Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8294
Title: โครงการ ชุดฝึกผ่าตัดผ่านวีดีทัศน์ : รายงาน
Other Titles: Chula laparoscopic training kit
ชุดฝึกผ่าตัดผ่านวีดีทัศน์
Authors: อภิรักษ์ สันติงามกุล
สุพจน์ รัชชานนท์
ชนธีร์ บุณยะรัตเวช
บัญญัติ แววขำ
Email: apirak99@hotmail.com
rsupoij@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ศัลยกรรมส่องกล้อง
ช่องท้อง -- ศัลยกรรมส่องกล้อง
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หลักการและเหตุผล การผ่าตัดผ่านช่องท้องโดยใช้กล้องวีดีทัศน์ (Laparoscopic Surgery) เป็นการผ่าตัดซึ่งนิยมแพร่หลายมากขึ้นในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ยังผลให้แพทย์รุ่นใหม่ยากที่จะเริ่มและทำได้ ในผู้ป่วยเนื่องจากขาดชุดฝึกหัดที่ดีในราคาเหมาะสม จึงได้มีแนวคิดที่จะประดิษฐ์ชุดฝึกหัดการผ่าตัดดังกล่าวที่มีคุณภาพดี ราคาถูกและสามารถใช้งานได้จริง วิธีการ 1. จัดทำกล่องไม้ขนาด 44 ซ.ม. x 50 ซ.ม. x 25 ซ.ม. โดยด้านบนเจาะเป็นช่องและติดยางเพื่อให้เครื่องมือเจาะผ่าน ด้านบนสามารถเปิดออกได้ง่ายเพื่อใช้ในการเปลี่ยนแบบเรียนสำหรับอุปกรณ์รับภาพใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดยี่ห้อ Fujiko รุ่น FK 624 ccd ของ Sony เลนส์ 4 mm. โดยต่อสัญญาณรับภาพออกไปยังโทรทัศน์ขนาด 21 นิ้ว 2. จัดทำแบบเรียนเพื่อใช้ฝึกผ่าตัด 3. จัดซื้อเครื่องมือเพื่อใช้ในการฝึกผ่าตัด ผลลัพธ์ หลังจากประกอบกล่องไม้และติดกล้องวงจรปิด ได้มีการปรับปรุงตำแหน่งไฟและทิศทางของแสง รวมทั้งเปลี่ยนเลนส์จากเดิมใช้ขนาด 6 มม. เป็น 4 มม. พบว่าคุณภาพของภาพที่ได้เป็นที่น่าพอใช้ ต่อมาได้คิดแบบเรียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับแพทย์ เพื่อฝึกหัดผ่าตัดทุกระดับ ตั้งแต่ยังไม่มีประสบการณ์จนถึงหัตการขึ้นสูง ได้แก่การฝึกผูกและเย็บในรูปแบบต่างๆ สรุป ชุดฝึกผ่าตัดผ่านวีดีทัศน์ สามารถทำสำเร็จจนเป็นที่น่าพอใจ และลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเครื่องมือราคาแพงจากต่างประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท
Other Abstract: Introduction & Objective: Since the mid-1990s, there has been an evolution in surgical practice from traditional open approaches toward minimally invasive means of treating operative lesions. Laparoscopic surgery is one of the most acceptable approaches for the urological diseases. Concerning the educational cost, the newcomer surgeons still lack of the reasonable instruments to practice. We tried to improve our training in this field by inventing the most cost-effectiveness laparoscopic training kit. Material & Methods: 1. To design a box, 45x50x25 cm size, covering by the abdominal shape model on top and making the holes plug with rubber for instrumental insertion. We use Closed Circuit Television (CCTV) camera to capture the motion pictures and send to the 21 inches television. 2. To create the appropriated lessons for this training kit. 3. To find the common-use instruments for this kit that match to the lessons we designed. Results: After we finished the kit, we have modified several points including the direction of lighting and changing the CCTV camera lens to be more wide-angle. We found that the pictures from the camera were clear enough for training. Then we designed the lessons to suit the surgical skill of each level of medical students. Besides, even the medical staffs can use this training kit to practice more difficult skills such as suturing or knotting for more advanced laparoscopic surgery. Conclusion: Chulalongkorn Laparoscopic Training Kit is simple and effective. It can be used like other imported training kits but the price is far less.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8294
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apirak_sa.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.