Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/910
Title: ระดับของการกล่าวอ้าง และประสิทธิผลของการโฆษณา
Other Titles: Level of claims and advertising effectiveness
Authors: รัตจันทร์ งามเอก, 2521-
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
Subjects: โฆษณา
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้การกล่าวอ้างโฆษณาต่างระดับ คือ การกล่าวอ้างโฆษณาแบบข้อเท็จจริง (Factual) การกล่าวอ้างเกินจริงเล็กน้อย (Slightly Exaggerate) และเกินจริงไปมาก (Extremely Exaggerate) ที่มีต่อความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อโฆษณา ความน่าเชื่อถือของโฆษณา และความตั้งใจซื้อสินค้าที่โฆษณาของผู้บริโภค โดยมีสมมติฐาน ดังนี้ 1. โฆษณาที่มีการกล่าวอ้างต่างระดับกันจะมีประสิทธิผลด้านความคิดเห็นต่อโฆษณาของ ผู้บริโภคต่างกัน 2. โฆษณาที่มีการกล่าวอ้างต่างระดับกันจะมีประสิทธิผลด้านความน่าเชื่อถือของโฆษณาต่างกัน 3. โฆษณาที่มีการกล่าวอ้างต่างระดับกันจะมีประสิทธิผลให้ผู้บริโภคเกิดความตั้งใจซื้อสินค้า ต่างกัน การศึกษาจากผู้เข้ารับการทดลองจำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับชมโฆษณาแบบข้อเท็จจริง กลุ่มที่รับชมโฆษณาที่มีคำกล่าวอ้างเกินจริงเล็กน้อย และกลุ่มที่รับชมโฆษณาที่มีคำกล่าวอ้างเกินจริงไปมาก โดยใช้โฆษณาที่เป็นสินค้าเดียวกัน เมื่อชมแล้วจึงให้ผู้เข้าทดลองตอบแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ผลกระทำโดยวิธี One way ANOVA พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ คือ ประสิทธิผลด้านความคิดเห็นต่อโฆษณาของผู้บริโภค และความน่าเชื่อถือของโฆษณา ของการกล่าวอ้างเกินจริงเล็กน้อยจะให้ผลที่ไม่แตกต่างจากการกล่าวอ้างแบบข้อเท็จจริง แต่การกล่าวอ้างทั้งสองแบบจะมีประสิทธิผลสูงกว่าการกล่าวอ้างเกินจริงไปมาก นอกจากนี้ การกล่าวอ้างเกินจริงเล็กน้อยจะมีประสิทธิผลในด้านความตั้งใจซื้อสินค้าสูงกว่าการกล่าวอ้างแบบข้อเท็จจริงและการกล่าวอ้างเกินจริงไปมาก และการกล่าวอ้างแบบข้อเท็จจริง จะมีประสิทธิผลสูงกว่าการกล่าวอ้างแบบเกินจริงไปมากด้วย
Other Abstract: The purpose of this experimental research is to study the effectiveness of different levels of advertising claims: factual claims, slightly exaggerate claims, and extremely exaggerate claims in terms of opinion toward advertisement, believability and consumerʼs intention to buy. The hypotheses are: 1. Different levels of advertising claims will lead to different levels of opinion toward advertisement among experimental ad viewers. 2. Different levels of advertising claims will lead to different levels of believability among experimental ad viewers. 3. Different levels of advertising claims will lead to different levels of intention to buy among experimental ad viewers. The experiment was conducted to a sample of 60 subjects, randomly assigned into 3 groups: a group exposed to factual claim, slightly exaggerate claim and extremely exaggerate claim. According to the One way ANOVA statistical analysis, significant differences are found. Results show that, in terms of opinion toward advertisement and believability, slightly exaggerate claim is not different from factual claim, however, both types of claims have higher effectiveness over extremely exaggerate claim. In terms of intention to buy, slightly exaggerate claim is the most effective claim among them all, while factual claim is more effective than extremely exaggerate claim.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/910
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.455
ISBN: 9741702345
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.455
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratchan.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.