Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9342
Title: ภูมิหลังทางครอบครัว กระบวนการสังคมกรณ์ และการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวน ของเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
Other Titles: Family background, socialization, and exposure to investigative reporting TV programs of children and juvenile with deviant behavior
Authors: รุ่งรวี รัตนดำรงอักษร
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Subjects: สื่อมวลชน
การเปิดรับสื่อมวลชน
เด็ก -- การดูแล
การเรียนรู้ทางสังคม
พฤติกรรมเบี่ยงเบน
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิหลังทางครอบครัว กระบวนการสังคมกรณ์ การเปิดรับและแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์ และการเปิดรับและแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวนและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนในทางที่ผิดกฎหมาย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ที่เป็นเด็กและเยาวชนที่อยู่ในบ้านเมตตา บ้านกรุณา บ้านมุทิตา และบ้านปรานี ผลการศึกษาพบว่า 1. เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนส่วนมากมีภูมิหลังทางครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ เช่น บิดามารดาแยกทางกัน บิดามารดาหรือคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต บิดามีภรรยาหลายคน และการที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับบิดามารดา เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนส่วนมากมาจากครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ 2. เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนส่วนมากมาจากครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน (ร้อยละ 92.5) เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพยาเสพติด การทะเลาะวิวาท และกระทำผิดกฎหมาย รองลงมาเป็นครอบครัวที่มีการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (ร้อยละ 52.5) และการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุมที่ลงโทษทางกาย (ร้อยละ 40) ตามลำดับ 3. การศึกษาการเปิดรับและแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์ พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเปิดรับรายการละคร มากที่สุด รองลงมาเป็นรายการวาไรตี้ ทอล์คโชว์ และรายการเกมส์โชว์ ตามลำดับ สำหรับแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์พบว่า มีการเปิดรับเพื่อฆ่าเวลามากที่สุด รองลงมาเป็นการเปิดรับเพื่อการพักผ่อนและความสนุกสนานเพื่อรับทราบข่าวสารและนำไปเป็นหัวข้อสนทนากับเพื่อน และเพื่อหลีกเลี่ยงสังคม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังชื่นชอบละครหรือภาพยนตร์แนววัยรุ่นมีปัญหากับครอบครัว ติดยาเสพติด และมีการต่อสู้กัน เนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาสอดคล้องกับชีวิตตนเอง และยังมีการเลียนแบบทั้งพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีของตัวละคร เช่น การกระทำผิดกฎหมาย การพูดจา การแต่งกาย และการรวมกลุ่มก่อความวุ่นวายต่างๆ 4. การศึกษาการเปิดรับและแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวน พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนมีการเปิดรับรายการเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้น รองลงมาเป็นการเปิดรับเพื่อเรียนรู้ทักษะการกระทำผิดกฎหมาย เพื่อนำไปเป็นหัวข้อสนทนากับเพื่อน เพื่อรับทราบข่าวสารเพื่อป้องกันตัว และเปิดรับเนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชีวิตของตนเอง ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to examine family background, socialization, and exposure to TV programs and investigative reporting TV programs of children and juvenile with deviant behavior who broke the law. The methodology was indepth interview of 40 subjects sampling group being children and juvenile in the Offices of Observation and Protection Centre:Baan Metta, Baan Karuna, Baan Mutita, and Baan Pranee. The findings of study: 1. The children and junile with deviant behavior behavior mostly had the imperfect family background such as having separated parents, having dead father or mother, having father involving several wives, and being adopted children. In addition, it was found that children and juvenile with deviant behavior mostly came from families of which economic and social class was low. 2. The children and juvenile with deviant behavior mostly came from first, the families having deviant behavior (92.5 percent) such as gambling, alcohol drinking, drug addicting, quarrelling, and law breaking;second were the laissez-faire rearing families (52.5 percent), and third, the autocratic rearing families (40 percent). 3. For the study on exposure to TV programs and motivation, it was found that the children and juvenile with deviant behavior expose themselves to Drama, Talk Show Variety program, and Game Show program, respectively. On their motivation of exposure to TV programs, it was found that the exposures were for time killing, relaxing and joyfulness, receiving messages for talking topics with their friends, and escaping from society, respectively. Further, it appeared that the children and juvenile with deviant behavior favored the dramas or movies on youngsters having family problems, being drug addicted, and having physical aggression due to seeing that the contents were similar to their own lives. Also, they imitated some good and bad actors' behaviors such as law breakings, talking and dressing styles, and getting together to commit some disturbances of peace. 4. For the study on exposure to investigative reporting TV programs, it was found that children and juvenile with deviant behavior mostly watched programs for being joyful and thrilling, learning law breaking skills, taking the messages to be the topics for talking with their friends, getting information for protecting themselves, and seeing that the contents were in accordance with their lives, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9342
ISBN: 9746388681
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungrawee_Ra_front.pdf789.9 kBAdobe PDFView/Open
Rungrawee_Ra_ch1.pdf806.75 kBAdobe PDFView/Open
Rungrawee_Ra_ch2.pdf966.05 kBAdobe PDFView/Open
Rungrawee_Ra_ch3.pdf727.63 kBAdobe PDFView/Open
Rungrawee_Ra_ch4.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Rungrawee_Ra_ch5.pdf946.42 kBAdobe PDFView/Open
Rungrawee_Ra_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.