Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภูมิศิริ ดำรงวุฒิ-
dc.contributor.authorเกวลิน อยู่เย็น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-25T07:42:27Z-
dc.date.available2023-05-25T07:42:27Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82099-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractรายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาในการจัดเก็บภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (NFT) ใน 4 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ (1) การจัดประเภทเงินได้ (2) ค่าใช้จ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี (3) หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ (4) การพิจารณาสถานะทางกฎหมายของ NFT ภายใต้กฎหมายภาษีีมูลค่าเพิ่ม โดยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำมาวิเคราะห์และหาข้อเสนอแนะในการกำหนดแนวทางการจัดเก็บภาษีข้างต้นให้เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป สำหรับประเทศไทยพบว่า กรณีที่ NFT ไม่เข้าลักษณะตามคำนิยาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯและมีเงินได้จากการซื้อขาย NFT ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ฝั่งผู้สร้าง NFT หรือนักลงทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นและสมควร ในขณะที่ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีขณะทำธุรกรรมซื้อขาย NFT ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ฌ) ส่วนหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับ NFT ถือว่าเป็นแหล่งเงินได้ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศให้ใช้หลักพิจารณาจาก Wallet ที่ใช้ในการซื้อขาย NFT อีกทั้งการพิิจารณาสถานะทางกฎหมายของ NFT ภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม สรุปได้ว่า NFT เข้าลักษณะเป็นสินค้าอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการกำหนดแนวทางในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ จากการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเกี่ยวกับ NFT ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียพบว่า แนวทางการจัดเก็บภาษี NFT นั้นเหมือนกับแนวทางการจัดเก็บภาษีในสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ จึงส่งผลให้เกิดแตกต่างกับประเทศไทย เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียมองว่า เงินได้ที่เกิดจากการซื้อขาย NFT ของนักลงทุนควรเสียภาษีจากส่วนเกินทุน (Capital Gain) แทนเงินได้ปกติ (Ordinary Income) และกรณีในส่วนของการพิจารณาหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการซื้อขาย NFT จะมุ่งพิจารณาถิ่นที่อยู่หรือสัญชาติของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นสำคัญ นอกจากนี้ แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของ NFT ทั้ง 2 ประเทศนั้นมีแนวทางให้ NFT อยู่ภายใต้บังคับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนเช่นกับประเทศไทย แต่จะมีการกำหนดหน้าที่และวิธีการในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไว้อย่างชัดเจน โดยให้ NFT Marketplace ทำการหน้าที่จัดเก็บภาษีขายหรือภาษีสินค้าและบริการและนำส่งให้แก่ภาครัฐ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนำหลักการทางภาษีที่มีแนวทางอย่างชัดเจนในต่างประเทศมาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.126-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subjectสินทรัพย์ดิจิทัลen_US
dc.titleแนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token: NFT) : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดาen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีเงินได้en_US
dc.subject.keywordโทเคนดิจิทัลen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.126-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480190734.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.