Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9835
Title: | แนวทางการรื้อย้ายสำหรับโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง |
Other Titles: | Rehabilitation for Din Daeng urban renewal project |
Authors: | นิพัท ทวนนวรัตน์ |
Advisors: | มานพ พงศทัต กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th |
Subjects: | โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯ การฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ การพัฒนาชุมชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ ชุมชนดินแดง (กรุงเทพฯ) |
Issue Date: | 2540 |
Abstract: | ศึกษา 1) แนวคิดการรื้อยายที่อยู่อาศัยและการฟื้นฟูเมือง 2) กรณีศึกษาโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง 3) สภาพการอยู่อาศัย สังคม และเศรษฐกิจของผู้อยู่อาศัยในบริเวณที่ตั้งกรณีศึกษา 4) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรื้อย้ายที่อยู่อาศัย 5) เสนอแนะแนวทางการรื้อย้ายสำหรับกรณีศึกษา การวิจัยนี้ได้เลือกใช้วิธีการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย เครื่องวัดแบบพฤติกรรมเมื่อบุคคลเผชิญกับความขัดแย้งของโธมัส และคิลแมนน์ เทคนิคการสำรวจเชิงพรรณนา ผลการวิจัย อาศัยเทคนิคเดลฟาย พบว่า แนวทางการรื้อย้ายที่อยู่อาศัยจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อยู่อาศัย ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการฟื้นฟูเมืองดินแดง โดยมีเงื่อนไขการดำเนินการต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และฐานะของผู้อยู่อาศัยในฐานะที่เป็นผู้นำ ให้สามารถบรรเทาการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดนโยบายที่ยุติธรรม เมื่ออาศัยเครื่องวัดแบบพฤติกรรม เมื่อบุคคลเผชิญกับความขัดแย้งของโธมัสและคิลแมนน์ พบว่า ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่จะหลีกเลี่ยง (ร้อยละ 33) พฤติกรรมที่จะประนีประนอม (ร้อยละ 28.6) พฤติกรรมที่จะให้ความร่วมมือ (ร้อยละ 22) และอาศัยเทคนิคการสำรวจเชิงพรรณนา พบว่า มีผู้อยู่อาศัยเพียงร้อยละ 18 เท่านั้นที่มีระดับรายได้ต่อครัวเรือนตางกับระดับรายได้ครัวเรือนเป้าหมายสำหรับอาคารประเภทเช่าระยะสั้นของการเคหะแห่งชาติ ส่วนใหญ่พอใจในทำเลที่ตั้ง ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าอาคารแฟลตมีสภาพเก่าทรุดโทรมและมีปัญหาในการอยู่อาศัยบางประการ อีกทั้งผู้อยู่อาศัยทั้งหมดเข้าใจว่า สิทธิครอบครองห้องเช่าสามารถซื้อขายได้และมีราคาเท่ากับ 200,000-250,000 บาทต่อห้อง ข้อค้นพบอื่น ได้แก่ ค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนที่เต็มใจจ่ายสำหรับห้องเช่าที่สร้างใหม่ เท่ากับ 932 บาทต่อยูนิต ยังพบอีกว่าผู้อยู่อาศัยเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 98) ต้องการได้รับสิทธิในการเช่าห้องที่สร้างใหม่ ในขณะเดียวกันบางส่วนของผู้อยู่อาศัยในกลุ่มนี้ (ร้อยละ 31) ยังต้องการความมั่นคงในการอยู่อาศัย กล่าวคือต้องการได้เซ้งสิทธิระยะยาว หรือได้ผ่อนซื้อกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย และมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ต้องการขอรับเงินทดแทนและย้ายออก ข้อเสนอแนะแนวทางการรื้อย้ายสำหรับโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ต้องพิจารณา 1) จำแนกตามระดับความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง 2) ชี้แจงให้ตะหนักในข้อเท็จจริงว่าสิทธิการเช่าห้องมีภายใต้ขอบเขตที่กำหนดโดยการเคหะแห่งชาติ ไม่ใช่กำหนดโดยผู้อยู่อาศัยเอง 3) สนับสนุนและช่วยเหลือให้ผู้อยู่อาศัยสามารถช่วยเหลือตนเอง ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ได้แก่ 1) ศึกษาแนวทางการรื้อย้ายที่อยู่อาศัยในบริเวณอื่นที่มีศักยภาพในการพัฒนา 2) พัฒนาแบบวัดพฤติกรรมเมื่อบุคคลเผชิญกับความขัดแย้งให้มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือให้สูงขึ้น สามารถทำความเข้าใจพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการรื้อย้ายที่อยู่อาศัยในเขตเมือง และสามารถกำหนดค่าระดับความช่วยเหลือที่เหมาะสมในการรื้อย้าย 3) พัฒนาระบบเครื่องมือสำหรับการกำหนดนโยบายการรื้อย้ายเพื่อใช้เป็นเค้าโครงพื้นฐานของการเจรจาต่อรอง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการรื้อย้ายก่อให้เกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด และมีความยุติธรรมทางสังคมสูงที่สุด |
Other Abstract: | To propose rehabilitation policy for the Din Daeng Urban Renewal Project in terms of 1) concept of residential rehabilitation and urban renewal, 2) case study of tha Din Daeng Urban Renewal Projects, 3) living condition and socio-economic aspects of the residents in Din Daeng, 4) the opinions of parties involved in the rehabilitation, 5) recommendations for the rehabilitation study. The study adopts the following methodology: Delphi technique, Thomas-Kilman conflict mode instrument, combined with descriptive research using accidental and quota sampling technique. Results from Delphi technique indicate that the rehabilitation should grant support to the residents impacted from the urban renewal, on the condition that the procedures must conform with the objective of the urban renewal and the status of the residents as tenants to be able to mitigate resistance to change and implement equitable policy. Thomas-Kilman Conflict mode instrument technique finds that the major respondents were avoiding (33%), compromising (28.6%), and collaboration (22%). As with descriptive research, it is found that only 18% of the residents were in the targeted household income level for the short term residential rent specified by the National Housing Authority (NHA). Furthermore, most residents were satisfied with the establishment and location of the Din Daeng community while some admitted that the living conditions are quite poor. All residents also perceive that rental right can be transferred and converted into monetary terms of 200,000-250,000 Baht/room. Other findings are the average monthly rental rate that the residents are willing to pay is 932 Baht per unit. Furthermore, virtually all residents (98%) require to have access to the rental right of the new residential units while 30% of this group want to obtain further security for accommodation, namely leasehold right, and only 3% wish to be granted some compensation and move out. Recommendations for rehabilitation process of urban renewal: 1) to classify the level of rehabilitation support according to the residents' ability to maintain their living conditions 2) to educate that issuance of rental right is under the jurisdiction of the NHA, not the residents as well as 3) to encourage and assist residents to support themselves. Recommendations for future study are: 1) to investigate rehabilitation potentials in other areas, 2) to develop more advanced conflict mode instruments to be able to understand the behaviour involved in urban rehabilitation and to quantify the optimum level of rehabilitation support, and 3) to develop systems tools for the policy making of residential rehabilitation, such as jundamental negotiation framework, so as to reach rehabilitation objective with minimum conflicts and maximum social justice |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9835 |
ISBN: | 9746373048 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nipat_To_front.pdf | 802.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch1.pdf | 934.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch2.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch3.pdf | 911.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch4.pdf | 925.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch5.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch6.pdf | 900.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch7.pdf | 869.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch8.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_ch9.pdf | 744.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipat_To_back.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.