Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82141
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศารทูล สันติวาสะ-
dc.contributor.authorภรทิพย์ ปักษีเลิศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-31T03:02:29Z-
dc.date.available2023-05-31T03:02:29Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82141-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพในกรณีการกำหนดค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าใช้จ่ายในการเรียนที่รวมถึงการเรียนรูปแบบออนไลน์ ผู้วิจัยทำการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษา รวบรวมข้อมูลกฎหมาย รวมถึงข้อมูลทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว นำมาวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางในการประยุกต์หลักเกณฑ์ดังกล่าวกับบริบทประเทศไทย จากการศึกษามาตรการปัจจุบันของประเทศไทยพบว่า ประเทศไทยมีการสนับสนุนผ่านภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนายจ้างที่เป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงานมาหักลดหย่อนภาษีได้ แต่มาตรการดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคทางภาษีอากร และไม่สอดคล้องนิยามการพัฒนาฝีมือแรงงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ตลอดจนไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน มาตรการที่มีอยู่จึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพของแรงงานไทย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศสิงคโปร์ พบว่าทั้ง 3 ประเทศให้การสนับสนุนผ่านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีการกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกันที่สำคัญคือมาตรฐานคุณภาพหลักสูตรที่เรียนและความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรที่เรียนและอาชีพที่ผู้เสียภาษีประกอบ รวมไปถึงหลักเกณฑ์เฉพาะที่ยกมาวิเคราะห์ ได้แก่ การกำหนดช่วงอายุที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของประเทศแคนาดา การอนุญาตให้ใช้ค่าใช้จ่ายในการเรียนเพื่อเปลี่ยนสาขาอาชีพภายในระยะเวลา 2 ปีของประเทศสิงคโปร์ และการกำหนดเพดานรายได้สุทธิสูงสุดที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบทปัญหาและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพของแรงงานไทยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน จึงควรเพิ่มเติมมาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยกำหนดเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้และจำเป็นต้องวางหลักเกณฑ์การควบคุมคุณภาพครอบคลุมไปถึงการเรียนรูปแบบออนไลน์ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้ชีวิตของประชากรวัยทำงานในปัจจุบันด้วย ตลอดจนพิจารณาหลักเกณฑ์ตามสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยพิจารณาต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และประโยชน์ของมาตรการเป็นสำคัญen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.161-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสิทธิประโยชน์ทางภาษีen_US
dc.subjectภาษีเงินได้ -- การหักลดหย่อนen_US
dc.titleมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพ : แนวทางการใช้ค่าเรียนคอร์สออนไลน์เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordการพัฒนาทักษะอาชีพen_US
dc.subject.keywordมาตรการทางภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.161-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480230134.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.