Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9378
Title: การเปิดการสนทนาทางโทรศัพท์ในภาษาไทย
Other Titles: Opening telephone conversations in Thai
Authors: บุรีรัตน์ รอดทิพย์
Advisors: กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Krisadawan.H@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- บทสนทนาและวลี
การสื่อทางภาษา -- ไทย
มารยาทในการโทรศัพท์ -- ไทย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนและกลวิธีการเปิดการสนทนาทางโทรศัพท์ในภาษาไทยและความสัมพันธ์ระหว่างความคุ้นเคยของผู้พูดผู้ฟังกับจำนวนขั้นตอนและการเลือกกลวิธีในการเปิดการสนทนา ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการบันทึกเทปข้อมูลการเปิดการสนทนาของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งใช้ภาษาไทยกรุงเทพฯ จำนวนทั้งสิ้น 30 คน รวม 300 ชุดข้อมูล ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2543 ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนการเปิดการสนทนาทางโทรศัพท์ในภาษาไทยมี 4 ขั้นตอน คือ การเรียก/ตอบ การแสดงตัว/จำได้ การทักทาย และการโอภาปราศรัย โดยขั้นตอนการโอภาปราศรัยแสดงให้เห็นการใช้ภาษาของคนไทยซึ่งมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม กลวิธีที่พบในขั้นตอนการเรียก/ตอบ ได้แก่ การใช้คำตอบรับ การใช้คำลงท้าย และการแสดงตนเอง กลวิธีในขั้นตอนการแสดงตัว/จำได้ ได้แก่ การขอร้อง การกล่าวเรียกผู้รับโดยใช้คำเรียกขาน การกล่าวแนะนำตนเอง การถามคำถามผู้รับ การกล่าวคำตอบรับ และการหยอกล้อ กลวิธีที่พบในขั้นตอนการทักทาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กลวิธีที่มีส่วนประกอบเดียว ได้แก่ การใช้คำแบบแผน การใช้คำลงท้าย การใช้คำอุทาน และกลวิธีที่มีส่วนประกอบสองส่วน ได้แก่ การใช้คำแบบแผนและคำเรียกขาน การใช้คำอุทานและคำเรียกขาน การใช้คำแบบแผนและการเข้าสู่หัวข้อสนทนา กลวิธีที่พบในขั้นตอนการโอภาปราศรัย ได้แก่ การซักถามเกี่ยวกับสภาพ,งานหรือกิจกรรมของผู้รับในขณะนั้น การซักถามเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ การซักถามเกี่ยวกับแผนหรือสิ่งที่จะกระทำในอนาคต การกล่าวอ้างมูลเหตุจูงใจในการโทร การซักถามเกี่ยวกับบุคคลที่สาม การซักถามเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือการกระทำในอดีต การกล่าวในเชิงตำหนิหรือต่อว่า การทบทวนความจำ การพูดคุยเกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศ และการซักถามเกี่ยวกับความประพฤติของผู้รับ นอกจากนี้ ยังพบว่า ความคุ้นเคยระหว่างผู้พูดผู้ฟังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเลือกใช้ขั้นตอนและกลวิธีในการเปิดการสนทนาในภาษาไทย ( p < 0.0005 ) เช่น ในขั้นตอนการแสดงตัว/จำได้ ผู้พูดผู้ฟังที่มีความคุ้นเคยกันมาก ผู้พูดนิยมใช้กลวิธีการกล่าวเรียกผู้รับโดยใช้คำเรียกขาน ในขณะที่ผู้พูดผู้ฟังที่มีความคุ้นเคยกันน้อย ผู้พูดจะใช้กลวิธีการกล่าวแนะนำตนเองกับผู้รับ หรือ ผู้พูดผู้ฟังที่มีความคุ้นเคยกันมากจะมีการแสดงขั้นตอนการทักทายน้อยที่สุด แต่จะมีการแสดงขั้นตอนการโอภาปราศรัยมากที่สุด อย่างไรก็ตาม พบว่า ความคุ้นเคยระหว่างผู้พูดผู้ฟังไม่มีบทบาทต่อการเลือกใช้ขั้นตอนการเรียก/ตอบและกลวิธีในขั้นตอนการเรียก/ตอบ โดยพบว่า ผู้พูดจะมีการแสดงขั้นตอนนี้ในทุกระดับความคุ้นเคย และกลวิธีในการตอบรับต่อเสียงโทรศัพท์ของผู้รับ เป็นลักษณะเฉพาะบุคคลที่ผู้รับนำมากล่าวโดยไม่ได้คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดผู้ฟังแต่อย่างใด
Other Abstract: The aims of this study are to study and analyze the role of intimacy on choices of sequences and strategies in opening telephone conversations in Thai. The data consist of 300 telephone openings collected during April and May 2000. Recordings were obtained from 30 Thai speakers who speak Central Thai and live in Bangkok and the area around Bangkok. It is found that opening telephone conversations by Thai speakers can be described in four sequences : summons-answer, identification recognition, greetings, and small talk. The small talk sequence is found to be a characteristic of Thai culture. Strategies in the summons-answer sequence consist of the use of answer terms, the use of final particles, and self-identification. Strategies in the identification - recognition sequence include requesting, calling the answerer by using an address term, giving self-identification, asking questions about the answerer, using answer terms, and joking . Strategies in the greeting sequence are divided into two types : simple and complex strategies. Simple strategies comprise using greeting terms, using final particle , and exclaiming. Complex strategies include uses of greeting terms and address terms, of exclamation words and greeting terms, of greeting terms followed by topics. Strategies in the small talk sequence consist of asking questions or paying notice to the state, work or activity of the answerer, asking about the answerer's health and general well-being, inquiring about the answerer's activity in the future, giving reasons for calling, referring to the third person, asking about the event or activity of the answerer in the past, blaming, recalling, talking about the weather, and inquiring about the answerer's behavior. In addition, it is also found that intimacy relates significantly with the choices of sequences and strategies in the openings (p < 0.0005). For example, in the identification - recognition sequence, well-acquainted speakers tend to call answerers by using address terms, whereas less-acquainted speakers prefer giving self-identification. Contrary to the small talk sequence which is found mainly in the well-acquainted group, the greeting sequence is found least. However, there is no relationship between intimacy and the summons-answer sequence. In other words, this sequence is found in all groups and answering strategies reflect the answerer's personal style.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9378
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.360
ISBN: 9740301894
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.360
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bureerat.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.