Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/976
Title: กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการเพื่อบำบัดยาเสพติดปฏิบัติธรรมนำปัญญา
Other Titles: Communuication strategies using insight meditation for drug addicted treatment
Authors: เดชานนต์ มหาภาพ, 2518-
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การสื่อสาร
คนติดยาเสพติด--การรักษา
การโน้มน้าวใจ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการเพื่อบำบัดยาเสพติดปฏิบัติธรรมนำปัญญา" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารในกระบวนการฝึกอบรม, กลยุทธ์การสื่อสาร, และจิตวิทยาการสื่อสารในโครงการบำบัดยาเสพติด ปฏิบัติธรรมนำปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิทยากรที่เป็นทั้งพระสงฆ์และฆราวาส การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมผู้บำบัดยาเสพติด โดยมีผู้ให้ข้อมูลการวิจัยทั้งสิ้น 7 ท่าน พบว่า การสื่อสารในกระบวนการฝึกอบรม เป็นการสื่อสารกลุ่มใหญ่ที่มีลักษณะการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง ควบคู่กันไปโดยมีองค์ประกอบกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย 1) ผู้ส่งสาร เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือสูง มีบุคลิกเป็นที่น่าไว้วางใจ มีความเป็นกันเอง มีความสามารถและความชำนาญในด้านที่ตนเองรับผิดชอบสูง และมีประสบการณ์สูงในการบำบัดผู้ติดยาเสพติด 2) สารหรือเนื้อหาที่นำมาอบรม มีเนื้อหาทางโลกและทางธรรมผสมกัน มีเนื้อหาที่ทันสมัย มีการเรียงลำดับสารไปตามขั้นตอนการบำบัด ล้างพิษยา-ล้างกาย-ล้างใจ-เตรียมออกสู่สังคม มีการปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดการต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ มีการให้กำลังใจ มีการสอดแทรกบทเพลงหรือคำกลอนที่กินใจ มีการใช้จุดจูงใจในสารโดยใช้อารมณ์และใช้ความกลัวในการโน้มน้าวใจ 3) สื่อที่นำมาใช้ในการฝึกอบรมมีลักษณะเป็นสื่อผสม คือ สื่อบุคคล สื่อวิดีทัศน์ สื่อกิจกรรม และสื่อเพลง กลยุทธ์การสื่อสาร พบว่าวิทยากรได้นำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้ในการโน้มน้าวใจให้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดหลายกลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การพูดแบบทหาร กลยุทธ์การบรรยายโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง นำเปรียบเทียบและโยงเข้าสู่การสอน กลยุทธ์การใช้บทกลอนและคำคมในการพูดทิ้งท้ายคำคมให้คิด กลยุทธ์การใช้คำพูดเดิม เพื่อตอกย้ำความรู้สึกบ่อยๆ และให้พูดตามไปด้วย กลยุทธ์การให้รางวัล กลยุทธ์การสั่งสอน การสอดแทรกคำคม กลยุทธ์การใช้เพลงเป็นสื่อในการประกอบกิจกรรม กลยุทธ์การยึดหลัก "พรหมวิหาร 4" กลยุทธ์การใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพที่ดี กลยุทธ์การสอดแทรกสิ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ แต่วิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ กลยุทธ์การใช้เกม กลยุทธ์การปฏิบัติธรรม กลยุทธ์การเลือกสื่อให้สอดคล้องกับสาระที่บรรยาย จิตวิทยาในกระบวนการสื่อสาร พบว่า วิทยากรใช้หลักจิตวิทยาในกระบวนการสื่อสารภายใต้กรอบจิตวิทยาการสื่อสารของผู้ส่งสาร ได้แก่ การมอบความรัก หลักการเมตตา หลักการมีระเบียบวินัย หลักความแข็งแรงของร่างกาย และการมีสมาธิ สติและปัญญา นอกจากนี้ยังใช้หลักจิตวิทยาในกระบวนการสื่อสาร ภายใต้กรอบจิตวิทยาวัยรุ่น ได้แก่ ความต้องการความรัก การดูแลเอาใจใส่และการเห็นอกเห็นใจจากผู้ใหญ่ ความต้องการการแสดงออกให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน การให้ความสำคัญกับเพื่อนมาก และการยึดมั่นในอุดมการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีปรัชญาชีวิตเป็นของตนเอง
Other Abstract: The research on "Communication Strategies Using Insight Meditation for Drug Addicted Treatment" is a qualitative research. The objective was to study the communication process, strategies and psychology in the training process. Data were collected by in-depth interview with the key trainers who were experts in training the drug addicted. Non-participatory observation during training was also used to collect data. The findings of the research are as follows : Communications process : Both one-way and two-way communications were implemented during training process. The elements of communication effectiveness included 1) Sender : using highly credible communicators who process trustworthiness, expertise, dynamism, skill fullness, using pass experiences as references of the subject of teaching. 2) Message : applying proverb, connotation, dialogue, metaphor, analogy, abstract illustration transforming into concrete objects to facilitate understanding, using fear and emotional appeals as persuasive communication.3) Media : using audio visual, activities (as game) and music to support interpersonal communication. 4) Receivers was analyzed in order to use languages both verbal and nonverbal cues appropriate to the demographic and psychographic characteristics of the trainees. Communications strategies : the trainers used various strategies which included verbal cues such as military appeal words, motto, a story telling technique, metaphor technique, proverbs and impressive phrase, repetition, reward conferring, narration, music activity, the four principles of virtuous existence, building good relationship, inserting the unseen-unfelt but scientific provable technique, games, insight meditation, and media-message congruence. Communications psychology : the trainers psychologically communicated expressing trustworthiness, affection, mercy, discipline as well as the application of teenage psychology : by fulfilling teenagers need to be loved, need attention and care, group belonging and acceptance and need to be accepted of their philosophy and initiatives.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/976
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.32
ISBN: 9741718691
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.32
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Daechanon.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.