Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10021
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างระบบโทรคมนาคมต่อการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในประเทศไทย
Other Titles: Relationship of telecommunications to foreign direct investment in Thailand
Authors: นฤมล ดีสุวรรณ
Advisors: จิตตภัทร เครือวรรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jittapatr.K@Chula.ac.th
Subjects: การลงทุนของต่างประเทศ -- ไทย
ระบบโทรคมนาคม
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศกำลังพัฒนา นับว่าเป็นหนทางหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ปัจจัยที่ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจึงมีความสำคัญ ซึ่งปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจนี้ สามารถแบ่งออกเป็นระบบสาธารณูปโภคและระบบโทรคมนาคม จึงทำให้เกิดการศึกษานี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระบบโทรคมนาคม ที่มีต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และเปรียบเทียบผลที่เกิดกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ระหว่างระบบโทรคมนาคมและระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ในการศึกษาจะใช้เทคนิค Cointegration และ Error correction model (ECM) โดยเลือกพื้นที่ในการศึกษา 3 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ และในแต่ละภาคจะเลือกศึกษาภาคละ 3 จังหวัด โดยใช้อัตราการเจริญเติบโตของรายได้ที่แตกต่างกันเป็นเกณฑ์ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลในระดับทุติยภูมิระหว่างปี ค.ศ. 1982 ถึงปี ค.ศ. 1994 จากผลการศึกษาพบว่าไม่สามารถสรุปได้ว่า ระบบโทรคมนาคมมีความจำเป็นต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เนื่องจากว่าระบบโทรคมนาคม มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในบางจังหวัดเท่านั้น ส่วนระบบสาธารณูปโภคจะมีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในเกือบทุกจังหวัด ในการศึกษาพบว่าปัจจัยต่างๆ ที่นำมาศึกษามีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว (Cointegrated) กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในทั้ง 9 จังหวัด แต่จะพบว่ารูปแบบของแบบจำลองจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด และผลการทดสอบการปรับตัวในระยะสั้นด้วยวิธี ECM สรุปได้ว่าในระยะสั้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่างๆ นอกเหนือจากที่มีในแบบจำลองจะไม่ทำให้ดุลยภาพในระยะยาวเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในการศึกษาพบว่าตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กันมาก ทำให้เกิดปัญหา Multicolliinearity อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า รัฐบาลควรขยายระบบสาธารณูปโภคต่อไป ในขณะที่ควรขยายระบบโทรคมนาคมไปพร้อมๆ กัน เพราะก็ยังถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในบางจังหวัด เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ในประเทศไทยเป็นพื้นที่ๆ น่าลงทุนต่อไป
Other Abstract: Foreign direct investment (FDI) is a way of choice for many developing countries. As a consequence, factors drawing in a FDI, including economic infrastructures, are importance. These economics infrastructure can broken into the systems of public utilities and telecommunications. The purposes of this study are to find out the role of the telecommunications system to attract FDI, and to compare their relative importance of the telecommunications systems and public utilities system in inducing an FDI into a given province. The study employs the cointegration and frror correction model (ECM) techniques. Areas of the study include 9 provinces from the Central, the North, and the South and are subdivided according to their relative rates of growth. The period of study is from 1982 to 1994. The result on the importance of the telecommunications system to FDI is inconclusive since only in a few provinces that telecommunications is found to have an effect in attracting FDI. On the other hand, public utility is found to be positively related to FDI in almost all provinces. On a statistical front, it has been observed that several predetermined factors in the respective cointegration equations have displayed a significant long-run equilibrium relationship with FDI. In the short-run, the ECM method points out that changes in those factors not covered in the respective equations would not alter their long-run equilibrium positions. Even with a problem of multicollinearity in serveral predetermined factors, the result of the study is conclusive. In any event, it is still necessary that adequate public utilities are to be provided of FDI is desired, while telecommunications services need to be simultaneously expanded. This will become a basic infrastructure to pave the way for building up the rest of the country to be the place we would hope them to be.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10021
ISBN: 9746371665
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumon_De_front.pdf991.03 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_De_ch1.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Narumon_De_ch2.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Narumon_De_ch3.pdf973.8 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_De_ch4.pdf938.18 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_De_ch5.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Narumon_De_ch6.pdf917.18 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_De_back.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.