Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/877
Title: การสื่อสารต่างวัฒนธรรมและทัศนคติของคู่สมรสไทย-อเมริกัน เกี่ยวกับบทบาทของครอบครัวและเครือญาติในชีวิตสมรส
Other Titles: Intercultural communication and the attitude of Thai- American couples towards family and in-laws
Authors: นิลอุบล บัวงาม, 2517-
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Orawan.P@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารในครอบครัว
คู่สมรส
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ครอบครัว
เครือญาติ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาทัศนคติที่คู่สมรสไทย-อเมริกันมีต่อครอบครัวและเครือญาติทั้งสองฝ่าย วิธีการสื่อสารระหว่างคู่สมรสเมื่อต้องสื่อสารกันในเรื่องที่เกี่ยวกับ ครอบครัวและครือญาติ และสำรวจหาตัวแปรที่มีผลต่อทัศนคติที่คู่สมรสมีต่อบทบาท ของครอบครัวและเครือญาติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยด้านการสื่อสารในครอบครัว ผนวกกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการใช้แบบสอบถามกับคู่สมรสไทย-อเมริกัน ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวน 40 คู่ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. คู่สมรสไทย-อเมริกัน ส่วนใหญ่นิยามคำว่าครอบครัวและเครือญาติตนเองว่า หมายถึง บิดามารดาของตนเอง และนิยามครอบครัวและเครือญาติของคู่สมรสว่าหมายถึง บิดามารดาของคู่สมรส 2. คู่สมรสไทย-อเมริกัน ส่วนใหญ่ต้องการให้ครอบครัวของตนให้คำแนะนำ ในขณะที่ต้องการให้ครอบครัวของคู่สมรสยอมรับตนเอง เป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว 3. ครอบครัวและเครือญาติของคู่สมรสไทย-อเมริกันส่วนใหญ่นั้น มีบทบาทในการให้การยอมรับในการสมรสและตัวเขย-สะใภ้ 4. คู่สมรสไทย-อเมริกันส่วนใหญ่ มีความรู้สึกพอใจกับบทบาทของครอบครัวและเครือญาติของตนเอง และรู้สึกยอมรับได้กับบทบาทของครอบครัวและเครือญาติของคู่สมรส 5.คู่สมรสฝ่ายไทยส่วนใหญ่สื่อสารแบบอ้อม เมื่อต้องสื่อสารถึงความรู้สึกในทางลบที่มีต่อ ครอบครัวคู่สมรส ให้คู่สมรสของตนรับรู้ ในขณะที่ฝ่ายอเมริกันสื่อสารแบบตรงไปตรงมา 6. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติที่คู่สมรส มีต่อบทบาทของครอบครัวและเครือญาติ คือ อายุ อายุสมรส การสื่อสารระหว่างคู่สมรส ระยะห่างในการพักอาศัย ความสามารถทางภาษา วัฒนธรรม ตลอดจนบุคลิกส่วนบุคคล
Other Abstract: Focused on Thai American marriage relationships in order to highlight the attitudes of the couples toward their family and in-laws. Also this study was aimed to investigate the couples' communication behavior concerning the issues of family and in-laws. This research was a family communication research combined with intercultural communication research with 2 main tools, in-depth interview and questionnaire. Data was collected by way of snowball random sampling numbering of 40 Thai-American couples living in Thailand. The results of this research were as follows : 1. The majority of Thai-American couples defined the word "Family of origin" as their parents and defined the word "In-laws" as their spouse's parents. 2. Thai-American couples expected their family to give them some useful advices and expected their in-laws to accept them and treat them as a family member. 3. Thai-American couples perceived the role of family and in-laws as the person who approved their marriages and accepted their spouse as one of the family members. 4. Thai-American couples felt satisfied with the present roles of their family and felt OK with the roles of their in-laws. 5. The Thais tended to use an indirect communication in order to communicate with their spouse about their negative feelings toward their in- laws, while the Americans used a direct communication. 6. The factors affecting the Thai-American couples' attitudes towards family and in-laws were age, length of marriage, communication behavior, proximity of residence, language, knowledge of Thai-American culture and individual's personality
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/877
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.539
ISBN: 9741730063
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.539
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ninubon.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.