Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/998
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำนิตยสารที่เกิดใหม่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
Other Titles: Factors affecting new magazines that emerged during the economic crisis
Authors: นิธินา ศรีประเสริฐ
Advisors: นันทริกา คุ้มไพโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: วารสาร
ความต้องการ (จิตวิทยา)
การจัดการธุรกิจ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวความคิดและพัฒนาการของนิตยสารที่เกิดใหม่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ รวมศึกษาึงปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำ ตลอดจนรูปแบบและการนำเสนอเนื้อหา โดยมีนิตยสาร a day, BrandAge, M, Make Money, Open และ Summer เป็นกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านบุคลากรที่หมายถึงบรรณาธิการหรือเจ้าของนิตยสาร เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากการจัดทำนิตยสารต้องอาศัยความพร้อมของวิสัยทัศน์ ทักษะความสามารถ ประสบการณ์ และความมุ่งมั่นที่มาจากแรงจูงใจภายใน ทั้งนี้ยังพบอีกว่าภาวะการว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ยังเป็นแรงขับดันต่อการตัดสินใจจัดทำนิตยสารฉบับใหม่ ของกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด ส่วนปัจจัยทางด้านเงินทุนไม่เพียงเป็นตัวกำหนดรูปแบบและเนื้อหาเท่านั้น ยังส่งผลต่อปัจจัยทางด้านการจัดการองค์กร ปัจจัยทางด้านการจัดการนิตยสาร และปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาดอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบการระดมทุนจากผู้อ่านของนิตยสาร a day ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์นิตยสารไทย ทั้งนี้จากการนำแนวคิดเกี่ยวกับสังคมสารสนเทศ ในฐานะการปรับโครงสร้างระบบทุนนิยมโลกมาใช้ในการวิเคราะห์ พบว่าภาวะวิกฤตเศรษฐกิจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แนวทางโครงสร้างรายได้จากการพึ่งพิงรายได้ยอดโฆษณา มาเป็นรายได้จากยอดขายนิตยสาร วงเงินลงทุนที่จำกัดส่งผลให้องค์กรมีขนาดเล็กลง ใช้ทีมงานจำนวนน้อยแต่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการตัดงานบางส่วนให้บุคลากรภายนอกองค์กรดำเนินการแทน ส่วนทางด้านรูปแบบและการนำเสนอเนื้อหาของกลุ่มตัวอยบ่างเกือบทั้งหมด ยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการสร้างงานศิลปะและวรรณกรรม ตลอดจนการบริโภคสัญญะในแบบของสังคมยุคหลังสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: To study the concept and development of new magazines that were launched during the country's economic crisis in 1997 and to understand the factors affecting their emergence and sustainability. The study also exemines the design format and presentation of content of the selected magazines. The magazine samples include a day, BrandAge, M, Make money, Open and Summer. The study finds that human resource defined here as editor or owner of the magazine is the most influential factor. This is because magazine business depends largely upon a good combination of vision, journalistic skills, experiences and devotion that derives from the editor or the owner's inspiration. In addition, the study finds that the widespread unemployment situation which is a by-product of economic crisis is a compelling force toward making the decision to launch a new magazine for alsmost of the samples. As for the financial factor, it not only defines design and content, but also influences the new magazine's organizational structure,management and sales promotion. Besides, the scheme of raising fund from the readers which is undertaken in the case of a Day magazine is an unprecedented phenomenon in the history of Thai magazines. By using the perceptive on "information society as a restructuring of global capitalism" as an analytical device, it is found that the economic crisis has ignited a structural change in magazine revenue from advertising to sales. The limited investment has also payed a part toward organizational downsizing and outsourcing. Almost of the magazine samples, in terms of design and content prsentation reflects a new trend in arts and writing as well as consumption of sign that befit the postmodern era.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/998
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.497
ISBN: 9741732597
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.497
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nithina.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.