Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82347
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์-
dc.contributor.authorชุติกาญจน์ กลั่นฤทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T05:50:45Z-
dc.date.available2023-08-04T05:50:45Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82347-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่องการดำเนินทำนองซออู้เพลงเทพนิมิต สามชั้น ออกกราวนอกภาษาใน วงเครื่องสายปี่ชวาของครูจีรพล เพชรสม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินทำนองของซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวาและการดำเนินทำนองของซออู้เพลงเทพนิมิต สามชั้น ออกกราวนอกภาษา สำหรับการบรรเลงในวงเครื่องสายปี่ชวาของครูจีรพล เพชรสม ผลการศึกษาพบว่าซออู้เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในวงเครื่องสายปี่ชวา การบรรเลงซออู้ของครูจีรพล เพชรสม ในวงเครื่องสายปี่ชวาต้องใช้ทักษะขั้นสูงในการปฏิบัติ มีความรู้แตกฉาน บรรลุนิติภาวะทางดนตรี สามารถเลือกใช้สำนวนกลอนอย่างเหมาะสม สร้างสีสันให้แก่วง และสร้างปฏิสัมพันธ์ทางดนตรี ผู้บรรเลงต้องแม่นยำในทำนองหลักและมีปฏิภาณไหวพริบที่ต้องตัดสินใจและปฏิบัติรวดเร็ว เนื่องจากวงเครื่องสายปี่ชวาเป็นวงที่มีแนวในการบรรเลงเร็วผู้บรรเลงต้องมีวิธีในการผูกทำนองเพื่อให้การดำเนินทำนองของซออู้มีคุณภาพ โดดเด่น และเกิดความสมดุลในการบรรเลงรวมวง เพลงเทพนิมิต สามชั้น ออกกราวนอกภาษาของครูจีรพล เพชรสม ใช้กลวิธีในการดำเนินทำนองซออู้ได้แก่ 1. การล้วงจังหวะ 2. การย้อยจังหวะ 3. การโดดเสียง 4. การกล้ำเสียง 5. การย้ำเสียง 6. การรูดนิ้ว 7. การสะบัดนิ้ว 8. การสะบัดคันชัก 9. การพรมนิ้ว 10. การเน้นคันชัก ลักษณะดังกล่าวเป็นการดำเนินทำนองเฉพาะของครูจีรพล เพชรสมในการสร้างเสียงซออู้ที่เป็นเป็นเครื่องดนตรีเสียงทุ้มต่ำให้ปรากฏเสียงดัง ฟังชัด ไพเราะและอรรถรสในการดำเนินทำนองของซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวา-
dc.description.abstractalternativeThe study aimed to explore the context of Saw-U performance in Khreungsai Pijava ensemble and study the performance method of Saw-U for the song "Thep Nimit Sam Chan" followed by "Kraw Nok Pasa" in Khreungsai Pijava ensemble by Master Jirapon Petchsom. The findings showed that Saw-U played a vital role in the ensemble. Master Jirapong Petchsom's performance with the Saw-U in the ensemble required advanced skills: extensive musical knowledge, achieving a state of musical transcendence, selecting suitable melodies to perform, and rendering musical interactions.The performer must be precise in the main melodies of the tunes and possessed quick decision-making and execution abilities. Given the fast tempo characteristic of Khreungsai Pijava performances, Saw-U performers were required to possess the proficiency to skillfully devise melodic structures. The study revealed special techniques used by Master Jirapon Petchsom for this tune including (1) luang jangwa (advancing phrasing); (2) yoi jangwa (delaying phrasing); (3) dot siang (wide intervals); (4) klam siang (gliding); (5) yam siang (repetition); (6) rood niew (sliding); (7) sa-but niew (triplet by fingering); (8) sa-but khan chak (triplet by bowing); (9) prom niew (trill); (10) nen khan chak (accentuated bowing techniques); These techniques represented the distinctive style of Master Jirapon Petchsom in creating the sound of Saw-U, a low-pitched musical instrument, to produce resonant, clear, and aesthetical performances of the Saw-U in the Khreungsai Pijava ensemble.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.565-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreation-
dc.subject.classificationMusic and performing arts-
dc.titleการดำเนินทำนองซออู้เพลงเทพนิมิต สามชั้นออกกราวนอกภาษาในวงเครื่องสายปี่ชวาของครูจีรพล เพชรสม-
dc.title.alternativePerformance methods of saw-u for Phelng Thep Nimit Sam Chan followed by Kraw Nok Pasa in Khreungsai Pijava by Kru Jirapon Petchsom-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineดุริยางค์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.565-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6382001335.pdf10.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.