Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/853
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ พนัสพัฒนา-
dc.contributor.advisorจักรกฤษณ์ เจนเจษฎา-
dc.contributor.authorอดิจิตร บุญจรัส, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-18T12:23:07Z-
dc.date.available2006-07-18T12:23:07Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745310875-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/853-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractศิลปะสิทธิเป็นสิทธิของศิลปินที่จะได้รับส่วนแบ่งจากการขายงานศิลปกรรมต้นฉบับในครั้งต่อๆ ไปต่อจากการโอนขายครั้งแรก อันเป็นสิทธิทางเศรษฐกิจประการหนึ่งของผู้สร้างสรรค์ที่ควรบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นหรือสืบเนื่องจากการให้ความคุ้มครองศิลปะสิทธิในประเทศไทย เพื่อประโยชน์ต่อการเสนอแนะแนวทางในการบัญญัติกฎหมายออกมารองรับต่อไป จากการศึกษาพบว่า การให้ความคุ้มครองศิลปะสิทธิในประเทศไทยจำต้องพิจารณาปัญหาสำคัญในประเด็นต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาเบื้องต้นในการพิจารณาความเป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปกรรม ปัญหาลักษณะของสิทธิที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าสิทธิ ปัญหาขอบเขตของการให้ความคุ้มครอง เช่น ประเภทของงานและธุรกรรมการขายที่ถูกจัดเก็บค่าสิทธิ ปัญหาในเรื่องกระบวนการจัดเก็บค่าสิทธิ เช่น อัตราการจัดเก็บรูปแบบขององค์กรจัดเก็บ การแบ่งสรรค่าสิทธิและกำหนดเวลาใช้สิทธิเรียกร้อง การติดตามตรวจสอบกรณีการซื้อขายงานผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาในการให้ความคุ้มครองศิลปินในทางระหว่างประเทศ รวมถึงปัญหาอื่น ๆ เช่น ปัญหาการใช้เช่างานศิลปกรรม ปัญหาทางด้านศิลปินผู้สร้างสรรค์งานทางด้านหอศิลป์ และปัญหาบริบทโดยรวม จากปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางในการให้ความคุ้มครองศิลปสิทธิในประเทศไทย ดังนี้คือ ควรกำหนดให้ศิลปะสิทธิเป็นสิทธิที่ไม่อาจโอนได้และห้ามมิให้มีการสละสิทธิ การให้ความคุ้มครองควรครอบคลุมถึงงานศิลปกรรมต้นฉบับประเภทวิจิตรศิลป์ โดยจัดเก็บจากการขายต่อสาธารณะทุกประเภทที่มีผู้มีวิขาชีพค้างานศิลปะร่วมอยู่ด้วย ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาขายรวม และควรดำเนินการจัดเก็บโดยองค์กรเอกชนของศิลปินที่เป็นองค์กรจัดเก็บกลางที่ไม่แสวงหากำไร มีการให้สิทธิในการรับทราบข้อมูลการขายแก่ศิลปินโดยใช้สิทธิผ่านทางองค์กรจัดเก็บ และกำหนดหน้าที่ผูกพันทางกฎหมายให้ผู้ค้างานต้องแจ้งข้อมูลการขายให้ทราบ โดยมีสภาพบังคับทางกฎหมายที่เหมาะสม อีกทั้งควรมีการแบ่งสรรค่าสิทธิบางส่วนให้แก่กองทุนทางศิลปะและมีการกำหนดเวลาใช้สิทธิเรียกร้องที่ชัดเจน ทั้งนี้ ควรประกอบการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ศิลปินและสร้างจิตสำนึกแก่ผู้ประกอบธุรกิจค้างานศิลปะ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง การปรับโครงสร้างของระบบค้างานและระบบของตลาดศิลปะควบคู่กันไป เพื่อรองรับต่อการมีกฎหมายศิลปสิทธิให้สามารถดำเนินการปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อศิลปินได้อย่างแท้จริงen
dc.description.abstractalternativeArtists resale right (Droit de suite) is the night of an artist to receive a percentage from any resale of the original work of art, subsequent to the first transfer which is one of the authors economic rights that should be provided in the Copyright Act B.E. 2537. Consequently, this research aims to study the problems that will occur or result from the protection of droit de suite in Thailand in order to recommend and be guidelines for enachment in the future. From this research, it is found that to protect droit de suite in Thailand. We shall conside the important problems in various issues; such as the preliminary problems of considering the authorship of work of art, issues of the nature of night related to the person entitled to receive royalties, scope of protection; such as the rate, model of the collecting society, the distribution and duration of claim, problem of following-up the sales by e-commerce, issue of international protection including other problems; such as problem related to renting works of art, issues related to artist and galleries. From the said problems, the researcher would like to recommend the guidelines to protect droit de suite in Thailand; that is, it should be an inalienable right and non- waivable. It should cover the original of work of fine art by collecting from all acts of resale with the participation of an art market professional at 5% of gross sale price and should collect by the central collecting society of artists that is a non-profit organization. To provide the artists right to information be asserted by the collecting society and require the sellers their legal obligation to report the statement of the sales with the proper sanctions. Moreover, the collecting society should distribute a part of royalty fee to the art fund. The duration of claim should be fixed by law clearly. Legal knowledge on IP laws should be given to artists and art market professional together with cooperation from government and private sector. Finally, art trading system and art market should be reformed in order to respond artists resale rights.en
dc.format.extent1286907 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกฎหมายกับศิลปกรรมen
dc.subjectลิขสิทธิ์--ศิลปกรรมen
dc.titleการคุ้มครองศิลปสิทธิในประเทศไทยen
dc.title.alternativeProtection of droit de suite in Thailanden
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adijit.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.