Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10221
Title: ผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการคิดของนักเรียนกับแบบการสอนมโนทัศน์ ของบรูเนอร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of an interaction between cognitive styles and Bruner's concept attainment on mathematics achievement of pratom suksa five students
Authors: กัญติมา พรหมอักษร
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
นิรมล ชยุตสาหกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suwatana.S@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แบบการคิด
ความคิดรวบยอด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการคิดของนักเรียนกับแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจำนวน 20 คนและกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบอิสระ (FI) และนักเรียนที่มีแบบการคิดแบบพึ่งพิง (FD) อย่างละ 10 คน กลุ่มทดลองดำเนินการสอนด้วยแผนการสอน ตามแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ และกลุ่มควบคุมดำเนินการสอนด้วยแผนการสอนตามปกติ เนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่อง รูปทรงเรขาคณิต ระยะเวลาการทดลอง 2 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ GEFT แผนการสอนตามแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (2 WAY ANOVA) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการคิดกับแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ และแบบการสอนปกติในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบอิสระ (FI) เมื่อได้รับการสอนตามแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่มีแบบการคิดแบบ (FD) ที่ได้รับการสอนตามแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบอิสระ (FI) เมื่อได้รับการสอนตามปกติ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่มีแบบการคิดแบบ (FD) ที่ได้รับการสอนตามปกติ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบอิสระ (FI) เมื่อได้รับการสอนตามแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่า นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบอิสระ (FI) ได้รับการสอนตามปกติ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบพึ่งพิง (FD) เมื่อได้รับการสอนตามแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกับ นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบพึ่งพิง (FD) ที่ได้รับการสอนตามปกติที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบอิสระ (FI) เมื่อได้รับการสอนตามแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. นักเรียนที่มีแบบการคิดแบบพึ่งพิง (FD) เมื่อได้รับการสอนตามแบบการสอนมโนทัศน์ของบรูเนอร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study the interaction effects between cognitive styles and Bruner's concept attainment on mathematics of Pratom Suksa five students. The subjects were 40 Pratom Suksa five students who were divided into 2 groups: an experimental group and control group. Each group composed of 10 field independent (FI) students and 10 field dependent (FD) students. The experimental group was taught by Bruner's Concept Attainment plan while the control group was taught by traditional plan. The mathematics content was about geometry and the capacity of rectangles. The experiment ran for two weeks. The instruments were The Group Embedded Figure Test (GEFT), the Mathematics plan of Bruner's Concept Attainment and the Mathematics Achievement Test. The data were analyzed by 2 way ANOVA and t-test. The results were as follows: 1. There was an interaction between cognitive styles and Bruner's Concept Attainment on Mathematics Achievement in Pratom Suksa Five students at the significant level of .05. 2. The field independent (FI) students who were taught by Bruner's Concept Attainment had higher scores in Mathematics Achievement than the field dependent (FD) students who were taught by Bruner's Concept Attainment at the significant level of .05. 3. The field independent (FI) students who were taught by traditional teaching had higher scores in Mathematics Achievement than the field dependent (FD) students who was taught by traditional teaching at the significant level of .05. 4. The field independent (FI) students who were taught by Bruner's Concept Attainment had higher scores in Mathematics Achievement than the field independent (FI) students who were taught by traditional teaching at the significant level of .05. 5. The field dependent (FD) students who were taught by Bruner's Concept Attainment had no difference scores in Mathematics Achievement between the field dependent (FD) students who were taught by Bruner's Concept Attainment at the significant level of .05. 6. The field independent (FI) students who were taught by Bruner's Concept Attainment had higher scores in Mathematics Achievement on the posttest than on the pretest at the significant level of .05. 7. The field dependent (FD) students who were taught by Bruner's Concept Attainment had higher scores in Mathematics Achievement on the posttest than on the pretest at the significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10221
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.763
ISBN: 9741720165
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.763
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kantima.pdf11.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.