Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9045
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐานิศวร์ เจริญพงศ์-
dc.contributor.advisorกวีไกร ศรีหิรัญ-
dc.contributor.authorศตวรรษ บูรณศิลปิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-06-11T09:18:31Z-
dc.date.available2009-06-11T09:18:31Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743463275-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9045-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้เป็นการค้นหาวิธีการในการสร้างความต่อเนื่องระหว่างรูปทรงในสถาปัตยกรรมโดยอาศัยความสามารถในการเปลี่ยนแปลงโดยวิธีการ Morphing ภายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิจัยเริ่มต้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญและความเป็นมาของความต่อเนื่องทางรูปทรงของอาคารที่อยู่ใกล้เคียงกัน ได้พบตัวแปรที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างอาคารทั้งหมด 15 ตัวแปร จากนั้นจึงนำตัวแปรที่ได้มาทดสอบกับตัวอย่างอาคารจากหนังสือ Architecture in Context (Brolin, 1980) เพื่อค้นหาว่าตัวแปรใดมีความสำคัญสมควรนำมาเป็นตัวแปรสำหรับการทดลอง สรุปลำดับความสำคัญเรียงจากตัวแปรที่พบมากไปน้อยได้ดังนี้ 1. การวางในทิศทางเดียวกัน 2. ความคล้ายกันของรูปร่าง องค์ประกอบ 3. ความคล้ายกันของรูปร่างอาคาร การอ้างอิงต่อแกนหลักเดียวกัน จังหวะลีลาต่อเนื่องกัน 4. ความใกล้เคียงของขนาดอาคาร ความคล้ายกันของสีและผิวสัมผัส 5. ความใกล้เคียงกันของขนาดองค์ประกอบ ความใกล้เคียงของระดับความสูงองค์ประกอบ 6. การทำให้เกิดลำดับความสำคัญทางตำแหน่ง ความต่อเนื่องของสัดส่วน 7. ความใกล้เคียงกันของระดับความสูงอาคาร การทำให้เกิดลำดับความสำคัญทางขนาด 8. การทำให้เกิดลำดับความสำคัญทางรูปร่าง 9. ความใกล้ของการวางตำแหน่ง การทดลองเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Elastic Reality ทำการเปลี่ยนแปลงรูปด้านอาคารโดยวิธี Morphing และ Warping ตามตัวแปรที่ศึกษาไว้เบื้องต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มอาคารบนถนนแพร่งนารา, แพร่งภูธร, และถนนจักรวรรษ ซึ่งอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ เนื่องจากการสำรวจพบว่ากลุ่มอาคารในบริเวณดังกล่าวเป็นอาคารที่สร้างขึ้นในยุคสมัยที่แตกต่างกัน จึงมีความไม่ต่อเนื่องทางรูปทรงที่สังเกตได้ค่อนข้างชัดเจนซึ่งเหมาะสมที่นำมาเป็นตัวอย่างในการสร้างความต่อเนื่องระหว่างรูปทรง ผลที่ได้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวิธีการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ (Morphing หรือ Warping) ส่วนใหญ่จะมีผลคล้ายกันแต่จะมีความแตกต่างในตัวแปรที่อยู่ในหัวข้อความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่วิธีการ Warping แสดงการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความต่อเนื่องได้ชัดเจนกว่า ส่วนที่สองเป็นข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ได้แก่ การเลือกอาคาร, การเลือกตัวแปร, การเลือกวิธีในการสร้างการเปลี่ยนแปลง, การเลือกภาพที่ได้, และข้อควรระวังen
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to find methods for creating continuity in architectural form, base on computer morphing and warping technique. In literature review, the study of significance and historical aspects of continuity in architecture has found 15 variables which produce the perception of continuity in architectural form. To find which variables are more essential, the variables were compared to the analysis of old buildings in the book "Architecture in context" (Brolin, 1980). The outcomes are weigthing of importance among the concerned variables, ranging from the most effective ones. The order is 1.) Orientation 2.) Element shape 3.) Building shape, axis, rhythm 4.) Building size colors and textures 5.) Element size, element height 6.) Hierarchy of position, proportion 7.) Building height, hierarchy of size 8.) Hierarchy of shape 9.) Proximity. The sample buildings were chosen from the group of buildings on Prang Nara, Prang Phutorn and Chackawad road, which located inside the older section of Bangkok. These buildings have been built in various styles making them good examples of discontinuity in building form. Using morphing and warping technics of Elastic Reality software, the experiment shows the sequential transformation of the building facade from their originals to conform to that of the adjacent ones. By these technics, designers could analyze the degree of change and conformity appeared at a certain transformation step to help them design an infill building in such a circumstance. Conclusions are separated in two parts. The first is the comparison of results of the transformation made by morphing and warping. Most of the results between two methods are similar, but the transformation of variables in element relation, warping has shown more noticeable result. The second is the suggestion for the further use of the thesis, which how to choose the building, variables, technique, result, and caution.en
dc.format.extent3677840 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.143-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการออกแบบสถาปัตยกรรมen
dc.subjectสถาปัตยกรรม -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์en
dc.titleการใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ความต่อเนื่องของรูปทรงในสถาปัตยกรรมen
dc.title.alternativeThe use of computer generation for creating continuity in architectural formen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTanit.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorskaweekr@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.143-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Satawat.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.