Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9331
Title: ปัญหาความเครียดภายในครอบครัวและวิธีจัดการกับปัญหาของวัยรุ่น ที่อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูเพียงคนเดียว และครอบครัวปกติ : ศึกษาในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Family stress and coping style of mattayom 5 students from single parent families and normal families in Bangkok Metropolis
Authors: ตรีนุช ธงไชย
Advisors: อุมาพร ตรังคสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Umaporn.Tr@Chula.ac.th
Subjects: ครอบครัว
ความเครียด (จิตวิทยา)
วัยรุ่น
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาความเครียดภายในครอบครัว และวิธีที่วัยรุ่นจัดการกับปัญหาดังกล่าว ในวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อแม่เลี้ยงดูเพียงคนเดียว และวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวปกติ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูเพียงคนเดียว 79 คน และวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวปกติ 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามปัญหาความเครียดภายในครอบครัวของวัยรุ่น A-File (The Adolescent Inventory of Life Events and Changes) และแบบสอบถามวิธีจัดการกับปัญหาของวัยรุ่น A-Cope (The Adolescent Coping Orientation for Problem Experience) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่า 1. วัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูเพียงคนเดียว มีความเครียดในระดับสูงร้อยละ 27.8 (A-File score <_ 35) 2. วัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูเพียงคนเดียว มีปัญหาความเครียดภายในครอบครัวมากกว่าวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ ด้านการเปลี่ยนแปลงทั่วไปภายในครอบครัว ด้านพฤติกรรมทางเพศของสมาชิกภายในครอบครัว และด้านการสูญเสียที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว (p <_ .01, .05, และ .01 ตามลำดับ) 3. ความแตกต่างในวิธีจัดการกับปัญหาภายในครอบครัวของทั้งสองกลุ่ม พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: To determine and compare the family stress and coping styles of adolescents from single parent families and normal families in Bangkok Metropolis. The subjects in this study consisted of two groups. The first group were 79 Mattayom 5 students from single parent families and the second group were 321 Mattayom 5 students from normal families. Two instruments were used : the Adolescent Inventory of Life Events and Changes (A-File) which measures the family stress and the Adolescent Coping Orientation for Problem Experience (A-Cope) which measures the coping styles of adolescents. The data were analyzed with SPSS/PC+ program. The major findings were as follow: 1. Twenty-eight percent of adolescents from single parent families have high level of family stress. (A-File score <_ 35) 2. Adolescents from single parent families have more family stress than those from normal families (p <_ .01). Dimensions with significant difference are family transition, family sexuality and family losses. (p <_ .01, .05, and .01 respectivity) 3. The differences in coping styles of both groups of adolescents do not have statistical significant.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9331
ISBN: 9746352571
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Treenut_Th_front.pdf797.41 kBAdobe PDFView/Open
Treenut_Th_ch1.pdf790.07 kBAdobe PDFView/Open
Treenut_Th_ch2.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Treenut_Th_ch3.pdf957.93 kBAdobe PDFView/Open
Treenut_Th_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Treenut_Th_ch5.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Treenut_Th_back.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.