Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82750
Title: การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า(ทีโอดี) : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Other Titles: The transformation of streetscape by transit-oriented development in Rattanakosin area : a case study of MRT Blue Line
Authors: พีระพงศ์ เวชส่งเสริม
Advisors: อริยา อรุณินท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภูมิทัศน์ถนน (Street Scape) เป็นคุณลักษณะทางกายภาพสำคัญที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองๆนั้น ให้ผู้คนได้เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่สอดคล้องกันกับผู้อาศัยในเมืองนั้นๆ ซึ่งแต่เดิมสยามประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น นครเวนิสตะวันออก ที่ใช้เรือเป็นพาหนะขนส่งหลัก แต่หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ในปี พ.ศ. 2399 ถนนเริ่มมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีองค์ประกอบภูมิทัศน์ถนนที่สำคัญ ได้แก่ อาคารทางประวัติศาสตร์ ต้นไม้ ทางเท้า ที่ว่าง กิจกรรมของชุมชน ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไปความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ถนนในย่านเมืองเก่า ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยของกฎระเบียบภายในพื้นที่เมืองเก่า ปรากฎการณ์ของเจนตริฟิเคชัน (gentrification) รวมทั้งการมาถึงของโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่ใช้แนวคิดการพัฒนาเมืองโดยอาศัยสถานีรถไฟฟ้าเป็นจุดศูนย์กลาง คือโครงการการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าหรือทีโอดี (Transit Oriented Development : TOD) มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่ช่วยให้คนหันมาใช้รถน้อยลงในการเดินทาง เพิ่มการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ส่งเสริมการเดินและใช้จักรยาน จากการศึกษาพื้นที่โดยรอบสามสถานีรถไฟฟ้า ได้แก่ สนามไชย สามยอด และวัดมังกร  พบรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนนในทางกายภาพอย่างเดียว 2) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม และ 3) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เชิงโครงสร้างให้กลายเป็นอาคารสถานีรถไฟฟ้าและอาคารระบายอากาศ (IVS: intervention station)  ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบหลักๆ ได้แก่ ปัจจัยข้อกำหนดต่างๆในเกาะรัตนโกสินทร์ และปัจจัยจากสถานีรถไฟฟ้าและทีโอดี  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนนที่มีผลมาจากปัจจัยเจนตริฟิเคชัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทั้งรูปแบบอาคาร ที่มีผลมาจากการก่อสร้างบนพื้นที่เดิม และกิจกรรมภายในพื้นที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบอาคาร ที่ว่าง และกิจกรรม
Other Abstract: Indeed, the streetscape of a city holds great significance in defining its character. It provides valuable insights into the living conditions, way of life, and cultural aspects of its inhabitants. This holds true for Siam, which was known as the Venice of the East. Since the Bowring Treaty in 1856, roads have played a pivotal role in driving the domestic economy. The inclusion of historical buildings and trees as prominent elements in the streetscape further adds to the city's charm and heritage historical buildings, trees, sidewalks, spaces, community activities, etc. Over time, changes in the streetscape in the Old Town were caused by regulatory factors within the Old Town area. The phenomenon of gentrification  including the arrival of Mass Transit project which the MRT Blue Line Project Hua Lamphong - Bang Khae It comes with the concept of urban development based on the MRT station as the center. This concept focuses on developing the areas surrounding MRT stations, with the aim of creating a more integrated and convenient urban environment can be identified to help achieve the main aim of promoting the use of public transportation and encouraging walking and cycling. From the study of  streetscape changes, categorized into three patterns. The first pattern involves only physical streetscape changes. This could refer to modifications in the physical appearance or layout of the roads, such as repaving, widening, or adding new features. The second pattern suggests that the physical changes in the area are a result of activity change. This could mean that the transformation of the road landscape is influenced by changes in the activities taking place in the surrounding area. The third pattern indicates the structural conversion of the site into an Intervention Station (IVS) building. Indeed, various factors can have both positive and negative effects on Rattanakosin Island, including regulatory factors, MRT stations, and  TOD. Gentrification is one such factor that can bring about physical changes in the building style. Construction activities in the area and the introduction of new activities can also lead to changes in the streetscape, building layout, available space, and overall activities within the area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82750
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.726
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.726
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270051025.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.