Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82113
Title: | แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : กรณีศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Education provision guidelines of the local arts and culture following the thought of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn : a case study of border patrolpolice schools. |
Authors: | ดวงกมล บางชวด อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร ปัญญา อัครพุทธพงศ์ เปศล ชอบผล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน -- การบริหาร โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน -- หลักสูตร การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวคิด หลักปฏิบัติงานและการจัดการศึกษาเพื่อการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตาม แนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วิธีที่ใช้ในการวิจัยคือ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มครูใหญ่ ครู ปราชญ์ ชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองและศิษย์เก่าของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจาก 6 โรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดน และ 2 ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ภาคละ 2 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบ สัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษาเป็นภารกิจหนึ่งของตำรวจตระเวนชายแดนที่จัดให้กับเด็กและ เยาวชนในถิ่นทุรกันดารโดยไม่เลือกชาติพันธุ์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อการประกอบอาชีพและพึ่งตนเองได้ ทุกโรงเรียนส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในรูปแบบที่แตกต่างกัน อาทิ การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่น หรือการจัดกิจกรรม ในรูปแบบของชมรมโดยมีกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนร่วมดำเนินการซึ่งมีเป้าหมายที่แตกต่างกันคือเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้และมีส่วนร่วมในประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ในขณะที่บางโรงเพื่อให้นำความรู้และทักษะไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว การนำเสนอ แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมี 2 แนวทางคือ 1) การจัดการศึกษาแบบ Top-down คือการสั่งการเพื่อจัดระบบการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง การสร้างขวัญและ กำลังใจให้กับครู มีระบบติดตามการดำเนินงานที่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน การกำหนดเกณฑ์การประเมิน การดำเนินงานโดยอิงจากเกณฑ์ของหลักสูตรแกนกลาง การสร้างความเข้าใจของครูสังกัดอื่นที่มาร่วมสอน การสร้างความเข้าใจเรื่องการขอรับงบประมาณสนับสนุนกิจกรรม และการกำหนดแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมความ ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 2) การจัดการศึกษาแบบ Bottom-up โดยเริ่มจากการรับฟัง ความต้องการของครูด้วยการจัดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ การจัดเก็บข้อมูลอย่าง เป็นระบบ การสร้างโอกาสการพัฒนาความรู้ทางการศึกษาของครูในลักษณะของพื้นที่ทดลอง (Sandbox) และ การสะสมหน่วยกิตความรู้จากการทำงาน (Credit bank) การให้ความรู้และลงมือปฏิบัติเรื่องการบูรณาการการ จัดการเรียนการสอนและการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น การตั้งชมรมศิษย์เก่า และการจัดทำสื่อสังคมออนไลน์ที่รวม รวมผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อการจัดจำหน่าย |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82113 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Doungkamol_Ba_Res_Aug2565.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 112.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.