Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9679
Title: | การปรับปรุงแบบแผนการควบคุมการตอบรับการเรียกในระบบสื่อสารเคลื่อนที่เซลลูลาร์ซีดีเอ็มเอที่รองรับทราฟฟิกเสียงและข้อมูลรวมกัน |
Other Titles: | Improvement of call admission control schemes in CDMA cellular mobile communication system supporting an integrated voice/data traffic |
Authors: | ณัฏฐรี เหล่าวิเศษกุล |
Advisors: | วาทิต เบญจพลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Watit.B@chula.ac.th |
Subjects: | การเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งรหัส ระบบสื่อสารข้อมูล การควบคุมการตอบรับการเรียก |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอการปรับปรุงแบบแผนการควบคุมการตอบรับการเรียก (Call Admission Control หรือ CAC) ในระบบสื่อสารเคลื่อนที่เซลลูลาร์ซีดีเอ็มเอที่รองรับทราฟฟิกเสียงและข้อมูลรวมกัน ระบบนี้จะรับประกันคุณภาพของบริการ (Quality of Service หรือ QoS) ของการเรียกที่เข้ามาใหม่และยังคงทำให้การเรียกของทราฟฟิกเสียงที่กำลังดำเนินอยู่ในระบบมีคุณภาพเช่นเดิมโดยการปรับอัตราข้อมูลและกำลังของทราฟฟิกข้อมูล แบบแผนที่เสนอมี 2 แบบแผนด้วยกัน คือ แบบแผน CAC ที่ตั้งอยุ่บนพื้นฐานของอัตราข้อมูลที่แปรค่าได้และการควบคุมกำลัง (แบบแผนที่เสนอ (1)) และแบบแผน CAC ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัตราข้อมูลที่แปรค่าได้ โดยมีการเพิ่มจุดเริ่มเปลี่ยนเป็น 3 จุด (แบบแผนที่เสนอ (2)) จุดเริ่มเปลี่ยนที่เพิ่มเติมจะได้รับการแปรค่าเพื่อหาค่าที่เหมาะที่สุดในช่วง 0-79% ทั้งกรณีที่การเรียกของทราฟฟิกข้อมูลที่เข้ามาใหม่ถูกตอบรับด้วยอัตราข้อมูล 1200 หรือ 2400 bps จากผลการจำลองแบบ พบว่าแบบแผนที่เสนอ (1) และ (2) ให้ความน่าจะเป็นของการบล็อกการเรียกของทราฟฟิกเสียงต่ำกว่าของแบบแผน CAC ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัตราข้อมูลที่แปรค่าได้และแบบแผน CAC ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมกำลังซึ่งเป็นแบบแผน 2 แบบแผนที่ได้มีผู้เสนอไว้แล้ว โดยในแบบแผนที่เสนอ (2) กรณีที่การเรียกของทราฟฟิกข้อมูลที่เข้ามาใหม่ถูกตอบรับด้วยอัตราข้อมูล 1200 bps ให้ค่าความน่าจะเป็นของการบล็อกการเรียกของทราฟฟิกเสียงต่ำกว่ากรณีที่การเรียกของทราฟฟิกข้อมูลที่เข้ามาใหม่ถูกตอบรับด้วยอัตราข้อมูล 2400 bps จุดเริ่มเปลี่ยนที่เพิ่มเติมไม่ว่าจะมีค่าเท่าใดก็ตามจะให้ค่าความน่าจะเป็นของการบล็อกการเรียกของทราฟฟิกเสียงที่เท่ากัน และพบว่าแบบแผนที่เสนอทั้ง 2 มีประสิทธิภาพการใช้ช่องสัญญาณที่ดีกว่า คือสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ทราฟฟิกเสียงและข้อมูลได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม แบบแผนที่เสนอ (1) และ (2) มีแบนด์วิดท์ที่สามารถใช้สอยได้ของผู้ใช้ทราฟฟิกเสียงและข้อมูลที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังมีการประวิงของทราฟฟิกข้อมูลมากกว่าแบบแผน CAC ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัตราข้อมูลที่แปรค่าได้และแบบแผน CAC ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมกำลัง เนื่องจากมีการลดทั้งอัตราข้อมูลและกำลังของทราฟฟิกข้อมูลในแบบแผนที่เสนอ (1) และมีการลดอัตราข้อมูลของทราฟฟิกข้อมูลถึง 3 ครั้งในแบบแผนที่เสนอ (2) โดยที่ความเข้มทราฟฟิกเท่ากับ 1 แบบแผนที่เสนอ (1) มีอัตราส่วนการลดลงของค่าความน่าจะเป็นของการบล็อกการเรียกของทราฟฟิกเสียงเท่ากับ 7.4 และ 5.1 dB เมื่อเทียบกับของแบบแผน CAC ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัตราข้อมูลที่แปรค่าได้และของแบบแผน CAC ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมกำลัง ตามลำดับ ส่วนแบบแผนที่เสนอ (2) มีอัตราส่วนการลดลงของค่าความน่าจะเป็นของการบล็อกการเรียกของทราฟฟิกเสียงเท่ากับ 7 และ 2.7 dB เมื่อเทียบกับของแบบแผน CAC ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัตราข้อมูลที่แปรค่าได้ ในกรณีที่การเรียกของทราฟฟิกขัอมูลที่เข้ามาใหม่ถูกตอบรับด้วยอัตราข้อมูล 1200 และ 2400 bps ตามลำดับ |
Other Abstract: | This thesis proposes two improved schemes of call admission control (CAC) in a CDMA cellular mobile communication system supporting an integrated voice/data traffic. The system guarantees the contracted QoS of admitted new voice calls while the quality of existing voice calls is not degraded by adjusting data rate and power of data calls. There are two proposed schemes. The first scheme is the combination of variable rate based and power control based CAC scheme, and the second scheme is the variable rate based CAC scheme with 3 thresholds. The additional threshold is varied to obtain the optimum value in the range of 0-79% of the maximum capacity of the system for both the admitted new data calls with the rate of 1200 and 2400 bps. The simulation results show that the first and second proposed schemes give lower blocking probability of new voice calls than the variable rate based and the power control based CACs proposed by other researches. In the second proposed scheme, the 1200-bps-rate admitted new data calls give lower blocking probability of new voice calls than the 2400-bps-rate admitted new data calls. The various values of the additional threshold give the same blocking probability of new voice calls. Both of the proposed schemes have better channel usage efficiency that can support a higher number of voice users and data users. Nevertheless, the delay of data calls of the proposed schemes is greater compared with those of the variable rate based and the power control based CACs. This is due to both data rate and power of data calls reduction in the first proposed scheme and 3-stepped data rate reduction of data calls in the second proposed scheme. At full load, the first proposed scheme gives a blocking-probability decrement ratio of 7.4 and 5.1 dB compared to those to the variable rate based and te power control based CACs, respectively. In the second proposed scheme, the 1200-bps-rate admitted new data calls and and the 2400-bps-rate admitted new data calls give a blocking-probability decrement ratio of 7 and 2.7 dB compared to that of the variable rate based CAC, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9679 |
ISBN: | 9740303781 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nattaree.pdf | 8.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.