี้ และด้านผลลัพธ์ 5 องค์ประกอบ 35 ตัวบ่งชี้ 2. โมเดลโครงสร้างการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียงลำดับความสำคัญขององค์ประกอบจากมากไปน้อย คือ การกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยประเมิน การสร้างทีมการประเมินของหน่วยประเมิน การให้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยประเมิน การสร้างแรงจูงใจของการประเมิน สมรรถภาพในการทำงานของผู้ประเมินภายนอก การประเมินผลและปรับปรุงงานของหน่วยประเมิน การให้การสนับสนุนของหน่วยประเมิน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของหน่วยประเมิน ความรับผิดชอบในตนเองของผู้ประเมินภายนอกสถานภาพของผู้ประเมินภายนอก ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ประเมินภายนอก และเจตคติที่ดีในการทำงานของผู้ประเมินภายนอก 3. ตัวบ่งชี้การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถเขียนอยู่ในรูปสมการดังนี้ การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน =05(zการให้การสนับสนุนของหน่วยประเมิน) + 12(zการให้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยประเมิน) +31.(zการกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยประเมิน) + 10(zการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของหน่วยประเมิน)+ .15(zการสร้างทีมการประเมินของหน่วยประเมิน) + 22 (zการเสริมสร้างแรงจูงใจของหน่วยประเมิน) + .06(zการประเมินผลและปรับปรุงงานของหน่วยประเมิน) + 14(zสมรรถภาพในการทำงานของผู้ประเมินภายนอก) - .30(zสถานภาพของผู้ประเมินภายนอก) + .003(zความรับผิดชอบในตนเองของผู้ประเมินภายนอก) + .03(zความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ประเมินภายนอก) -.01(zความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ประเมินภายนอก) 4.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผู้ประเมินภายนอกให้ความสำคัญมากที่สุด จาก 3 ข้อคำถาม ได้แก่ 1) ประโยชน์ของการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขั้นเป็นแนวทางที่สร้างให้ผู้ประเมินภายนอกมีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (ร้อยละ 32.12) 2)ปัญหาและอุปสรรคของการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานคือหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกของสมศ. ไม่มีความชัดเจนและคงที่ (ร้อยละ 10.46) 3) ข้อเสนอแนะอื่นๆของการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ สมศ. ควรเพิ่มค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกต่อโรงเรียน (ร้อยละ 17.95)
Other Abstract: The purpose of this research was to develop, validate and compare weight important to the basic education external evaluator empowerment indicators. The samples consisted of 814 external evaluators from 19 assessment companies. The data of this research was collected by questionnaire and the research data was analyzed by employing SPSS for Window version 13.00 for descriptive statistical and LISREL 8.72 for third order confirmatory factor analysis. The research results were as follows: 1. The basic education external evaluator empowerment indicators consisted of 81 indicators, 12 factors and 2 parts. The 2 parts consisted of 7 factors 46 indicators of process and 5 factors 35 indicators of outcomes. 2. The structural models of the basic education external evaluator empowerment indicators, ranging from the highest factor loading, were the assessment the assessment company's assumption responsibility, the assessment company's constructs evaluation team work, the assessment company's information, the assessment company's constructs motivation, the external evaluator's competencies in work, the assessment company's evaluation and improve in work, the assessment company's supporting, the assessment company's decision making participation, the external evaluator's self responsibility, the external evaluator's status, the external evaluator's self esteem and the external evaluator's good attitude in work. 3. The basic education external evaluator empowerment indicators could be displated in composite equation like emp_ex_e = .05(Zsupport)+.12(Zinforma)+.31(Zas_resp)+.10(Zparticip)+.15(Zt_work)+.22(Zmotive)+.06(Zeva_impr)+.14(Zcompete)-.03(Z status)+.003(Z self_res)+.03(Zself_est)-.01(Zattitude) 4. The most important opinion and advice of the basic education external evaluator empowerment came from 3 questions. The 3 answers were shown retrospectively. It's advantageous for the basic education external evaluator to acquire knowledge, ability and skill construction for the efficient, successful external evaluation to be completed continuously and systematically (32.12%). The problems and obstacles of basic education external evaluator empowerment which were criteria and methods of external evaluation from ONESCA have been ambiguous and unstable (10.46%). Another advisor from the basic education external evaluator empowerment stated that ONESCA should increase the reward for external evaluation from ONESCA (17.95%)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8070
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1248
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1248
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Purit_Wa.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.