Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8171
Title: | ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการให้ผลป้อนกลับ ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Other Titles: | An interaction of personality and modes of feedback in computer-assisted instruction science lesson on learning achievement of mathayom suksa one students |
Authors: | วัชรินทร์ เพชรชู |
Advisors: | วิชุดา รัตนเพียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Vichuda.R@chula.ac.th |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน วิทยาศาสตร์ -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบแสดงตัวเลขเก็บตัวกับรูปแบบการให้ผลป้อนกลับแบบให้ทันทีกับชะลอการให้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2539 จำนวน 90 คน จากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว จำนวน 50 คนและบุคลิกภาพแบบเก็บตัว จำนวน 40 คน โดยใช้แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพ The Mausdslay Personality Inventory (MPI.) ของ H.J. Eysenck และใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีการให้ผลป้อนกลับแบบทันที และชะลอการให้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-test, วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า1. นักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีรูปแบบการให้ผลป้อนกลับแตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.นักเรียนที่มีบุคลิกภาพต่างกันเมื่อเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับรูปแบบการให้ผลป้อนกลับในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to examine the interaction between personality and modes of feedback in computer-assisted instruction science lesson on learning achievement of Mathayom Suksa one students. The samples were 90 students from Benjamaracharangsarit School in the academic year of 1996, and were divided into 2 groups which were 50 extravert and 40 introvert of H.J. Eysenck. There were two types of feedback in computer-assisted instruction lesson: 1. Immediate feedback; and 2. Delay feedback. The t-test, two-way ANOVA and Scheffe's HSD were used to analyze the data at .05 level of significant. The findings of the research were as follows: 1. There was significant differences at .05 level between mode of feedback in computer-assisted instruction upon learning achievement of Mathayom Suksa one students.2. There was no significant differences at 0.5 level between students with differences personality upon learning achievement in computer-assisted instruction lesson. 3. There was interaction among personality and modes of feedback in computer-assigned instruction on learning achievement of Mathayom Suksa one students at .05 level of significant. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8171 |
ISBN: | 9746365282 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Watcharin_Pe_front.pdf | 994.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharin_Pe_ch1.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharin_Pe_ch2.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharin_Pe_ch3.pdf | 972.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharin_Pe_ch4.pdf | 893.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharin_Pe_ch5.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watcharin_Pe_back.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.