Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9931
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.advisorวิเชียร เกตุสิงห์-
dc.contributor.authorนิสารัตน์ ตรีโรจน์อนันต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-11T06:41:11Z-
dc.date.available2009-08-11T06:41:11Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741798261-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9931-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างกลุ่มโรงเรียนทั้งสี่สังกัด และระหว่างกลุ่มโรงเรียนที่อยู่ในภาคภูมิศาสตร์ทั้งสี่ภาค ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ที่รวบรวมจากแบบสอบถาม 3 ฉบับ จากผู้บริหาร ครูและนักเรียน จากโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 1,025 แห่ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ลิสเรลในการวิเคราะห์ความตรงของโมเดลคุณภาพการศึกษา และใช้การวิเคราะห์กลุ่มพหุด้วยลิสเรลในการตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยน ของโมเดลคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างกลุ่มโรงเรียนทั้งสี่สังกัดและกลุ่มโรงเรียนที่อยู่ในภาคภูมิศาสตร์ ทั้งสี่ภาค ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) โมเดลคุณภาพการศึกษาที่พัฒนาขึ้น สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการดำเนินงาน การปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการดำเนินงานคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมของโรงเรียน การพัฒนาครู โดยปัจจัยทั้งสามตัวมีน้ำหนักองค์ประกอบเป็น 4.5 เท่าของน้ำหนักองค์ประกอบของการประเมินผลการเรียน และกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็น 6.5 เท่าของน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรแฝงคุณภาพผลผลิต 2) การวิเคราะห์กลุ่มพหุของโมเดลคุณภาพการศึกษาระหว่างกลุ่มโรงเรียนทั้งสี่ สังกัด พบว่า โมเดลไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบของโมเดล และในด้านพารามิเตอร์ของเมทริกซ์น้ำหนักองค์ประกอบ และเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงภายใน โดยน้ำหนักองค์ประกอบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาครูมีค่าเป็น 6 และ 5.5 เท่าของน้ำหนักองค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการประเมินผลการเรียนและค่าอิทธิพลทางตรงจากคุณภาพผลผลิต ที่มีต่อกระบวนการดำเนินงานมีมากกว่าอิทธพลจากกระบวนการดำเนินงาน ที่มีต่อคุณภาพผลผลิตเล็กน้อย 3) การวิเคราะห์กลุ่มพหุของโมเดลคุณภาพการศึกษา ระหว่างกลุ่มโรงเรียนที่อยู่ในภาคภูมิศาสตร์ทั้งสี่ภาค พบว่า โมเดลไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบของโมเดล และในด้านพารามิเตอร์ของเมทริกซ์น้ำหนัก องค์ประกอบและเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงภายใน โดยน้ำหนักองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมของโรงเรียน การบริหารแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาครูมีค่าเป็น 6 และ 5 เท่าของน้ำหนัก องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการประเมินผลการเรียน และค่าอิทธิพลทางตรงจากคุณภาพผลผลิตที่มีต่อกระบวนการดำเนินงาน มีมากกว่าอิทธิพลจากกระบวนการดำเนินงานที่มีคุณภาพผลลิตเล็กน้อยen
dc.description.abstractalternativeTo develop and validate the educational quality model in schools providing basic education, and to test the invariance of the educational quality models in schools providing basic education across those four jurisdictions and those in four geographical regions. The data used in this study were secondary data from the Office of the National Education Commission, collected by using 3 sets of questionnaires for administrators, teachers and students in 1,025 schools providing basic education. Data analyses used LISREL in the validation of the educational quality model and used mutiple-group analysis through LISREL in the test of invariance of the educational quality models among four jurisdictions and among four geographical regions. The research results were summarized as follows 1) The developed educational quality model fit to the empirical data obtaining from the educational reform implementation of schools providing basic education. The factors affecting the success of implementation process were the participatory administration, the school environment, and the teacher development. The factor loadings of those three factors were 4.5 times of those of the learning outcome assessment and the student-centered teaching and learning process; and were 6.5 times of those of the latent variables of the output quality. 2) The multiple group analysis of the educational quality model across four jurisdictions showed that the model was invariant in terms of the model form, and the parameters in factor loading matrix and the matrix of causal effects between endogenous latent variables. The factor loadings of the school environment, the participatory administration, and the teacher development were 6 and 5.5 times of those of the student-centered teaching and learning process and the learning outcome assessment. The direct effect of the output quality variable towards the implementation process variable was higher than the effect of the implementation process variable towards the output quality variable. 3) The multiple group analysis of the educational quality model across four jurisdictions showed that the model was invariant in terms of the model form, and the parameters in factor loading matrix and the matrix of causal effects between endogenous latent variables. The factor loadings of the participatory administration and the teacher development were 6 and 5 times of those of the student-centered teaching and learning process and the learning outcome assessment. The direct effect of the output quality variable towards the implementation process variable was higher than the effect of the implementation process variable towards the output quality variableen
dc.format.extent2068342 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหารen
dc.subjectลิสเรล (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)en
dc.subjectการวิเคราะห์ตัวแปรพหุen
dc.titleการพัฒนาและการวิเคราะห์กลุ่มพหุของโมเดลคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeThe development and multiple-group analysis of the educational quality model in school providing basic educationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถิติการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNonglak.W@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nisaratT.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.