Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9713
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorต่อศักดิ์ สีลานันท์-
dc.contributor.advisorปริญญา ศรีบุญเรือง-
dc.contributor.authorทัศณีวรรณ ก้อนจันทร์เทศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-06T03:35:22Z-
dc.date.available2009-08-06T03:35:22Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740304591-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9713-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractฝ้ายเป็นพืชในสกุล Gossypium วงศ์ Malvaceae และเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศ จึงมีการผลิตฝ้ายพันธุ์ดีเด่นที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานต่อโรคและแมลง ซึ่งในอนาคตจะมีการจดทะเบียนพันธุ์ฝ้ายดังกล่าวเพื่อป้องกันการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา ในการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์ฝ้ายนั้นต้องพิจารณาลักษณะประจำพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อจำแนกแต่ละพันธุ์ออกจากกัน งานวิจัยนี้ได้ทำการตรวจสอบและประเมินลักษณะประจำพันธุ์จำนวน 49 ลักษณะในฝ้าย 10 พันธุ์ 5 สายพันธุ์ซึ่งประกอบด้วยฝ้ายพันธุ์ปลูก และพันธุ์พื้นเมือง (G. hirsutum, G. barbadense, G. arboreum) เป็นระยะเวลา 2 ฤดูเพาะปลูก เพื่อศึกษาทั้งลักษณะทางคุณภาพและปริมาณรวมทั้งลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เหมาะสม ต่อการใช้จำแนกความแตกต่างระหว่างพันธุ์/สายพันธุ์ โดยทำการทดสอบที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ จากการศึกษาพบลักษณะสำคัญที่สามารถใช้ในการระบุความแตกต่างระหว่างฝ้ายทั้ง 15 พันธุ์/สายพันธุ์ได้จำนวน 32 ลักษณะซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะทางด้านการสืบพันธุ์ (reproductive character) และลักษณะทางด้านการเจริญเติบโต (vegetative character) ตามลำดับ สำหรับการใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอจากวิธีการ RAPD เพื่อใช้แสดงลักษณะประจำพันธุ์ของฝ้ายแต่ละสายพันธุ์นั้นไม่พบแถบดีเอ็นเอ จำเพาะ (unique band) ที่จะใช้ระบุแต่ละสายพันธุ์ได้ แสดงให้เห็นว่าเทคนิค RAPD อาจเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมสำหรับการระบุพันธุ์/สายพันธุ์ ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งอาจเนื่องมาจากพันธุ์ฝ้ายที่นำมาศึกษาในครั้งนี้มีฐาน พันธุกรรม (genetic base) แคบen
dc.description.abstractalternativeCotton is a member of the genus Gossypim of the family Malvaceae and is the economic important plant in Thai textile industry. There are many elite cottons that are high yield and more resistant to pets and pathogens. In the future, these cultivars will be registered to protect owners' intellectual property. To do that, all trails will be used to distinguish each cultivar. This thesis is carried out in order to investigate any quantitative and qualitative traits as well as DNA fingerprint for cotton cultivar identification. Forty-nine traits were characterized in 15 varieties of native and elite cotton cultivars during 2 planting seasons at the Nakhon Sawan Field Crops Research Center. The results showed that thirty-two important traits used to distringuish each cultivar. Almost are reproductive character and vegetative character. The RAPD-based DNA fingerprint for characterized individual found no unique band for identifying any cultivar. The result suggested that RAPD-based DNA fingerprint may not be suitable for characterizing cotton cultivars. This might be due to a narrow genetic base of elite cotton cultivars.en
dc.format.extent2828160 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectฝ้าย -- พันธุ์en
dc.subjectลายพิมพ์ดีเอ็นเอen
dc.titleลักษณะประจำพันธุ์กับการประเมินและลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพันธุ์ฝ้ายen
dc.title.alternativeCharacterization and evaluation and DNA fingerprint of cotton cultivarsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพฤกษศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTosak.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tasaneewan.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.