Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/955
Title: การสื่อสารในการอบรมเพื่อเผยแพร่เกษตรทฤษฎีใหม่ในรัชกาลที่ 9 ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อ. บ้านบึง จ. ชลบุรี
Other Titles: Communication in diffusing King Rama 9's agricultural new theory at Maab Euang Nature Farming Center, Banbueng district, Chonburi
Authors: อนันต์ แสงสีวัฒนกุล, 2521-
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Orawan.P@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารทางการเกษตร
การโน้มน้าวใจ (วาทวิทยา)
เกษตรทฤษฎีใหม่
เศรษฐกิจพอเพียง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการสื่อสารในการอบรมเพื่อเผยแพร่เกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้งศึกษากระบวนการตัดสินใจในการยอมรับ/ไม่ยอมรับเกษตรทฤษฎีใหม่ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ/ไม่ยอมรับเกษตรทฤษฎีใหม่ ของเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ใช้การเก็บข้อมูลแบบสหวิธีการ (Multiple Methodology) โดยอาศัยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก (In-depth Interview) และการใช้แบบสอบถามปลายเปิด (Open-ended Questionnaire) กับวิทยากรผู้ให้การอบรมจำนวน 4 คน เกษตรกรแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 จำนวน 106 คน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 20 คน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การสื่อสารในการอบรม วิทยากรที่ให้การอบรมเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่สอน โดยเนื้อหาที่ใช้อบรมแบ่งออกเป็น 7 หมวดหมู่ ตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ใช้วิธีการบรรยาย (Lecture) การสาธิต (Demonstration) และให้เกษตรกรลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (On-the-Job Training) รวมทั้งการอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) และการระดมสมอง (Brainstorming) 2. กระบวนการตัดสินใจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เกษตรกรกลุ่มที่ 1 พบว่าในขั้นความรู้ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกษตรทฤษฎีใหม่มีความคิดเห็นในเชิงรูปธรรม ในขั้นการโน้มน้าวใจ เกษตรกรมีความคิดเห็นว่าวิทยากรสามารถโน้มน้าวใจ ให้เห็นความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ และในขั้นการตัดสินใจ เกษตรกรส่วนใหญ่มีการตัดสินใจที่จะนำเอาไปใช้ เกษตรกรกลุ่มที่ 2 พบว่าสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ก่อนการเข้ารับการอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ช่วงที่ 2 ระหว่างการอบรมจนกระทั่งเสร็จสิ้นการอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง และช่วงที่ 3 ภายหลังการอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ประมาณ 1 เดือน 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ/ไม่ยอมรับเกษตรทฤษฎีใหม่ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ 1. ความคิดของเกษตรกรที่สอดคล้องกับเกษตรทฤษฎีใหม่ 2. ความจำเป็นด้านการเงิน และ 3. ระยะเวลาในการเห็นผลผลิต
Other Abstract: To study communication in the training program emphasizing diffusing agricultural new theory as well as to study decision-making process into adoption/rejection of new agricultural theory and factors affecting adoption/rejection of agricultural new theory of farmers participating in the training program at Mabb Euang Nature Farming Center, Banbueng District, Chonburi. Multiple methodology, consisted of participatory observation, in-depth interviews and open-ended questionnaires for 4 trainers was used. The samples were divided into 2 groups: group 1 comprised 106 farmers and group 2 comprised 20 farmers and 9 staff members of Bank of Agriculture and Agricultural Cooperative. The findings were as follows 1. Communication in Training Program, The trainers had knowledge and skill on what they were training. The content of the training program, which was about sufficient economic system and new agricultural theory, was divided into 7 categories. The trainers used lecture, demonstration, on- the-job training method, group discussion and brainstorming as training tools. 2. Decision-Making Process in 2 Sample Groups, It was found among farmers in group 1 that, in the knowledge stage, most of them understood agricultural new theory on tangible level. In the persuasion stage, the farmers found that the trainers were able to persuade them to see the importance of the new agricultural theory. In the decision stage, the farmers decided to adopt the theory. In group 2 it was found that the decision-making process could be divided into 3 phases: (1) before starting the training program (2) the period during the training up to the closing of the program (3) the after-training period which was 1 month later. 3. There were 3 factors affecting the adoption/rejection of the agricultural new theory. (1) The farmers' ideas which were congruent with the agricultural.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/955
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.538
ISBN: 9741732368
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.538
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anan.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.