Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9286
Title: บทบาทของสมาคมเอเซียใต้เพื่อความร่วมมือในภูมิภาค ภายหลังสงครามเย็น (1990-1998) : ศึกษาความร่วมมือของประเทศสมาชิก
Other Titles: The roles of the South Asian Association for regional cooperation after the cold war (1990-1998) : A study of cooperation among the member states
Authors: ชวลิต ชวลิตพงศ์พันธุ์
Advisors: สมพงศ์ ชูมาก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค
เขตการค้าเสรีเอเชียใต้
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาบทบาทของสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือในภูมิภาค (The South Asian Association for Regional Cooperation-SAARC) เกี่ยวกับความร่วมมือของประเทศสมาชิกพบว่า ประเทศเหล่านี้มักมีปัญหาความขัดแย้ง โดยมีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก และทำให้เกิดความขัดแย้งที่สำคัญได้แก่ ความขัดแย้งภายในรัฐที่เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธ์ ภาษา ศาสนาข้ามพรมแดน การใช้ทรัพยากรน้ำและแม่น้ำร่วมกัน ข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนจากยุคอาณานิคม ปัญหาการสร้างดุลแห่งอำนาจและการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค อันเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน แต่ก็ได้เกิดความพยายามที่จะประสานผลประโยชน์ และร่วมมือกันในขอบเขตที่เป็นไปได้ จากการก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือในภูมิภาค (SAARC) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1985 ซึ่งได้ก่อให้เกิดความร่วมมือในด้านต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามความขัดแย้งที่มีมาแต่อดีตยังไม่หมดลง และได้ทำให้ SAARC ซึ่งเป็นกลไกความร่วมมือในภูมิภาคประสบปัญหา จนทำให้ถูกมองว่าไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ SAARC ได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงของสงครามเย็น และได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันอันเป็นช่วงหลังสงครามเย็น ปรากฏว่าองค์การได้เข้ามามีบทบาทความร่วมมือ ภายในภูมิภาคทางด้านเศรษฐกิจ การค้า ด้วยการส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาค และให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมากขึ้น จนนำไปสู่การรวมกลุ่มกันเป็นเขตการค้าเสรีเอเชียใต้ (South Asian Free Trade Area-SAFTA) นอกจากนี้ SAARC ยังมีบทบาทที่แสดงถึงความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกภายนอกภูมิภาค ด้วยการมีจุดยืนร่วมกันในการกระทำใดๆ อันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทั้งมวลของสมาชิก และ SAARC ยังแสดงบทบาทในการเป็นตัวแทนของสมาชิก ร่วมมือกับองค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศต่างๆ จะเห็นได้ว่าประเทศสมาชิก SAARC ต่างได้ตระหนักในบทบาทของ SAARC ที่เพิ่มขึ้นในฐานะเป็นองค์การระดับภูมิภาค ถึงแม้ว่าจะยังมีความร่วมมือบางด้านที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การกำจัดความยากจน การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการต่อต้านการค้ายาเสพติดและการก่อการร้าย จากการศึกษาสรุปได้ว่าการดำเนินการของ SAARC สามารถดำเนินการต่อไปได้และประสบความสำเร็จ ในขอบเขตความร่วมมือในระดับหนึ่งแล้ว นั่นคือความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และความร่วมมือในกรอบของการค้าเสรีภายในภูมิภาคเอเชียใต้ ตลอดจนความร่วมมือในการแสดงจุดยืนร่วมกันในเวทีระหว่างประเทศ และความร่วมมือกับองค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ทำให้ SAARC ยังดำเนินการอยู่และพัฒนาความร่วมมือขององค์การต่อไปได้
Other Abstract: The study concentrates on the roles of the South Asian Association for Regional Cooperation (SAARC) after the cold war (1990-1998) relating to cooperation among the member states. It appears that these states generally had conflicts which the causes often resulted from internal and external factors. The vital conflicts were internal issues relating to ethno-linguistic and religious groups with cross border affiliation; territorial disputes inherited from the colonial past; the sharing of the water resources of common rivers; the balance of power and the proliferation of nuclear weapons in the subcontinent. These problems were very complex yet there were some efforts to coordinate common interest and cooperate in possible areas. Therefore, the establishment of SAARC on December 8th, 1985 provided many areas of cooperation. Yet many conflicts in the past still existed and affected the SAARC's cooperation process and organization's survival. SAARC was formed during the cold war era and still exists today. Its present existence demonstrates that SAARC is an important organization in the region professing roles in the trade and economic areas. It increasingly promotes trade and economic cooperation among member states. Eventually it created the South Asian Free Trade Area (SAFTA). Besides, SAARC member states have positioned themselves into a collective body of common interests and at the same time SAARC also cooperates with other international organizations and institutions. Member states are convinced that SAARC's roles have increased and now it becomes a regional organization. However some areas of cooperation do not progress, such as poverty eradication, environmental and natural resources development, human rights protection and the combating against drug trafficking abuse and terrorism. In conclusion, this study shows that SAARC can move on and there is a certain level of success in trade and economic cooperation and in the South Asian Free Trade Area framework. Member states have also created a common position in the international platform, and it also interacts and cooperates with other international organizations and institutions. At the same time these cooperations can ensure SAARC's existence and develop its cooperation further
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9286
ISBN: 9743470751
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chavalit.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.