Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/859
Title: การดำเนินคดีแบบกลุ่มคดีสิ่งแวดล้อม
Other Titles: Class action for environmental case
Authors: น้ำแท้ มีบุญสล้าง
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
พงษ์เดช วานิชกิตติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: การฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคล
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาถึงรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่ปรากฏในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย Civil Law เช่นประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมัน เพื่อศึกษาว่าสามารถนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่และควรมีรูปแบบเป็นอย่างไรโดยมุ่งศึกษาในประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมว่ามีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร หากมีการนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่ม มาปรับใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมจะต้องปรับเปลี่ยนหลักการและแนวความคิดอะไรบ้างและจะต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร จากการศึกษาพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีการบัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บัญญัติเป็นการทั่วไปคือ Federal Rule of Civil Procedure หรือ FRCP สามารถนำไปปรับใช้กับคดีแพ่งทุกประเภทซึ่ง FRCP ได้กำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นที่สำคัญในการร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ส่วนประเทศในกลุ่มที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) พบว่าได้บัญญัติการดำเนินคดีแบบกลุ่มไว้เป็นกฎหมายเฉพาะและกำหนดเงื่อนไขการดำเนินคดีแบบกลุ่มไว้เป็นการเฉพาะแต่ละเรื่องไป การวิเคราะห์การนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมพบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก มีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเป็นอย่างเดียวกัน ข้อเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้แทนคดีเป็นอย่างเดียวกับสมาชิกเมื่อพิจารณาลักษณะพิเศษเฉพาะคดีสิ่งแวดล้อมปรากฏว่ามีเงื่อนไขที่ครบองค์ประกอบสามารถที่จะดำเนินคดีแบบกลุ่มได้และสอดคล้องกับสมมติฐานของวิทยานิพนธ์ แต่เนื่องจากคดีสิ่งแวดล้อมมีปรัชญาและแนวความคิดในการดำเนินคดีที่แตกต่างจากคดีแพ่งทั่วไป เช่น มุ่งเน้นการป้องกันยิ่งกว่าการแก้ไข, สิทธิในสิ่งแวดล้อม, มีวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่าการชดใช้เยียวยาให้กลับคืนสู่สถานะเดิม เป็นต้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้รับรองหลักการในเรื่องสิทธิในสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับ, นำทฤษฎีเรื่องความน่าจะเป็นมาปรับใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมเสริมควบคู่กับหลักความรับผิดเด็ดขาด, นำหลักคำพิพากษาผูกพันการกระทำมาแทนที่หลักคำพิพากษาผูกพันคู่ความและควรบัญญัติให้การดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นกฎหมายวิธีพิจารณาเฉพาะคดีสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับประเทศในกลุ่ม ...ที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายซึ่งจะสามารถลดปริมาณคดีสู่ศาลและสามารถนำปรัชญาและแนวความคิดที่มีลักษณะเป็นการเฉพาะของคดีสิ่งแวดล้อมมาบัญญัติเป็นหมวดหมู่สะดวกต่อการทำความเข้าใจการบังคับใช้ของเจ้าพนักงานผู้เกี่ยวข้องและส่งผลดีต่อการพัฒนากฎหมายสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยต่อไป
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the concept of the class action in common and civil law system for applying to the environmental litigation. In American law system, class action is a part of Federal Rule of Civil Procedure (FRCP) that can be used for general litigation while in civil law system, it is enacted in each specific acts. The analysis of adaptation of the class action to environmental case found that there are four prerequisites in FRCP. First, the class has to be so numerous that joinder for all members is impracticable. Second, there are questions of law or fact common to the class. Third, the claims or defenses of the representative parties and typical of the claims or defenses of the class and the last, the representative parties will fairly and adequately protect the interest of the class. These prerequisites are consider to match for the character of the environmental case. Because of the difference in philosophical aspects of litigation between environmental case and general civilcase for instance environmental right, population cooperation, compensation proof, objective of environmental recovery etc. The current procedure has to be adapted to cope with the unique characteristic of the environmental case. I would live to recommend adaptation of class action to environmental case as follows:1) The environmental right should be substantiated to be substantive statute. 2) Probability theory should be used to support the strict liability theory. 3) The binding of judgement should be changed from the enforcement among parties to the enforcement against the conduct of defendant. 4) The principle of environmental class action should be enacted as specific acts. These fulfillment should play the significant role in developing environmental law in the long run.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/859
ISBN: 9741771916
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Namtaee.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.