Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8394
Title: การใช้หลักการย้อนยุคในงานออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาสถาบัน
Other Titles: The use of retro principles in print corporate advertising
Authors: ชัยวัฒน์ เสริมสุธีอนุวัฒน์
Advisors: วิไล อัศวเดชศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wilai.A@chula.ac.th
Subjects: โฆษณาสถาบัน
โฆษณาสถาบัน -- การออกแบบ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาที่มาของหลักการย้อนยุคในงานออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาสถาบัน และศึกษาหารูปแบบการนำเสนอภาพจากหลักการย้อนยุคในงานออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาสถาบัน งานวิจัยได้ศึกษารวบรวมแนวคิดย้อนยุคที่มีการกล่าวถึงจากหลายๆ แหล่ง ทั้งจากข้อมูลที่เป็นเอกสารที่มีการบันทึกไว้และจากการสัมภาษณ์ นำข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์จัดทำแบบสอบถาม โดยในการจัดแบบสอบถามครั้งแรกนั้นเป็นไปเพื่อ การคัดแยกภาพโฆษณาสถาบันที่มีการใช้หลักการย้อนยุคออกจากภาพโฆษณาอื่นๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนนี้ได้คัดแยกภาพตัวอย่างจาก 479 ชิ้น เหลือ 133 ชิ้น จากนั้นนำภาพตัวอย่างที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไปจัดสร้างแบบสอบถาม 2 ชุด เพื่อการหาคำตอบที่แตกต่างกันคือ แบบสอบถามการหาที่มาของหลักการย้อนยุคในงานออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาสถาบัน กรอกแบบสอบถาม โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ และแบบสอบถามหารรูปแบบการนำเสนอภาพ จากหลักการย้อนยุคในงานออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาสถาบัน กรอกแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัยพบว่า 1. ที่มาของหลัการย้อนยุคในงานออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาสถาบันที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 1) การหวนให้คิดถึงอดีต 2) การให้ความสนใจกับศิลปะ 3) ดนตรีและการศึกษาเชิงประวัติศาตร์ 4) กระแสอนุรักษ์ทรัพยากรและการกลับไปสู่ธรรมชาติ 5) ความเป็นต้นฉบับ งานทำมือ พบการใช้น้อยที่สุด ตามลำดับ 2. รูปแบบการนำเสนอภาพจากหลักการย้อนยุคในงานออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาสถาบัน ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 1) กลุ่มของภาพที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้เทคนิคพิเศษ 2) กลุ่มของภาพที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ทัศนศิลป์ ลัทธิศิลปะ 3) กลุ่มของภาพที่ให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นๆ 4) กลุ่มของภาพที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ มุมมอง 5) กลุ่มของภาพที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้มุขตลก พบการใช้น้อยที่สุด ตามลำดับ
Other Abstract: To find the origin of the use of retro principles in print corporate, and to look for its presentation. This research is a gather of many different ideas from different sources, whether from existing documents or interviews. This informative collection has been analysed and developed for questionnaires. First questionaire was made to separate each advertisement on different sections, based on the retro theory, evaluated by authorites and professionals. This process has cropped out example pictures from 479 pieces to 133 piecess. After then, the rest examples were collected and developed for another two questionaires for two different reasons which are 1) questionaires for the the origin of the the use of retro principles in print corporate, evaluated by ancient art and history experts 2) questionaires for the presentation of the use of retro principles in print corporate, evaluated by professionals of design. The results of the research's analysis have concluded that 1. The origin of the use of retro principles in print corporate which are commonly used are 1) Nostalgia 2) Art 3) Music and history 4) Natural conservation 5) Original/handmade/homemade, rated most use to least use as in order. 2. The common presentation of the use of retro principles in print corporate are 1) Gallery of special technique 2) The reflections of visual art and artism 3) Gallery of other criterias 4) Gallery of perspectivism 5) Humurous gallery, rated most use to least use as in order.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8394
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.892
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.892
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiwath.pdf8.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.