Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10161
Title: หลักการซื้อ-ขายทางเทคนิคกับการทดสอบสมมติฐานประสิทธิภาพตลาด ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Technical trading rule with testing of efficient market hypothesis for Stock Exchange of Thailand
Authors: เทพณรงค์ นพกรวิเศษ
Advisors: ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thawatchai.J@Chula.ac.th
Subjects: ตลาดหลักทรัพย์
หุ้นและการเล่นหุ้น
การเสนอซื้อหุ้น
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนับได้ว่า เป็นแหล่งระดมเงินที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งนักลงทุนแต่ละรายย่อมมีวิธีการที่จะเลือกลงทุนหรือทำการซื้อ-ขายในหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งที่แตกต่างกันออกไป และหลักการซื้อ-ขายทางทคนิค (Technical Trading Rule) ก็เป็นวิธีการหนึ่งในจำนวนหลายๆ วิธีที่จะเลือกลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ แต่ทั้งนี้หากว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งนั้นมีประสิทธิภาพ (ในระดับต้น-Weak Form Efficien Market) แล้ว แต่นอนหลักการซื้อ-ขายทางเทคนิคย่อมไม่สามารถที่จะใช้ในการหากำไรเกินปกติได้หรือ ไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่มากไปกว่าผลตอบแทนที่มากไปกว่าผลตอบแทนปกติได้ ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเอาหลักการซื้อ-ขายทางเทคนิค 3 เทคนิคที่นิยมใช้กันอยู่โดยทั่วไปคือ เทคนิคค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบแปรผัน (Variable-length Moving Average technique : VMA), เทคนิคค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบคงที่ (Fixed-length Moving Average Technique : FMA) และเทคนิคแนวรับ-แนวต้าน (Trading Range Break-out Technique : TRB) มาทำการทดสอบกับข้อมูลดัชนีราคา หลักทรัพย์ของตลาด (SET index) ซึ่งใช้เป็นดัชนีราคาปิดรายวันตั้งแต่ ม.ค. 2523-ก.ค. 2540 และยังได้ทำการทดสอบ โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ช่วงด้วยกันซึ่งผลการทดสอบเมื่อได้รวมต้นทุนการซื้อ-ขายเข้าไปด้วยแล้วก็พบว่าการใช้เทคนิคค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบแปรผันมิได้สามารถให้ผลตอบแทนที่มากไปกว่าผลตอบแทนปกติได้เลย ในขณะที่การใช้เทคนิคค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบคงที่ และเทคนิคแนวรับ-แนวต้านนั้นให้ผลการทดสอบที่คล้ายคลึงกันคือ การทดสอบกับข้อมูลทั้งหมดและข้อมูลในช่วงเวลาแรกนั้นเทคนิคทั้งสองนี้สามารถที่จะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าผลตอบแทนปกติได้หลังจากที่ได้รวมต้นทุนการซื้อ-ขายเข้าไปด้วย แต่เมื่อทดสอบกับข้อมูลในช่วงที่ 2 และ 3 แล้วกลับพบว่า เทคนิคทั้งสองนี้ไม่สามารถที่จะให้ผลตอบแทนเกินปกติได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพ (ในระดับต้น) เมื่อทำการทดสอบกับข้อมูลทั้งหมดและข้อมูลในช่วงเวลาแรก แต่การทดสอบกับข้อมูลในช่วงเวลาที่ 2 และ 3 นั้นกลับพบว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีประสิทธิภาพ (ในระดับต้น) ขณะที่การศึกษาในอีกส่วนหนึ่งนั้นมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างไปจากในส่วนแรกคือ ต้องการที่จะทดสอบดูว่าแบบจำลองใดที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้สามารถที่จะอธิบายพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ได้เหมาะสมกว่ากัน โดยการสร้างข้อมูลจำลองขึ้นจากแบบจำลอง 2 แบบคือ Random Walk model และ first-order Autoregressive model หรือ AR(1) แล้วจึงนำข้อมูลจำลองที่สร้างขึ้นนี้ไปทดสอบโดยใช้วิธีการเดียวกันกับในส่วนแรกที่ใช้ทดสอบกับข้อมูลจริง ซึ่งก็พบว่าแบบจำลอง AR(1) นั้นน่าที่จะอธิบายพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ได้ดีกว่าแบบจำลอง Random Walk อย่างไรก็ตามแบบจำลอง AR(1) ก็ไม่ใช่แบบจำลองที่ดีเพียงพอที่จะใช้ในการอธิบายพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ได้
Other Abstract: The Stock Market of Thailand (SET) is Thailand's one of the most important fund raising sources. Each investor has his own different way to invest or trade any securities there. And the Technical Trading Rule is one of several means used by them to invest in the securities. However, the hypothesis is that stock exchange represents a Weak Form Efficient Market thus, the technical trading rule can not be used to seek any excess profits or abnormal return. This thesis is set to test the three popular technical trading rules, namely the Variable-length Moving Average (VMA), the Fixed-length Moving Average (FMA), and the Trading Range Break-out (TRB), with the SET daily index from January 1980 to October 1997. The data is divided into three periods. The results of experiment show that when transaction cost is taken into account, the VMA technique could not offer an excess return beyond what is normally received. In the meantime the FMA and the TRB techniques also yield similar result when tested with the entire data and the first testing periods. However, when the latter two techniques are tested with the data in the second and the third periods, it is found that they could not generate abnormal returns either, It is thus concluded that the Stock Exchange of Thailand is not Weak Form Efficient when testing with the data for the whole period and the first testing period. Yet, when the data in the second and the third testing periods is tested, the SET is found to be Weak Form Efficient. The second part of this thesis tests some popular models of stock price's behavior, namely Random Walk and First-Order Autoregressive of AR(1). The objective is to select the better model that best explain the behavior of the stock index's movement. In this test, the aforementioned models [Random Walk and AR(1)] are used to simulate data and these of actual data are compared. It is found that the AR(1) model explains the behavior of the stock index better than the Random Walk medel. However, the AR(1) model is not sufficient to explain the behavior of the stock index movement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10161
ISBN: 9746390635
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thepnarong_No_front.pdf817.39 kBAdobe PDFView/Open
Thepnarong_No_ch1.pdf987.81 kBAdobe PDFView/Open
Thepnarong_No_ch2.pdf975.04 kBAdobe PDFView/Open
Thepnarong_No_ch3.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Thepnarong_No_ch4.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Thepnarong_No_ch5.pdf732.14 kBAdobe PDFView/Open
Thepnarong_No_back.pdf849.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.