Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10265
Title: การแสดงบทบาทคาดหวังของผู้บริหารสตรีในองค์การ : ศึกษากรณีบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Expected role and role enactment of executive women in the organization : a case study of TOT Corporation Public Company Limited
Authors: ชนาภา สุริโย
Advisors: สุภาวดี มิตรสมหวัง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Suparvadee.M@Chula.ac.th
Subjects: ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
บทบาทตามเพศ
สตรี
บทบาทสตรี
นักบริหารสตรี
บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้บทบาทและการแสดงบทบาท ตามความคาดหวังของสังคมและองค์การของผู้บริหารสตรี รวมตลอดจนการศึกษาความขัดแย้งภายในบทบาทที่เกิดขึ้น และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการแสดงบทบาทคาดหวังของผู้บริหารสตรี ในบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยนำกระบวนทัศน์ของการแสวงหาความรู้แบบธรรมชาติ (Naturalistic Inquiry) มาใช้ ในการเก็บข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินโดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยภาคสนาม ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้บริหารสตรีในบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสตรีใน บมจ. ทศท มีการรับรู้บทบาทคาดหวังของสังคมและขององค์การในระดับมาก สามารถแสดงบทบาทตามความคาดหวังของสังคมได้ในระดับมาก ในขณะที่แสดงบทบาทขององค์การได้ในระดับปานกลาง สำหรับความขัดแย้งภายในบทบาท พบว่า ผู้บริหารสตรีมีความขัดแย้งมากที่สุดในบทบาทมารดา รองลงมา คือ บทบาทผู้บริหาร บทบาทบุตร และบทบาทภรรยา ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการแสดงบทบาทของ ผู้บริหารสตรี ได้แก่ มาตรฐานความคาดหวังที่สูงในการแสดงบทบาท ความต้องการเวลาส่วนตัวและเวลาพักผ่อน ปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย และการประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ สำหรับการแก้ไขความขัดแย้งทางบทบาท พบว่า ผู้บริหารสตรีพยายามจัดตัวเองให้ลงตัวกับทุกบทบาทที่ดำเนินอยู่ โดยคาดหวังว่าจะมีบุคคลอื่นเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระในการแสดงบทบาทคาดหวังของสังคม บางบทบาท สำหรับบทบาทคาดหวังขององค์การ การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางบทบาทมักจะลงท้ายด้วยการขอลาออกจากตำแหน่งก่อนเวลา
Other Abstract: This study intends to investigate how the TOT Corporation Public Company Limitedʼs executive women perceive and enact their social and organizational roles and to identify factors that effect their role and role conflict. The naturalistic inquiry is used in accordance with documentary and field research. The non-participative observation is used to collect data by using in-depth interviews with the 10 executive women. The research reveals that the executive women recognize their social and organizational expected roles at a high level and are able to enact their social roles at a high level as well, but they enact their organizational roles at a medium level. Regarding to role conflicts, it is found that these executive women tend to have highest conflicts in their motherʼs roles, followed by conflict in their administrative roles, daughterʼs roles and wifeʼs roles consecutively. Factors which affect the executive womenʼs role enactment are their high expectation in performing the roles; economic difficulties and their needs for more private time. In order to solve conflicts in their social expected role enactment, these executive women try to find some assistants to help them perform the roles. As for the organizational expected roles, the executive women solve their role conflicts by participating in the organizationʼs early retire program.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10265
ISBN: 9741734018
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanapa.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.