Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9600
Title: | การวิเคราะห์ปัญหาจากการใช้สัญญาจ้างออกแบบและก่อสร้าง และแนวทางป้องกันในโครงการของภาครัฐในประเทศไทย |
Other Titles: | Analysis of problems in design-build contracts and guideline of problem prevention for public projects in Thailand |
Authors: | วิศรุต เศรษฐบุตร |
Advisors: | วิศณุ ทรัพย์สมพล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wisanu.S@Chula.ac.th |
Subjects: | สัญญาก่อสร้าง การบริหารโครงการ |
Issue Date: | 2547 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการจ้างออกแบบและก่อสร้างในประเทศไทย และวิเคราะห์หาแนวทางป้องกันปัญหาในการบริหารโครงการ การวิจัยได้ทำการศึกษากรณีศึกษาจำนวน 6 โครงการ โดยใช้วิธีการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และใช้แผนภาพฟอลท์ทรี (Fault Tree Diagram) ในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา จากนั้นได้ทำการรวบรวมแนวทางป้องกันปัญหาเบื้องต้น และวิเคราะห์หาแนวทางป้องกันที่เหมาะสมโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) และนำเสนอแนวทางที่จะป้องกันหรือลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในโครงการจ้างออกแบบและก่อสร้าง จากผลการวิจัยพบว่าปัญหาหลักของโครงการคือ ปัญหามูลค่าก่อสร้างโครงการเพิ่มขึ้นและปัญหาความล่าช้าของโครงการ ปัญหาที่เกิดขึ้นมีทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นโดยลักษณะของสัญญาจ้างออกแบบและก่อสร้าง และปัญหาที่เกิดเนื่องจากปัจจัยภายนอก (ปัญหาการเวนคืนที่ดินและการติดขัดระบบสาธารณูปโภค) สาเหตุหลักที่ทำให้มูลค่าการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงงาน ส่วนสาเหตุที่ทำให้โครงการล่าช้าแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ ด้านการกำหนดความต้องการ ด้านการออกแบบ และด้านการตรวจสอบแบบ และจากการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางป้องกันปัญหาพบว่าแนวทางที่จะสามารถป้องกันหรือลดผลกระทบของปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ข้อตกลงกับหน่วยงานอื่นควรระบุความต้องการของหน่วยงานนั้นๆ และรวมเข้าไว้กับเอกสารระบุความต้องการของผู้ว่าจ้างเอกสารระบุความต้องการควรใช้แบบแสดงความต้องการด้านสถาปัตยกรรมแทนที่การใช้การระบุเป็นข้อกำหนดเพียงอย่างเดียว กำหนดให้ผู้รับจ้างใช้ภาพประกอบสมจริงในการนำเสนอโครงการ ควรกำหนดให้ผู้รับจ้างเสนอแผนงานก่อสร้างอย่างละเอียดภายใน 1-3 สัปดาห์แรกของโครงการ ผู้ว่าจ้างควรมีตัวแทนที่มีอำนาจในการตัดสินใจประจำอยู่ที่โครงการหรือมีความพร้อมในการประสานงานหรือตัดสินใจเสมอ กำหนดจุดวัดผลงานในการออกแบบของผู้รับจ้าง และในกรณีที่การตรวจสอบแบบมีหลายฝ่ายควรที่จะมีการตรวจสอบแบบไปพร้อมๆ กันทุกฝ่าย นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ข้อกำหนดในสัญญาโครงการกรณีศึกษาและสัญญามาตรฐาน พบว่าโครงการที่ใช้สัญญาจ้างออกแบบและก่อสร้างควรที่จะมีข้อกำหนดในสัญญาที่เพิ่มเติมจากโครงการที่ใช้สัญญาจ้างทั่วไป ได้แก่ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความผิดพลาดในเอกสารระบุความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารของผู้รับจ้าง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทดสอบ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงงาน แนวทางการป้องกันปัญหาเหล่านี้ผู้ว่าจ้างสามารถนำไปใช้ในการบริหารสัญญาหรือบริหารโครงการที่ใช้รูปแบบสัญญาจ้างออกแบบและก่อสร้างเพื่อลดโอกาสเกิดปัญหาในอนาคตได้ |
Other Abstract: | This research attempts to analyze the causes of design-build project problems and find solutions to help project employers prevent problems that are occurred by character of the design-build contract. This research includes six case study projects. Initiallly, the researcher conducted a survey of the problems and interviewed experts who have experience in design-build projects. Data from the survey and interview was analyzed to find the cause of project promblems using fault tree diagram. Solutions for preventing the problems are a result of brainstorming experts and using Delphi technique. Results of the research indicate that the main project problems are cost overrun and project delay. Two main causes of these problems are the consequential results fro the character of the design-build contract and other factors such as expropriation and utility relocation delay. This research focuses only causes from the character of design-build contract. Variation order is the main cause of cost overrun problems. Requirement definition problems, design problems and approving plan problems are the causes of project delay. The results provide important solutions that can prevent these problems. First, any agreements with other departments should be recorded as documents listing the requirements of each agreement and added to the employer's requirements. Second, employers should use architectonic plans for showing architectural requirements instead of a text provision only. Third, term of references should require that the design-builder use animation for project presentation. Fourth, contracts should require that the design-builder must issue a fine construction plan within 1-3 weeks after start of project. Fifth, employers should have a representative with authority available at all times to coordinate and make decisions. Sixth, employers should define design milestones. Last, if the project has many approvers, all of them should approve plans together in one step. Moreover, results of the contract analysis indicate that the design-build contract should be accrued some provisions in addition to those in the traditional contract. It is hoped that these findings will help guide employers in managing design-build projects with minimal problems in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9600 |
ISBN: | 9741759541 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Witsarut.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.