Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนวดี บุญลือ-
dc.contributor.authorวิมลภัทร์ ตุงคนาค, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)-
dc.date.accessioned2006-07-24T07:46:26Z-
dc.date.available2006-07-24T07:46:26Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741747241-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1017-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractศึกษาปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อการรับนวกรรมการปลูกพืชเศรษฐกิจ ทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ในพื้นที่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง และบทบาทสำคัญของเจ้าหน้าที่และการจัดการที่มีต่อการเผยแพร่นวกรรม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview ) กลุ่มเป้าหมาย 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้รับสนองพระราชประสงค์ กลุ่มแบ่งตามประเภทของพืชเศรษฐกิจที่นำไปเผยแพร่นวกรรม อันได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอก พืชไร่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ส่งเสริมทำงานประจำในพื้นที่ กลุ่มผู้ประสานงานมูลนิธิโครงการหลวง กลุ่มตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มชาวไทยภูเขาที่เป็นผู้นำชุมชนในรุ่นบุกเบิกและผู้ที่เป็น Early Adopters รวมจำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อการรับนวกรรมการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกฝิ่นคือ 1.ปัจจัยด้านตัวผู้ส่งสาร ได้แก่ ผู้ทำงานตอนริเริ่มโครงการ ผู้รับผิดชอบ และอาสาสมัครผู้ทำงานให้มูลนิธิโครงการหลวง การสร้างเครือข่าย/พันธมิตร ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร การสร้างความศรัทธา การสร้างความใกล้ชิดคุ้นเคย ความเป็นเพื่อน และการสื่อสารจากผู้นำไปยังลูกบ้าน และที่สำคัญรองลงมาคือ ผู้ที่รับนวกรรมกลุ่มแรก 2. ปัจจัยด้านสาร การใช้สาร 3 ประเภท คือ สารเชิงวิชาการ สารเพื่อการจูงใจให้ยอมรับนวกรรม และสารเพื่อแนะนำนวกรรม 3.ปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ เน้นการสื่อสาร ระหว่างบุคคล และการสื่อสารแบบสองจังหวะ/ขั้นตอน ได้แก่ กลยุทธ์การจัดโครงการฝึกอบรม กลยุทธ์การเข้าทางผู้นำความคิดเห็นหรือการสื่อสารผ่านตัวกลางของการสื่อสาร ( Mediator) กลยุทธ์การฝึกอบรมนักเรียนในโรงเรียนเพื่อให้เป็น ยุวเกษตรกร กลยุทธ์การสื่อสารโดยเข้าทางคนแก่คนเฒ่าเพื่อขจัดความขัดแย้ง และกลยุทธ์การใช้วิทยากรอาสาสมัครเกษตรกร ชาวไทยภูเขา กลยุทธ์ด้านวิธีทำงานของเจ้าหน้าที่ กลยุทธ์การฉายภาพยนตร์และสไลด์ที่เกี่ยวข้องกับนวกรรม 4. ปัจจัยด้านผู้รับสาร เป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการรับนวกรรม ในเรื่องบทบาทสำคัญของเจ้าหน้าที่และการจัดการที่มีต่อการเผยแพร่นวกรรมมี 9 ด้านได้แก่ 1. บทบาทการให้ความรู้ 2. บทบาทผู้โน้มน้าวใจ 3. บทบาทการเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ 4. บทบาทการสนับสนุน/ส่งเสริม 5.บ ทบาทการเป็นผู้ประสานงาน 6. บทบาทการกระตุ้นหรือการเป็นผู้ขับเคลื่อนชุมชน/โครงการ 7. บทบาทนักพัฒนาสังคม 8. บทบาทเซลล์ขายของ (โครงการ) 9. บทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลงen
dc.description.abstractalternativeTo investigate communication factors resulting in the innovation adoption of eco-agricultural substitution of opium growing among the hilltribal people in Northern Thailand area under the patronage of the Royal Project Foundation. This research is qualitative by using an in-depth interview with 9 potential target groups. Those groups are categorized according to the Royal Wish Responding group ; groups classified by plant types : vegetables, flowering plants and field crop commercial vegetation ; the agricultural extension workers ; the Royal Project Foundation co-ordinators ; the patrol policemen ; the opinion leaders ; and early adopters totaled 25 key informants. Findings: Factors resulting in the adoption of the innovation of eco-agricultural substitution of opium growing comprised 1. Innovation diffusers: project initiators, project officers, project's volunteers, early adopters, networking and partnership with some strategic characteristics, i.e. credibility, trust, friend making, two step flow communication 2. Messages are substancially divided into 3 categories: a) technical transferring b) suggesting and recommending c) Inducing innovation 3 .Communication or media channel emphasizes person media and two step flow communication such as: training program , opinion leader as mediator, in school junior farmers training program, conflict avoidance tactics, local volunteers, officers' working methods, and audio-visual 4.Hilltribal adopters as motivating and reinforcing factors. Project officers assumed 9 key roles to diffuse the eco-agricultural substitution of opium growing namely 1) educator 2) persuader 3) consultant 4) facilitator 5) co- ordinator 6) driver/motivator 7) social development worker 8) project salesman 9) change agent.en
dc.format.extent3765338 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1271-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectการโน้มน้าวใจen
dc.titleปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อการรับนวกรรมการปลูกพืชเศรษฐกิจ ทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย : พื้นที่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิโครงการหลวงen
dc.title.alternativeCommunication factors resulting in the innovation adoption of eco-agricultural substitution of opium growing among hilltribal people in Northern Thailand : area under the patronage of the Royal Project Foundationen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1271-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vimolpatra.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.