Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9731
Title: ความหลากหลายและปริมาณแพลงก์ตอนพืชตามฤดูกาลในบ่อกุ้งร้าง / กมลวรรณ มิตรกระจ่าง
Other Titles: Seasonal diversity and abundance of phytoplankton in abandoned shrimp ponds
Authors: กมลวรรณ มิตรกระจ่าง
Advisors: เยาวลักษณ์ อัมพรรัตน์
ยอดยิ่ง เทพธรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: yowwalak.u@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แพลงค์ตอนพืช
บ่อกุ้ง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความหลากหลายและปริมาณแพลงก์ตอนพืชตามฤดูกาลในบ่อกุ้งร้าง ได้ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน 2545 ถึงเดือนเมษายน 2546 ในบ่อของศูนย์วิจัยกุ้งกุลาดำมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร โดยทำการเก็บตัวอย่างใน 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไมโครแพลงก์ตอน 30 สกุล ซึ่งแยกได้เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 5 สกุล สาหร่ายสีเขียว 5 สกุล ไดอะตอม 17 สกุล และไดโนแฟลกเจลเลต 3 สกุล แพลงก์ตอนพืชที่เป็นสกุลเด่น 5 สกุล คือ Chaetoceros, Coscinodiscus, Nitzschia, Oocystis และ Oscillatoria แพลงก์ตอนพืชที่พบได้ในทุกฤดูกาลคือ Oscillatoria พร้อมทั้งได้จัดทำคำบรรยายลักษณะวงศ์ ลักษณะสกุล รูปวิธานจำแนกวงศ์ และสกุล ปริมาณแพลงก์ตอนพืชทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.71 x 10[superscript 5] 1.73 x 10[superscript 6] เซลล์ต่อลิตร สรุปได้ว่าปริมาณแพลงก์ตอนพืชสูงสุดในฤดูหนาวและต่ำสุดในฤดูฝน ปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ของแพลงก์ตอนพืชมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.249 +- 0.122 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ สูงสุดในฤดูหนาวและต่ำสุดในฤดูฝน และจากการเก็บแพลงก์ตอนสัตว์ 2 สกุล คือ โรติเฟอร์และโคพีพอด ให้ผลผลิตสูงสุดในฤดูหนาว รองลงมาคือฤดูร้อน และน้อยที่สุดในฤดูฝน มีผลผลิตโรติเฟอร์และโคพีพอด ต่อบ่อขนาด 8 ไร่ รวม 50.47และ 172.18 กิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณแพลงก์ตอนพืชยังขึ้นอยู่กับค่าความเป็นกรด - ด่างและปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ผลจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนพืช ปริมาณแพลงก์ตอนสัตว์ ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยแวดล้อมในรอบปี
Other Abstract: The study of seasonal diversity and abundance of phytoplankton in abandoned shrimp ponds in Monodon Research Center Mahachai, Samutsakorn Province was conducted from April, 2002 to the end of April, 2003 and also collected the samples of phytoplankton and zooplankton. The monitored parameters were abundance of phytoplankton, water temperature, pH, dissolved oxygen (DO), salinity and chlorophyll a biomass. There are 30 genera, belonging to 5 genera of blue green algae, 5 genera of green algae, 17 genera of diatoms and 3 genera of dinoflagellates. The five dominant genera are Oscillatoria, Oocystis, Coscinodiscus, Chaetoceros and Nitzschia. Oscillatoria was found in all seasons. Moreover, descriptions of families and genera, key to families and genera were prepared. Average density of phytoplankton was 1.71 x 10[superscript 5] 1.73 x 10[superscript 6] cell/l so, we can conclude that the maximum density in winter and the minimum in rainy season. Mean chlorophyll a content of phytoplankton was 1.249 +- 0.122 mg/m3 with the maximum concentrations in winter and the minimum in rainy season. Two genera of zooplankton was collected, Rotifer and Copepod. The highest production of Rotifer and Copepod were 50.47 and 172.18 kg., respectively. It was found that pH and dissolved oxygen were the major factors influence on density of phytoplankton. The result of this study indicated that diversity, abundance of phytoplankton, environmental factors and zooplankton had seasonal changed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9731
ISBN: 9741745362
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamolwan.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.