Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/959
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปาริชาต สถาปิตานนท์-
dc.contributor.authorจันทร์ทิพย์ ปาละนันทน์, 2507--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-22T05:32:22Z-
dc.date.available2006-07-22T05:32:22Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741724616-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/959-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงกระบวนการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การจัดการข้อมูลข่าวสาร และกลวิธีการสื่อสารของผู้นำชุมชนที่เอื้อต่อการนำไปสู่การเป็นผู้นำชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์พฤติกรรมการสื่อสารของผู้นำชุมชนในขณะปฏิบัติภารกิจต่างๆ จำนวน 5 คน โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ซึ่งมีเกณฑ์ในการคัดเลือกที่สำคัญคือ เป็นตัวแทนผู้นำชุมชนที่ได้รับหรือเคยได้รับการแต่งตั้งในคณะทำงานหรือในคณะกรรมการระดับประเทศ มีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์หรืออยู่ในชุมชนนั้นติดต่อกันอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป รวมทั้งสามารถเป็นตัวแทน (represent) ผู้นำชุมชนในสังคมไทย โดยมีทั้งที่เป็น หญิง ชาย และพระสงฆ์ ตลอดจนมีทั้งผู้นำชุมชนที่อยู่ในเมืองและในชนบท ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการแสวงหาข้อมูลข่าวสารผู้นำชุมชน เริ่มจาก 1) ความต้องการข้อมูลข่าวสารเพื่อตอบสนองความสนใจหรือเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ซึ่งนำไปสู่ 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการแสวงหาเพื่อนำข้อมูลข่าวสารไปใช้อย่างมีจุดมุ่งหมาย 3) การเลือกแสวงหาประเภท/เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารนั้นโดยการ 4) การเลือกแหล่งข้อมูลข่าวสารและช่องทางการสื่อสารต่างๆ ซึ่งพบว่า ผู้นำชุมชนต้องการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจงานพัฒนาชุมชนเป็นสำคัญและแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้นำเลือกใช้คือ "สื่อบุคคล" ได้แก่ ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ บุคคลที่มีความรู้มีประสบการณ์ รองลงไปคือการดูงานกิจกรรม/โครงการในพื้นที่ต่างๆ และเอกสาร ทั้งนี้โดยมีช่องทางการสื่อสารหลัก ได้แก่ การสอบถาม พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการอ่าน 2. ผู้นำมีขั้นตอนการจัดการข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร โดยหากสารนั้นสอดคล้องกับความรู้เดิม ผู้นำจะวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจ จัดลำดับความสำคัญ และนำไปใช้ ทั้งนี้พบว่า ผู้นำให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารมากจึงมักไม่ลบสารเดิมทิ้งแม้จะเป็นข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจ แต่จะลบสารทิ้งภายหลังโดยการลืมเลือนเมื่อข้อมูลนั้นไม่ได้นำมาใช้ แต่หากสารนั้นไม่สอดคล้องกับความรู้เดิม ผู้นำจะเก็บข้อมูลนั้นไว้หาโอกาสตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนและหรือเป็นข้อมูลต่อไป 3. กลวิธีการสื่อสารที่เอื้อต่อการนำไปสู่การเป็นผู้นำชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ กลวิธีการรับและการถ่ายทอดสาร กลวิธีการรับสารมี 4 ประการ คือ 1) การใช้หลัก "สุ จิ ปุ ลิ" 2) การใช้หลักการเรียนรู้ 3) การใช้หลักเหรียญสองด้าน/มองต่างมุม และ 4) การใช้หลัก "หูตากว้างไกล" ส่วนกลวิธีการถ่ายทอดสารนั้นพบว่า แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงชี้ปัญหา สร้างความสนใจ จูงใจร่วมพัฒนา ประกอบด้วย การเทศน์ไปคุยไป การส่งสารผ่านหอกระจายข่าว การสร้างสารดึงดูดใจ การใช้ "กลุ่ม" เป็นสื่อ การเลือก "ปัญหา" พร้อมหาทางออก และการทำตัวเป็นแบบอย่าง ช่วงการสื่อสารผ่านการลงมือปฏิบัติ ประกอบด้วย การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ การสร้างการมีส่วนร่วม การดูงานสัมผัสของจริง การสื่อสารกับการจัดการ และการยึดมั่นความดี ช่วงได้รับการยอมรับ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ผู้รับสาร : ผู้รับสารต่างกัน สื่อสารต่างกัน การใช้ข้อมูลถูกต้องพร้อมแหล่งอ้างอิง การสื่อสารผ่านอวัจนะสาร การขยายกลุ่มงาน เคลื่อนไหวและเติบฌต การวางเป็นกลางไขความขัดแย้ง และการประเมินผลพัฒนาตนเองen
dc.description.abstractalternativeThe research aims to examine the community leaders' information seeking and information management as well as communication tactics of the community leaders. In-depth interview and observation were conducted with 5 local leaders selected by purposive sampling technique. Leaders understudied must be a committee member at national level, live in a community more than 10 years and represent the Thai community leaders of Thai society. The leader samples in this study composed of Buddhist monks, man and woman leaders in both urban and rural community. Findings are as follows : 1. The first step of information seeking process start with information need to fulfill their interest and making use. The second step is to set up the objective of the information sought. The third step is to select the content or subject matter. the fourth step is to select information source and media. The leaders seek information to perform their duty of community development. the most popular source of information sought is human media such as community people,authorities and experts in various area. Field trip to project sites and documents are the second most often used to seek information. 2. To manage the information, leaders assess source credibility by considering whether the information is congruent with leaders' former knowledge. It will then be analyzed, apprehended, categorized and applied. The leaders hardly delete the information even though it is not interesting. 3. The communication tactics facilitating the success of being effective community leaders is message considering and transferring. To consider the message is to 1) listen and think carefully, ask question and take note 2) adopt the learning principle 3) adopt two-sides principle to consider the message and 4) to be broad mind and sight. There are three different phases to use different tactics of message transferring : Phase of determining problem, interest making, and motivating cooperation include preaching-talking, publicity through community broadcasting tower,persuasive information providing, choosing and solving problem, and making-self example, Phase of Action include communication for learning, people participation building, field trip, communication for roject management, and moral boosting. Phase of People Acceptance include audience analysis (different target/receivers-using different communication strategies and tactics), conferring correct information, non-verbal communication, extending and growing group activity, being mediator for conflict resolution and self development evaluating.en
dc.format.extent58012326 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.534-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectการโน้มน้าวใจ (วาทวิทยา)en
dc.subjectผู้นำชุมชนen
dc.titleความสามารถทางการสื่อสารของผู้นำชุมชนen
dc.title.alternativeCommunication competency of community leadersen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorParichart.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.534-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chantip.pdf14.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.