Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10562
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาพรรณ โคตรจรัส-
dc.contributor.authorวราภรณ์ รัตนาวิศิษฐิกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-08-26T10:36:29Z-
dc.date.available2009-08-26T10:36:29Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741725795-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10562-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การวิจัยส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหวัง และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความหวัง และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษาที่มีภูมิหลังแตกต่างกันในด้าน เพศ ชั้นปี สาขาวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหวัง และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 509 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความหวัง และแบบวัดการเผชิญปัญหาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง วิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของ Dunnett'sT3 และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างความหวังและกลวิธีการเผชิญปัญหา ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาโดยทั่วไปมีความหวังในระดับปานกลางค่อนข้างสูง และนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูงและปานกลาง มีระดับความหวังสูงกว่านักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 2. นักศึกษาใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพโดยเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา และแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง และใช้วิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพคือแบบหลีกหนีในระดับปานกลาง 3. นักศึกษาหญิงใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม และแบบหลีกหนีมากกว่านักศึกษาชาย แต่ใช้แบบมุ่งจัดการกับปัญหาไม่แตกต่างกัน 4. นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูง และปานกลางใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหามากกว่านักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูงใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมมากกว่านักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 5. ความหวังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา และแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี การวิจัยส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความหวังของนักศึกษา ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูงและต่ำ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับกลุ่มตัวอย่างจากการวิจัย ส่วนที่ 1 จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า : นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูงมีความหวังสูง โดยมีเป้าหมายที่ตั้งไว้สูง หลากหลาย และค่อนข้างยาก มีความตั้งใจสูง และมีแนวทางไปสู่เป้าหมายได้หลากหลาย รวมถึงสามารถวางแผน และจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่มีความตั้งใจ และพลังแห่งแนวทางค่อนข้างต่ำ และใช้วิธีการเผชิญปัญหาทั้งที่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิภาพen
dc.description.abstractalternativeThis research was divided into 2 parts, descriptive and qualitative research. Study 1 investigated 1). hope and coping strategies of college students, 2). the effects of student's gender, year of study, field of study and academic achievement on their hope and coping strategies and 3).the relationships between hope and coping strategies. Participants were 509 undergraduate students. Hope was determined using a Domain Specific Hope Scale and student coping strategies were assessed using a Coping Scale. Data was analyzed using a three-way ANOVA design followed by post-hoc multiple comparisons with Dunnett'sT3 test and a pearson's product-moment correlation coefficients. The major findings were as follows : 1. The students had moderately high hope and the students with high and moderate academic achievement had higher hope than those with low academic achievement. 2. The students used more effective means of coping : problem-focused and social support seeking strategies and used ineffective means of coping, avoidance strategies, moderately. 3. Female students used more social support seeking and avoidance strategies than male students. 4. Students with high and moderate academic achievement used more problem-focused strategies than those with low academic achievement and students with high academic achievement used more social support seeking strategies than those with low academic achievement. 5. Hope had positive relationships with problem-focused and social support seeking strategies, but no relationships between hope and avoidance strategies were found. Study 2, qualitative research with in-depth interview for investigating hope of college students with high and low academic achievement. Twenty of the 509 undergraduate students in study 1 were selected as sample. The results were as follows: Students with high academic achievement had high hope, difficult goals, high agency, and had various pathways to their goals, and used effective means of coping. Students with low academic achievement had goals, but low agency and had less pathways to their goals, and used both effective and ineffective means of coping.en
dc.format.extent1647055 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการแก้ปัญหาen
dc.subjectความหวังen
dc.subjectนักศึกษา -- ไทยen
dc.titleความหวังและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษาen
dc.title.alternativeHope and coping strategies of college studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSupapan.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varaporn.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.